Sanyo SCP-550 Focus
& Review
Overview
ครั้งนี้นับเป็นครั้งแรกที่ผมได้มีโอกาสรีวิวโทรศัพท์เคลื่อนที่ระบบ
CDMA2000 ในประเทศไทย ซึ่งเป็นระบบโทรศัพท์เคลื่อนที่ใหม่ล่าสุดจากการสื่อสารแห่งประเทศไทยและฮัทชิสัน
(Hutchison Wireless Multimedia Holding)
ที่ได้เปิดตัวอย่างเป็นทางการในนาม Hutch
และณ.ที่นี้จะไม่ขอกล่าวถึงรายละเอียดหรือความหมายของระบบ
CDMA2000 แต่จะพิจารณาที่เครื่องลูกข่ายรุ่น
Sanyo SCP-550 ที่นำมาทดสอบในครั้งนี้เป็นหลัก
กล่าวถึงจุดเด่นของ SCP-550 เป็นโทรศัพท์ที่มีความสามารถมากมายรอบด้าน
อันได้แก่ กล้องดิจิตอล , ดาวน์โหลดจาวาแอพพลิเคชั่นมาใช้งานได้
และยังมีเสียงเรียกเข้าเพราะ ๆ แบบ polyphonic
ซึ่งทั้งหมดนี้สอดคล้องกับบริการเสริมต่าง
ๆ ของ Hutch ได้อย่างดีเยี่ยม ไม่ว่าจะเป็นการ
upload ภาพถ่ายขึ้นไปเก็บไว้ยังเครือข่าย
หรือแม้กระทั่งภาพ , เสียงเรียกเข้า และ เกมส์สนุก
ๆ มากมายที่มีให้ผู้ใช้เลือกดาวน์โหลดมาติดตั้งในเครื่อง
ทั้งยังแสดงผลภาพได้อย่างสวยงามด้วยหน้าจอภายในความละเอียดสูง
65,536 สี และหน้าจอภายนอก 4,096 สี จึงเป็นโทรศัพท์อีกรุ่นที่มีความน่าสนใจมากในช่วงปลายไตรมาสนี้ครับ
Physical Aspect
External 4,096 colours display
รูปทรงภายนอกของ SCP-550 อาจดูคล้ายกับโทรศัพท์ทรงฝาพับทั่ว
ๆ ไป แต่ลักษณะเด่นประการสำคัญที่แตกต่างก็คือ
หน้าจอภายนอกที่สามารถแสดงผลสีได้ 4,096 สี
ทั้งยังสามารถกำหนดภาพพื้นหลัง (wallpaper)
ที่หน้าจอภายนอกได้ และในยามที่มีสายเรียกเข้า
หากเราได้กำหนดภาพให้กับหมายเลขนั้นไว้ล่วงหน้า
(picture CLI) หน้าจอดังกล่าวก็จะแสดงภาพสลับกับชื่อที่ได้บันทึกเอาไว้
ทำให้รู้ว่าใครโทรเข้ามาโดยไม่ต้องอ่านรายชื่อดังกล่าว
ซึ่งนับเป็นประโยชน์ใช้สอยที่น่าสนใจอีกประการหนึ่งของหน้าจอภายนอกแบบ
4,096 สีนี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อใช้งานร่วมกับกล้องดิจิตอลภายในเครื่อง
ประโยชน์ใช้สอยของหน้าจอภายนอกจะมีมากขึ้นหลายประการ
เช่นเราสามารถถ่ายภาพตัวเองโดยใช้หน้าจอภายนอกนี้แทน
viewfinder ด้วยการเปิดโหมดกล้องและปิดฝาพับลง
หลังจากนั้นก็หันหน้าโทรศัพท์เข้าหาตัวเอง
และดูรูปตัวเองได้โดยตรงที่หน้าจอภายนอกนี้
เมื่อพอใจอิริยาบถไหนก็กดปุ่มชัตเตอร์ด้านข้างตัวเครื่องเพื่อถ่ายภาพได้ทันทีครับ
หรือจะนำภาพที่ถ่ายจากกล้องมาทำเป็น picture
CLI ก็เก๋ไปอีกแบบครับ
Internal 65,536 colour display
หน้าจอภายในของ SCP-550 เป็นหน้าจอสีแบบ STN
16 บิต (65,536 สี) ที่สามารถแสดงผลภาพได้อย่างสวยงามและสมจริงไม่แพ้หน้าจอคอมพิวเตอร์
ทั้งยังสามารถกำหนดภาพพื้นหลัง (wallpaper)
และภาพพักหน้าจอ (screensavers) สวย ๆ ที่ได้จากการดาวน์โหลด
มาแต่งเติมเพิ่มสีสันให้กับหน้าจอได้อีกด้วย
และด้วยคุณภาพของหน้าจอระดับ 16 บิตนี้ ทำให้รองรับการใช้งานอุปกรณ์และแอพพลิเคชั่นเสริมต่าง
ๆ ที่อยู่ภายในเครื่องและที่ดาวน์โหลดจากเครือข่ายได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ
เช่น สามารถเปิดดูภาพที่ได้ถ่ายในระดับสีใกล้เคียงกับเครื่องคอมพิวเตอร์
