Nokia N93 Review & Focus
Optical
Power for Your Shots
Review
Date (06-July-2006)
หลังจากทางโนเกียได้ปล่อยโทรศัพท์มือถือตระกูล Nseries ออกมาวางจำหน่ายก่อนหน้านี้หลายรุ่น
ไล่มาตั้งแต่ N70, N90, N91, N71, N80 และ N72
ซึ่งความสามารถที่โดดเด่นอย่างหนึ่งของโทรศัพท์มือถือทุกรุ่นในตระกูล
Nseries ก็คือกล้องดิจิตอล เนื่องจากสามารถถ่ายภาพได้ที่ความละเอียดสูง
และมีคุณภาพที่ดี แต่อย่างไรก็ตามประสิทธิภาพหรือคุณสมบัตินั้นก็ยังห่างไกลกับกล้องดิจิตอลจริงๆ
อยู่มาก และแล้วในตอนนี้ก็ดูเหมือนว่ากล้องดิจิตอลในโทรศัพท์มือถือจะเริ่มก้าวเข้าใกล้กล้องดิจิตอลจริงๆ
มาอีกก้าวหนึ่ง ดังที่เห็นอยู่ใน Nokia N93
รุ่นนี้ สิ่งที่น่าสนใจมากที่สุดของกล้องดิจิตอลใน
N93 ก็คือการนำการซูมขยายภาพโดยใช้เลนส์ (Optical
Zoom) เข้ามาใช้ หลังจากที่ใช้การซูมขยายภาพแบบดิจิตอลมานาน
ซึ่งหากใครได้พอมีความรู้เกี่ยวกับกล้องดิจิตอลบ้าง
ก็คงจะทราบดีกว่าการ Optical Zoom นั้นมีประสิทธิภาพมากกว่า
Digital Zoom อย่างมาก เนื่องจากเป็นการซูมโดยใช้เลนส์จริงๆ
ไม่ใช่การซูมด้วยซอฟต์แวร์ ส่วนประสิทธิภาพของ
Optical Zoom ใน N93 นี้จะน่าประทับใจเพียงใดนั้น
คงต้องติดตามกันต่อในเนื้อหา
สำหรับกระแสของ N93 ตอนนี้นั้นถือว่ามาแรงไม่น้อย
มีผู้ถามถึงอยู่มากเนื่องจากความสามารถอันครบเครื่องที่มีอยู่ใน
N93 โดยรูปลักษณ์โดยทั่วไปของ N93 นั้นมีส่วนคล้ายกับโทรศัพท์มือถือค่ายเดียวกันบางรุ่น
เช่น N90 หรือ N92 ซึ่งคล้ายกันมากที่สุดตรงที่หน้าจอสามารถหมุนปรับเปลี่ยนทิศทางตามลักษณะของการใช้งานได้หลากหลายรูปแบบ
และขนาดของตัวเครื่องที่มีขนาดค่อนข้างใหญ่และหนานั่นเอง
สำหรับคุณสมบัติที่น่าสนใจของ N93 ก็มีตั้งแต่
สามารถรองรับระบบ 3G ได้, หน้าจอความละเอียดระดับ
QVGA และหมุนปรับเปลี่ยนทิศทางได้, รองรับ
miniSD Card, รองรับระบบ Wi-Fi/EDGE/GPRS,
ทำงานบนระบบปฏิบัติการ Symbian OS เวอร์ชัน
9.1, HTML Browser, วิทยุ FM Stereo, รองรับการเชื่อมต่อแสดงผลผ่านทางหน้าจอโทรทัศน์
และสุดท้ายที่โดดเด่นที่สุดก็เห็นจะเห็นกล้องดิจิตอล
Optical Zoom ที่สามารถถ่ายภาพได้ละเอียดมากถึง
3.2 ล้าน Pixels นั่นเอง ซึ่งประสิทธิภาพของการใช้งานในด้านต่างๆ
จะเป็นอย่างไรนั้น เชิญติดตามต่อในเนื้อหาข้างในได้เลยครับ
อุปกรณ์ที่มีมาให้ในกล่อง
อุปกรณ์ที่มีมาให้พร้อมชุดขายมาตรฐานของ Nokia N93 จะประกอบไปด้วย
ตัวเครื่อง Nokia N93, แบตเตอรี่แบบ Lithium
Ion
Polymer รุ่น BP-6M ขนาดความจุ 1,100 mAh
จำนวน 1 ก้อน, หูฟังแบบ Stereo รุ่น HS-23
จำนวน 1 เส้น, Adapter ชาร์จแบตเตอรี่รุ่น
AC-4U จำนวน 1 เส้น, Adapter แปลงหัวแจ็ครุ่น CA-44 เพื่อแปลงหัวแจ็คของ
Adapter ชาร์จแบตเตอรี่จากขนาด 2 มิลลิเมตร
ให้กลายเป็นขนาด 3.5 มิลลิเมตร จำนวน 1 เส้น,
การ์ดหน่วยความจำแบบ miniSD Card ขนาด 512
MB จำนวน 1 การ์ด, แผ่น DVD ซอฟต์แวร์ และโปรแกรม