รวมถึงสามารถเล่นเกมส์ที่ดาวน์โหลดมาได้อย่างสวยงามและสมบูรณ์แบบ
แต่หน้าจอแบบ STN ก็ยังมีข้อเสียเล็กน้อยที่มองเห็นค่อนข้างยากในบริเวณที่มีแสงแดดจัด
เช่น การใช้งานกลางแจ้งเป็นต้นครับ
4 way navigation key ปุ่มสี่ทิศของ
SCP-550 เป็นปุ่มที่ถูกใช้งานเป็นหลักควบคู่ไปกับปุ่มยืนยันทรงกลมตรงกลาง
เนื่องจากปุ่มสี่ทิศนี้สามารถทำงานได้หลากหลายหน้าที่
(multi function) เช่นในโหมด idle สามารถใช้แทนเมนูลัดเข้าสมุดโทรศัพท์
ดูบันทึกการใช้สาย ปรับความดังเสียงที่หูฟัง
และเมื่ออยู่ในเมนูย่อยก็สามารถที่จะใช้ลูกศรซ้ายแทนการยกเลิก
และลูกศรขวาแทนการยืนยันเข้าเมนู ซึ่งค่อนข้างสะดวกและรวดเร็วดีมาก
นอกจากนี้ SCP-550 ยังมีปุ่มสำหรับเรียกใช้งานเมนูต่าง
ๆ ที่เกี่ยวข้องกับ browser โดยเฉพาะ โดยใช้ชื่อปุ่มว่า
Hutch key เมื่อกดปุ่มนี้จะเข้าสู่การใช้งาน
Hutch Content Portal ที่ประกอบไปด้วยสิ่งน่าสนใจมากมายหลายประการ
ตั้งแต่ข้อมูลข่าวสารตลอดจนถึงบริการเสริมต่าง
ๆ มากมาย ซึ่งจะขอกล่าวในหัวข้อต่อไปครับ
Menu Navigation ถึงแม้ครั้งนี้จะเป็นครั้งแรกที่ผมได้มีโอกาสทดลองใช้งานโทรศัพท์เคลื่อนที่ระบบ
CDMA ของซันโยก็ตาม แต่ด้วยการจัดวางเมนูในรูปแบบไอคอน
และการจัดหมวดหมู่ความสัมพันธ์ของเมนูแต่ละส่วนได้เป็นอย่างดี
ทำให้สามารถเรียนรู้การใช้งานได้โดยง่าย อีกทั้งยังมีเมนูภาษาไทย
และคำแนะนำภาษาไทยที่บอกขั้นตอนการใช้งานในเมนูบางส่วนอย่างคร่าว
ๆ การเคลื่อนที่ไปยังส่วนต่าง ๆ ในเมนูระดับลึกลงไป
สามารถทำได้หลายวิธีการ ทั้งการใช้ปุ่มสี่ทิศ
และการใช้ปุ่มตัวเลขระบุตำแหน่งของเมนูที่ต้องการ
ซึ่งถ้าได้ใช้จนคุ้นเคยแล้วจะรู้สึกถึงความคล่องตัวของ
SCP-550 ได้เป็นอย่างดีครับ
All Features
ซันโย SCP-550 มาพร้อมกับหน่วยความจำส่วนกลางขนาด
2 เมกะไบต์ ซึ่งเป็นพื้นที่หน่วยความจำที่ใช้ร่วมกันระหว่าง
ภาพถ่าย , เสียงเรียกเข้า , ภาพพื้นหลังที่ได้จากการดาวน์โหลด
, ภาพเคลื่อนไหวพักหน้าจอ และ จาวาแอพพลิเคชั่น
ซึ่งจำนวนไฟล์สูงสุดที่ตัวเครื่องสามารถจัดเก็บได้คือไม่เกิน
250 ไฟล์ จากการทดลองใช้งาน พบว่าถึงแม้ว่าจะไม่สามารถถอดเปลี่ยนหน่วยความจำได้ก็ตาม
แต่ก็ไม่ได้ทำให้รู้สึกอึดอัดต่อการใช้งานแต่อย่างใด
เพราะไฟล์ภาพถ่ายแต่ละภาพมีขนาดค่อนข้างเล็กประมาณ
10 กิโลไบต์เท่านั้น แต่ส่วนที่อาจกินพื้นที่มากหน่อยก็เห็นจะเป็นแอพพลิเคชั่นที่ได้ดาวน์โหลดมาติดตั้ง
ซึ่งถ้าหากว่าวันใดที่หน่วยความจำของตัวเครื่องเราใกล้จะเต็ม
ก็ยังสามารถใช้บริการ Upload ภาพถ่ายไปเก็บไว้ที่เครือข่ายของ
Hutch และลบภาพถ่ายที่บันทึกในเครื่องทิ้งไป
ก็จะประหยัดหน่วยความจำไปได้อีกส่วนหนึ่งครับ
Downloadable animated screensavers
แม้ว่าผมจะได้มีโอกาสเห็นภาพ screensavers
(ภาพเคลื่อนไหวพักหน้าจอ) ในโทรศัพท์มือถือมากมาย
แต่เมื่อได้เห็นภาพพักหน้าจอของ SCP-550 ยังต้องรู้สึกทึ่งกับความสวยงามและสีสันอันสดใสของภาพ
ซึ่งต้องชมเชยผู้ให้บริการ content ของ Hutch
ที่มีภาพเคลื่อนไหวสวย ๆ มากมายให้เลือกดาวน์โหลดได้ฟรีผ่าน
browser ในเครื่อง การเปลี่ยนภาพ screensavers
หรือการดาวน์โหลดภาพใหม่ ๆ จึงสามารถทำได้ง่ายและไม่ต้องพึ่งพาสายดาต้าหรืออุปกรณ์เสริมอื่นเพิ่มเติมครับ
Downloadable wallpapers กล่าวถึงภาพพื้นหลังของ
SCP-550 เป็นสิ่งที่แสดงให้เห็นได้เป็นอย่างดีถึงความใส่ใจในด้านการแสดงสีสัน
และการปรับแต่งหน้าจอให้สวยงามหรือมีประโยชน์ใช้สอยที่แตกต่างกันไปโดยลักษณะของผู้ใช้แต่ละคน
โดยหน้าจอในโหมดเตรียมพร้อม (idle) สามารถเลือกได้ทั้งหมด
5 รูปแบบ ได้แก่ นาฬิกาเปรียบเทียบเวลา 2
สถานที่ , นาฬิกาแบบดิจิตอลขนาดใหญ่ , ปฏิทิน
หรือจะเขียนข้อความเพื่อกันลืมทิ้งไว้ที่หน้าจอก็ได้
และนอกจากนี้ยังมีทีเด็ดก็คือ สามารถนำภาพถ่ายจากกล้องหรือภาพการ์ตูนที่ได้จากการดาวน์โหลดด้วย
browser มาทำการปรับแต่งแก้ไขเล็กน้อย เช่น
ใส่กรอบรูปลายต่าง ๆ รวมทั้งใส่ภาพไอคอนน่ารัก
ๆ กับข้อความที่ต้องการ เพื่อให้ได้ภาพที่ตรงกับบุคลิกและความต้องการของแต่ละคนครับ
Downloadable Java application
ความสามารถในการดาวน์โหลดแอพพลิเคชั่นใหม่
ๆ มาติดตั้งในโทรศัพท์มือถือ เห็นจะเป็นสิ่งที่อนาคตโทรศัพท์ทุกเครื่องต้องมีอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
และสำหรับผู้ให้บริการรายใหม่อย่าง Hutch
ก็ได้เลือกเครื่องลูกข่ายอย่าง SCP-550 เป็นรุ่นเปิดตัว
เนื่องจากรองรับการดาวน์โหลดจาวาแอพพลิเคชั่น
และได้เตรียมเกมส์มากมายให้ดาวน์โหลดกันฟรี
ๆ (ตามโปรโมชั่น) ผ่าน browser โดยไม่ต้องพึ่งพาอุปกรณ์เสริมใด
ๆ การดาวน์โหลดก็ไม่มีติดขัดหรือไม่สำเร็จเหมือนผู้ให้บริการบางราย
อีกทั้งยังรวดเร็วทันใจด้วยประสิทธิภาพของโครงข่ายระบบ
CDMA ด้วยครับ
Thai matrix input ระบบการพิมพ์ข้อความภาษาไทยเป็นสิ่งที่
Hutch ภาคภูมิใจและประกาศว่าเป็นระบบการพิมพ์ข้อความที่ง่ายที่สุดในปัจจุบัน
ด้วยโปรแกรมการพิมพ์ในรูปแบบที่เรียกว่าแมทริกซ์
(Matrix) ที่จะจำลองปุ่มกดทั้ง 11 ปุ่มบนหน้าจอโดยจะแบ่งสระ/พยัญชนะกระจายไปตามปุ่มต่าง
ๆ และแสดงออกมาเป็นตารางแบบ matrix 3x3 เพื่อแสดงว่าแต่ละปุ่มประกอบด้วยสระ/พยัญชนะใดบ้าง
ซึ่งจากการทดสอบใช้งานดูนั้น ก็พบว่าคนที่อ่อนแอด้านการท่องจำ
ก-ฮ อย่างผมกลับสามารถพิมพ์ข้อความภาษาไทยได้อย่างคล่องแคล่ว
ผิดกับทุกระบบการพิมพ์ของโทรศัพท์มือถือยี่ห้ออื่นที่ต้องใช้เวลาในการพิมพ์มากกว่า
และถ้าหากคุณจำอักษรบนปุ่มกดได้แล้ว ก็สามารถสลับโหมดการพิมพ์เป็นระบบช่วยสะกดคำภาษาไทย
(T9) หรือจะใช้วิธีสุดท้าย (วิธีที่ 3) คือระบบการพิมพ์แบบ
Multitap ที่จะเป็นระบบการพิมพ์ข้อความแบบดั้งเดิมโดยไม่มีโปรแกรมช่วยเหลือก็ได้ครับ
16 Polyphonic ringing tones เมื่อหันมามองที่ด้านหลังตัวเครื่องเราก็จะพบกับลำโพงขนาดใหญ่
ลำโพงนี้มีหน้าที่สำคัญสำหรับเสียงเรียกเข้าแบบ
polyphonic และใช้เล่นเพลงประกอบขณะเล่นเกมส์
และด้วยคุณภาพของลำโพงที่ดีประกอบกับเสียงเรียกเข้าแบบ
16 ชิ้นเครื่องดนตรี ทำให้เสียงเพลงเรียกเข้าของ
SCP-550 มีความไพเราะดีมาก ภายในเครื่องนั้นจะมีเสียงเรียกเข้าให้เลือกใช้ทั้งหมด
24 เพลง แต่ทั้งนี้เราสามารถดาวน์โหลดเพลงใหม่
ๆ มาบรรจุในเครื่องได้ด้วย browser ซึ่งทาง
Hutch ก็ได้เตรียมทำนองเพลงให้เลือกมากมายทั้งเพลงไทยและเพลงฝรั่งให้ดาวน์โหลดฟรี
(ตามโปรโมชั่น) มีการจัดอันดับเพลงโดย Noproblem
chart , RVS chart และ Hot Wave chart ก่อนดาวน์โหลดสามารถจะฟังเพลงตัวอย่างได้อีกด้วย
จึงสามารถเปลี่ยนเสียงเรียกเข้าใหม่ ๆ กันได้ทุกวันไม่มีเบื่อครับ
Automatic answer mode สิ่งที่ผมค่อนข้างชอบเป็นพิเศษของ
SCP-550 ก็คือระบบตอบรับอัตโนมัติที่ผู้โทรเข้ามาสามารถฝากข้อความเสียงทิ้งไว้ได้
ระบบนี้เริ่มต้นการใช้งานเราจะต้องเลือกว่าจะให้ข้อความตอบรับเป็นภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษ
ซึ่งมีให้เลือกในเครื่องอยู่แล้ว หลังจากนั้นก็ตั้งระยะเวลาภายใน
1-16 วินาทีให้ระบบตอบรับทำงาน และเมื่อมีสายเรียกเข้ามาหากเราไม่กดรับสายตามระยะเวลาที่ระบุไว้
โทรศัพท์จะทำการรับสายแทนและเริ่มทำการบันทึกเสียงของฝ่ายตรงข้ามเก็บเอาไว้
หรือหากต้องการจะให้เครื่องรับสายแทนในทันทีก็สามารถกดปุ่มด้านข้างเพื่อเริ่มการทำงานได้โดยตรง
สำหรับจำนวนข้อความที่เก็บได้คือสูงสุด 9
รายการ (รายการละไม่เกิน 19 วินาที) นอกจากนี้เรายังใช้หน่วยความจำในส่วนนี้สำหรับการบันทึกเสียงระหว่างสนทนา
หรือเสียงทั่ว ๆ ไป (voice memo) แทนการจดบันทึกด้วยมือได้อีกด้วยครับ
2x Digital camera ซันโย
SCP-550 มาพร้อมกับกล้องถ่ายรูปดิจิตอลในตัว
ที่สามารถถ่ายภาพได้ 2 ขนาดคือ Mobile size
(176 x 144 พิกเซล) และ PC size (352 x 288
พิกเซล) นอกจากนี้ยังสามารถปรับแต่งค่าต่าง
ๆ ได้มากมาย เช่น ปรับระดับความสว่างของแสง
, ซูม 2 เท่า , ตั้งเวลาถ่ายอัตโนมัติ , ปรับโหมดภาพถ่ายเป็น
sepia , ขาว-ดำ , negative หรือ posterization
และสามารถใส่กรอบรูปสวย ๆ ที่มีให้เลือกกว่า
10 แบบ โดยภาพที่ถ่ายได้นี้จะบันทึกเป็นไฟล์
jpeg ที่คุณภาพสีระดับ 24bit และสามารถส่งต่อไปยังมือถือเครื่องอื่นผ่านระบบ
MMS หรือส่งไปยังเครื่องคอมพิวเตอร์ผ่านอี-เมล์ด้วยโปรแกรม
photo mail ซึ่งจะขอกล่าวในหัวข้อต่อไปครับ
Photo mail หลังจากที่เราได้ถ่ายภาพด้วยกล้องดิจิตอลในเครื่องแล้ว
ภาพดังกล่าวจะถูกบันทึกอยู่ในหน่วยความจำของเครื่อง
ซึ่งเราสามารถใช้โปรแกรม Photo mail ในเครื่อง
เรียกภาพถ่ายขึ้นมาจัดการคล้ายกับ utility
จัดการภาพตัวหนึ่ง โดยโปรแกรมนี้สามารถทำการ
upload รูปภาพในเครื่องไปเก็บไว้ที่เครือข่าย
, สามารถส่งภาพไปกับอี-เมล์โดยจำลองอี-เมล์แอดเดรสของผู้ส่งแบบไม่ต้องตั้งค่า
outgoing mail server เหมือนระบบ POP3 , สามารถส่งภาพถ่ายไปยังมือถือเครื่องอื่นที่รองรับ
MMS และยังสามารถนำภาพถ่ายมากำหนดเป็น wallpaper
ได้อีกด้วยครับ
Internet + WAP browser สำหรับเบราเซอร์ที่ติดตั้งในซันโย
SCP-550 เป็นเบราเซอร์ที่ชื่อ Mobile browser
เวอร์ชั่น 6.1.0.6.2.109 ที่สามารถเปิดอ่านเอกสาร
WML และแสดงผลข้อความภาษาไทยได้อย่างสมบูรณ์แบบ
นอกจากนี้ยังสามารถเปิดเว็บไซต์ (HTML) ที่มีอยู่ในอินเทอร์เน็ตมากมายได้
โดยมีระบบย่อรูปภาพขนาดใหญ่ให้พอดีกับหน้าจอขนาดเล็กของโทรศัพท์อัตโนมัติ
ทั้งนี้เราสามารถใช้เบราเซอร์ของ SCP-550
ทำการดาวน์โหลดไฟล์ต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นเสียงเรียกเข้า
, ภาพเคลื่อนไหว , ลงทะเบียนเล่นเกมส์ และบริการอื่น
ๆ ที่มีให้เลือกใช้มากมายจาก Hutch เช่น พจนานุกรมออนไลน์
, ข่าว , ดูตารางเวลาและ preview ภาพยนตร์
, ดูผลการแข่งฟุตบอล , ตรวจอี-เมล์ และอื่น
ๆ อีกมากมายครับ
153 kbps connection ตามสเป๊กของตัวเครื่อง
SCP-550 นั้น รองรับการรับ-ส่งข้อมูลที่ความเร็วสูงสุด
153 กิโลบิต/วินาที ด้วยโครงข่าย CDMA2000
1x ของ Hutch แต่น่าเสียดายที่ตัวเครื่องไม่มีอินฟราเรดพอร์ต
และผมเองก็ไม่สามารถหาสายดาต้าเพื่อนำมาทดลองต่อกับคอมพิวเตอร์
และรับ-ส่งข้อมูล จึงไม่อาจตรวจวัดความเร็วที่แท้จริงได้
แต่จากความรู้สึกที่ทดลองใช้งานเบราเซอร์เปิดชม
WAP site และจากการทดลองดาวน์โหลดไฟล์ขนาดประมาณ
30 กิโลไบต์ ก็ไม่ค่อยเห็นความแตกต่างที่ชัดเจนจากระบบ
GSM ธรรมดา แต่ก็ยังรู้สึกได้ว่ารับ-ส่งข้อมูลได้เร็วกว่าเล็กน้อยครับ
(การทดสอบนี้เป็นความรู้สึกและความเห็นส่วนตัวที่ไม่ได้ผ่านการทดสอบด้วยอุปกรณ์ตรวจวัด)
Phonebook การบันทึกรายชื่อและหมายเลขโทรศัพท์ลงในหน่วยความจำของเครื่อง
สามารถทำได้สองส่วนคือการบันทึกใน R-UIM การ์ด
และบันทึกลงในหน่วยความจำของเครื่อง สำหรับ
R-UIM การ์ดนั้น ฟังดูแล้วอาจไม่คุ้นหูเท่าไรนักเนื่องจากเป็นการ์ดสำหรับระบบ
CDMA แต่จากที่ได้ทดลองใช้งานดูก็มีประสิทธิภาพใกล้เคียงกับซิมการ์ดในระบบ
GSM ทั่วไป โดยสามารถบันทึกหมายเลขโทรศัพท์ลงใน
R-UIM การ์ดได้ 250 หมายเลข และบันทึกลงในตัวเครื่องได้
300 รายชื่อ (รายชื่อละ 2 หมายเลข) แต่ละรายชื่อที่บันทึกในหน่วยความจำของเครื่องสามารถใส่อี-เมล์
และกำหนดลักษณะพิเศษต่าง ๆ ได้แก่ การเปิดโหมดข้อความตอบรับอัตโนมัติเมื่อหมายเลขดังกล่าวโทรเข้ามาสำหรับหมายเลขที่เราไม่ต้องการรับสาย
, กำหนดรูปภาพหรือเสียงเรียกเข้าพิเศษเฉพาะสาย
เช่น ให้แสดงรูปถ่ายของบุคคลที่โทรเข้า (picture
CLI) และสุดท้ายคือการเลือกระบบสั่นสะเทือนที่แตกต่างกันไป
5 รูปแบบ นอกจากนี้ยังสามารถแยกแยะรายชื่อออกเป็นกลุ่มต่าง
ๆ ได้ทั้งหมด 10 กลุ่ม และกำหนดลักษณะพิเศษเหมือนเช่นกำหนดแบบแยกรายบุคคลดังกล่าว
(ระบบตอบรับอัตโนมัติ,เสียงเรียกเข้า และระบบสั่นสะเทือน)
ให้แตกต่างกันไปในแต่ละกลุ่มได้
Advance search contacts ด้วยข้อมูลติดต่อที่บันทึกได้มากกว่า
500 รายชื่อ SCP-550 จึงได้พัฒนาระบบค้นหารายชื่อ
และการใช้งานสมุดโทรศัพท์ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
โดยมีโหมดค้นหาให้เลือกทั้งหมด 6 รูปแบบ ได้แก่
1.ค้นหาจากอักษรนำ จะเป็นการแยกรายชื่อทั้งหมดด้วยอักษรนำ
A-Z และรายชื่อที่เป็นภาษาไทย 2.ค้นหาด้วยคีย์เวิร์ด
วิธีนี้จะค้นหาโดยคำที่สัมพันธ์กัน 3.ค้นหาด้วยหมายเลขโทรศัพท์
เป็นการค้นหาจากหมายเลขโทรศัพท์ที่บันทึกไว้
ไม่ว่าจะเป็นตัวเลขที่อยู่ตอนต้นหรือช่วงใดช่วงหนึ่งของเบอร์นั้น
เช่น พิมพ์ว่า 03 หมายเลขใดที่มีตัวเลข 0
กับ 3 อยู่ติดกันก็จะถูกค้นหาเจอเป็นต้น 4.
Memory number search เป็นการเรียงลำดับรายชื่อตามตำแหน่งที่บันทึกในหน่วยความจำ
5.Group search จะเป็นการเปิดดูรายชื่อที่บันทึกอยู่ในแต่ละกลุ่ม
และ 6.Type search จะเป็นการจัดกลุ่มรายชื่อตามประเภทเบอร์โทรศัพท์ที่ได้บันทึกไว้
ได้แก่ หมายเลขที่ทำงาน,บ้าน,โทรสาร,มือถือ
และพีซีที ทั้งหมดนี้เป็นระบบค้นหาที่ช่วยให้ผู้ใช้ค้นหารายชื่อที่ต้องการได้อย่างเหมาะสมตามความถนัดของแต่ละคน
แม้ว่าจะฟังดูแล้ววุ่นวายก็ตาม แต่การใช้งานสมุดโทรศัพท์ของ
SCP-550 จริงนั้นกลับทำได้ง่ายมาก เช่นเราสามารถค้นหาด้วยอักษรนำ
(แบบที่1) ด้วยการกดปุ่มตัวเลขที่มีอักษรนำที่ต้องการค้างไว้ในหน้าจอ
idle หรือถ้าหากต้องการจะเปิดสมุดโทรศัพท์แบบเรียงรายชื่อลงมาเหมือนโทรศัพท์ทั่วไป
ก็เพียงกดปุ่มขึ้น-ลงค้างไว้เท่านั้นครับ
SMS ความสามารถทางด้านการรับ-ส่งข้อความของ
SCP-550 สามารถรับ-ส่งข้อความสั้น (SMS) 160
ตัวอักษร พร้อมกับแนบภาพไอคอนเล็ก ๆ ที่มีให้เลือกกว่า
18 ภาพ มีข้อความสำเร็จรูปภาษาไทยและภาษาอังกฤษให้เลือกใช้อย่างละ
22 ข้อความ และสามารถบันทึกข้อความเก็บไว้ในหน่วยความจำของเครื่องได้อีก
50 ข้อความ แต่ทั้งนี้น่าเสียดายเป็นอย่างมากที่
SCP-550 ไม่มีโปรแกรมสร้าง/แก้ไขข้อความ MMS
ที่สามารถแนบภาพเคลื่อนไหวและเสียงเพลงไปกับข้อความพร้อมกัน
แต่กลับต้องใช้โปรแกรม Photo mail ที่ทำได้เพียงส่งภาพไปตามมาตรฐาน
MMS เท่านั้น ซึ่งไม่อาจแนบเสียงเรียกเข้าหรือส่งภาพต่อเนื่องหลาย
ๆ ภาพไปพร้อมกันในข้อความเดียวครับ
Organizer สำหรับความสามารถในการเป็นออแกไนเซอร์ของ
SCP-550 นั้น จะแบ่งออกเป็น 2 ส่วนคือปฏิทินแบบเดือน
(6 สัปดาห์) ที่สามารถบันทึกนัดหมายได้ 100
รายการ และ To Do List ที่สามารถจดบันทึกสิ่งที่ต้องทำได้
50 รายการ ในส่วนของนัดหมายที่บันทึกในปฏิทิน
ผู้ใช้สามารถกำหนดระยะเวลาและสั่งให้เครื่องทำการเรียกเตือนและใส่รายละเอียดของแต่ละนัดหมายได้ค่อนข้างมาก
(รองรับภาษาไทย) แต่น่าเสียดายที่ไม่สามารถเปลี่ยนมุมมองปฏิทินแบบแบบสัปดาห์ได้ครับ
Extras Feature ความสามารถมาตรฐานที่เหลือ
ของ SCP-550 นั้น จะได้แก่ นาฬิกาปลุก (ตั้งปลุกแบบเลือกเฉพาะวันที่ต้องการได้)
, เครื่องคิดเลข , นาฬิกาจับเวลาถอยหลัง และสามารถตั้งเวลาเปิด-ปิดเครื่องอัตโนมัติ
แต่ทั้งนี้ด้วยความสามารถในการดาวน์โหลดแอพพลิเคชั่นมาติดตั้งในตัวเครื่องได้
ทำให้เราสามารถเพิ่มโปรแกรมเสริมได้จากการดาวน์โหลดในภายหลังครับ
My Experience
สิ่งที่ผมค่อนข้างจะประทับใจเป็นพิเศษสำหรับ
SCP-550 ก็คือความสามารถด้านภาษาไทยที่ใช้งานได้ง่ายและรองรับในทุกแอพพลิเคชั่น
ไม่ว่าจะเป็นการพิมพ์ข้อความภาษาไทย 3 รูปแบบ
(Matrix , T9 , MultiTap) การอ่าน SMS ภาษาไทย
, เมนูภาษาไทย หรือการสนับสนุนภาษาไทยในเบราเซอร์
ซึ่งไม่เคยเห็นในโทรศัพท์รุ่นใดมาก่อน และยิ่งได้บริการเสริมพิเศษของ
Hutch ที่ทำให้เบราเซอร์ของ SCP-550 มีประโยชน์มากมายต่อผู้ใช้ทุกกลุ่ม
ไม่ว่าจะกลุ่มผู้ใช้ที่ต้องการดาวน์โหลดเสียงเรียกเข้า
, เกมส์ หรือกับคนที่ชอบดูหนังฟังเพลง หรือแม้กระทั่งคนที่ติดตามกีฬาและข่าวสาร
เบราเซอร์ของ SCP-550 ก็รองรับการใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพดีเยี่ยม
นอกจากนี้แล้วระบบตัดเสียงรบกวนรอบข้างของ
SCP-550 ยังทำงานได้อย่างดีเยี่ยม ขนาดที่ผมใช้สายระหว่างขับรถคู่สนทนายังไม่ได้ยินเสียงรบกวนใด
ๆ เลย กล่าวโดยรวมแล้ว SCP-550 มีความสมบูรณ์แบบแทบจะทุกด้านและสามารถสร้างความประทับใจได้เป็นอย่างดีกับหน้าจอสีอันสวยสดทั้งภายในและภายนอกครับ
สำหรับระยะเวลาการใช้งานแบตเตอรี่ จากการทดสอบพบว่าสามารถเปิดเครื่องได้นานติดต่อกัน
28 ชม. พร้อมกับมีการใช้สายไปทั้งสิ้น 58
นาทีครับ
ตัวอย่างภาพถ่ายจากกล้อง
สรุป
โดยสรุปแล้ว SCP-550 เป็นโทรศัพท์ที่บรรจุเอาเทคโนโลยีชั้นนำของโทรศัพท์มือถือไว้มากมาย
ทั้งกล้องดิจิตอล , ระบบตอบรับอัตโนมัติ ,
เสียงเรียกเข้าแบบ polyphonic , หน้าจอสีระดับ
16 บิต , J2ME และอินเทอร์เน็ตเบราเซอร์ ซึ่งถ้าหากคุณเป็นคนที่ไขว่คว้าหาความทันสมัยให้กับชีวิตอยู่แล้ว
โทรศัพท์เครื่องนี้จะสามารถตอบสนองชีวิตที่ทันสมัยในโลกดิจิตอลของคุณได้อย่างเต็มที่ครับ
Strength
|
Weakness
|
- Dual colour screen
- กล้องถ่ายรูปดิจิตอลในตัว
- ระบบตอบรับอัตโนมัติพร้อมฝากข้อความได้
- ดาวน์โหลดจาวาแอพพลิเคชั่นได้
- ระบบตัดเสียงรบกวนรอบข้างยอดเยี่ยมมาก
- HTML และ WAP browser
|
- ไม่มีอินฟราเรดพอร์ต
- สั่งงานด้วยเสียงและโทรออกด้วยเสียงไม่ได้
- ไม่สามารถแนบเสียงไปกับ
MMS ได้
|
ข้อมูลโดยรวมทั่วไป
- น้ำหนัก 94 กรัม -
ขนาด 84.5 x 47.0 x 23.7 มิลลิเมตร -
CDMA2000 1x - Dual color LCD
- หน้าจอภายนอก 4,096 สี (72 x 72 พิกเซล)
- หน้าจอภายใน 65,536 สี (144
x 120 พิกเซล) - หน่วยความจำภายใน
2 เมกะไบต์ - เมนูภาษาไทย อ่าน/พิมพ์ข้อความภาษาไทยได้
- สมุดโทรศัพท์ 300 รายชื่อ (บันทึกได้รายชื่อละ
2 หมายเลข) - กำหนดรูปภาพให้กับแต่ละรายชื่อได้
(Picture CLI) - ระบบการพิมพ์ข้อความภาษาไทย
Thai Matrix และ T9 - เสียงเรียกเข้าแบบ
Polyphonic ชนิด 16 ชิ้นเครื่องดนตรี 24 เพลง
- โปรแกรมแต่งเสียงเรียกเข้าแบบ Polyphonic
- ระบบตอบรับอัตโนมัติด้วยข้อความเสียง
- ดาวน์โหลดจาวาแอพพลิเคชั่นมาติดตั้งได้
- ดาวน์โหลดภาพพื้นหลังและภาพพักหน้าจอได้
- ดาวน์โหลดเสียงเรียกเข้าได้ -
มีกล้องถ่ายรูปในตัว - ระบบ Photo
Mail ส่งภาพถ่ายแนบไปกับอี-เมล์ -
Internet Browser และ WAP browser -
บันทึกเสียงได้ 9 รายการ (รายการละไม่เกิน
19 วินาที) - รองรับการรับ-ส่งข้อความพร้อมภาพตามมาตรฐาน
MMS - รับ-ส่งข้อมูลความเร็วสูง
153 kbps ผ่านเครือข่าย CDMA2000 1x -
ปฏิทินแบบเดือน (6 สัปดาห์) บันทึกนัดหมายได้
100 รายการ - บันทึกรายการสิ่งที่ต้องทำ
(To Do List) ได้ 50 รายการ - 1
เกมมาตรฐาน Crab catcher - นาฬิกาปลุก
, นาฬิกาจับเวลาถอยหลัง , เครื่องคิดเลข ,
ตั้งเวลาเปิด-ปิดเครื่องอัตโนมัติ -
battery : Li-ion 600 mAh - stand
by : 100-190 ชม. - talk time :
110-190 นาที
รายละเอียดทั้งหมดของเครื่อง
Phone Features |
รุ่น |
Sanyo SCP550 |
ขนาด |
84.5 x
47.0 x 23.7 |
น้ำหนัก |
94 |
ระบบ |
CDMA
800 MHz |
หน้าจอ |
ภายนอก
STN4,096สี / ภายใน STN65,536 สี |
สมุดโทรศัพท์ |
300
รายชื่อ |
กลุ่มรายชื่อ |
10
กลุ่ม |
เปลี่ยนภาพพื้นที่หน้าจอ |
ได้ |
เปลี่ยนภาพพักหน้าจอ |
ได้ |
ตารางนัดหมาย |
ปฏิทิน
month view 6 สัปดาห์ + To Do List |
Picture CLI |
ได้ |
การรับ-ส่งข้อมูล |
153
kbps |
การเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ภายนอก |
USB
cable |
เกม |
1 java
game |
แฮนด์ฟรีในตัว |
ไม่มี |
กล้องดิจิตอล |
มี |
วิทยุ FM |
ไม่ได้ |
ฟังเพลง |
ไม่ได้ |
J2ME |
มี |
MMS |
มี |
EMS |
ไม่มี |
E-mail |
ไม่ได้ |
WAP browser |
internet & WAP browser |
เมนูภาษาไทย |
มี |
อ่านข้อความภาษาไทย |
ได้ |
พิมพ์ข้อความภาษาไทย |
ได้
Matrix,Multitap, |
ระบบช่วยสะกดคำภาษาไทย |
T9 |
ระบบช่วยสะกดคำภาษาอังกฤษ |
T9 |
สั่งงานด้วยเสียง |
ไม่ได้ |
โทรออกด้วยเสียง |
ไม่ได้ |
บันทึกเสียง |
9
รายการ รายการละ 19 วินาที |
profile |
2
รูปแบบ |
เสียงเรียกเข้า |
16polyphonic 24 เพลง + แต่งเอง 1 เพลง |
โปรแกรมแต่งเสียงเรียกเข้า |
polyphonic composer |
โปรแกรมแปลงค่าเงิน |
ไม่มี |
เครื่องคิดเลข |
มี |
นาฬิกาจับเวลา |
จับเวลาถอยหลัง |
ระบบสั่น |
มี |
นาฬิกาปลุก |
มี |
เปลี่ยนอุปกรณ์ |
ไม่ได้ |
talk time |
110-190 นาที |
stand by |
100-190 ชม. |
อื่นๆ |
ระบบตอบรับอัตโนมัติ , กล้องดิจิตอล 1x/2x |
ราคา |
N/A |
ขอขอบคุณ เว็บไซต์ www.min4.com
ที่เอื้อเฟื้อเนื้อหาบทความทดสอบ และ รูปภาพ
สำหรับ โทรศัพท์มือถือ รุ่นนี้ และ
คุณกานต์ รังคสิริ เว็บมาสเตอร์ของ
www.min4.com
มา ณ โอกาสนี้ด้วยครับ
ขอขอบคุณทุกท่านที่ติดตาม
Oska (Thaimobilecenter Editor) : [email protected]
:: ไปหน้าแรกเว็บไซต์ Thaimobilecenter
| ไปหน้าแรก
Mobile Focus ::
|