PC Suite จำนวน 1 แผ่น, สาย USB Data Cable
รุ่น CA-53 จำนวน 1 เส้น, สาย Video Out Cable
รุ่น CA-64U สำหรับเชื่อมต่อแสดงผลผ่านทางหน้าจอโทรทัศน์
จำนวน 1 เส้น และสุดท้ายคือ คู่มือการใช้งานภาษาไทย-ภาษาอังกฤษ
จำนวน 1 เล่ม ซึ่งจากอุปกรณ์ที่แถมมาพร้อมกับชุดขายมาตรฐานนี้ก็ถือว่าค่อนข้างครบถ้วนเพียงพอต่อการใช้งานทั่วไปได้เป็นอย่างดี
เมื่อแรกเห็นตัวเครื่อง
ครั้งแรกที่ได้เห็นรูปโฉมของ Nokia N93
ตามเว็บไซต์ต่างๆ ก็รู้สึกว่าเป็นโทรศัพท์มือถือฝาพับรุ่นหนึ่งที่ดูสวยเข้มทันสมัย แต่ดูจากภาพแล้วขนาดก็น่าจะใหญ่พอสมควร
ซึ่งเมื่อได้พบเห็นกับตัวจริงของ N93 ก็พบว่าขนาดใหญ่มากกว่าที่คิดอยู่นิดหน่อย
ซึ่งก็ทำให้แปลกใจได้อยู่เหมือนกันเนื่องจากไม่นึกว่าจะใหญ่ขนาดนี้
ทั้งในมุมมองจากทางด้านหน้า และความหนาของตัวเครื่อง
ซึ่งปัจจัยสำคัญที่ทำให้เครื่องมีขนาดใหญ่เป็นพิเศษก็คงจะเป็นส่วนของกล้องดิจิตอลที่อยู่ทางด้านบนซึ่งต้องใช้พื้นที่ในการจัดวางอยู่ไม่น้อย
ไม่ว่าจะเป็นเลนส์กล้อง ปุ่มควบคุมการทำงาน
หรือแกนหมุน แต่ในเรื่องของการออกแบบดีไซน์
ก็ถือว่าดูดี สวยเข้ม ทันสมัย แข็งแรงหนักแน่น
วัสดุเท่าที่ได้เห็นและสัมผัสก็ถือว่าเป็นวัสดุเกรดสูง
การประกอบก็ดูประณีตแข็งแรงแน่นหนาดี และมีลักษณะบางอย่างที่คล้ายกับโทรศัพท์มือถือ
Nseries บางรุ่นเช่น N90 หรือ N92 โดยเฉพาะความสามารถของหน้าจอที่สามารถพับปรับเปลี่ยนทิศทางได้ตามลักษณะของการใช้งาน
เป็นต้น
 เมื่อมองดูที่ด้านหน้าของตัวเครื่องนอกจากจะเห็นถึงขนาดที่ค่อนข้างใหญ่เป็นพิเศษแล้ว
ก็จะรู้สึกได้ถึงความเข้มแข็งบึกบึน และการออกแบบที่ดูคอนข้างทันสมัย
จนผู้ใช้บางคนอาจนึกไปถึงยานอวกาศในภาพยนตร์บางเรื่องก็เป็นได้
โดยเฉพาะตัวเครื่องที่เป็นสีดำนี้ก็จะสื่อถึงความเข้มแข็งบึกบึนได้มากเป็นพิเศษ
หากเป็นผู้ใช้ที่เป็นผู้ชายก็น่าจะเข้ากันได้ดี
ส่วนผู้ใช้ที่เป็นผู้หญิงก็ใช้ได้แต่อาจจะดูแปลกๆ
ไปสักหน่อย แต่อย่างไรก็ดีนอกจากตัวเครื่องสีดำแล้วก็ยังมีสีบรอนซ์เงินอีกสีหนึ่ง
ซึ่งดูแล้วก็น่าจะเหมาะกับผู้ใช้ที่เป็นผู้หญิงมากกว่า
ส่วนทางศูนย์ในประเทศไทยจะนำเครื่องสีบรอนซ์เงินเข้ามาจำหน่ายด้วยหรือไม่นั้นคงต้องติดตามดูกันอีกครั้งหนึ่ง
สำหรับองค์ประกอบที่เห็นจากทางด้านหน้าของตัวเครื่องนี้ก็จะประกอบไปด้วย
ส่วนของกล้องดิจิตอลที่อยู่ด้านบนสุด, หน้าจอขนาดเล็กที่แสดงผลได้
2 บรรทัด ซึ่งวางอยู่บริเวณตรงกลางของด้านหน้า และลำโพง
Loudspeaker ซึ่งวางอยู่บริเวณด้านล่างของหน้าจอ
 ที่ส่วนของกล้องดิจิตอลด้านบน
จะมีข้อความเขียนไว้ว่า Carl Zeiss Vario-Tessar
3x Optical Zoom 3.2 Megapixel ซึ่งแสดงถึงจุดเด่นของกล้องดิจิตอลตัวนี้อย่างชัดเจน
ตั้งแต่คำว่า Carl Zeiss ที่แสดงให้เห็นว่า
N93 ใช้เลนส์กล้องคุณภาพสูง, คำว่า Vario-Tessar
ที่แสดงให้เห็นถึงระบบภายในที่ออกแบบมาเฉพาะสำหรับกล้องแบบ
Optical Zoom, คำว่า 3x Optical Zoom ที่แสดงให้เห็นว่า
N93 สามารถซูมขยายภาพโดยใช้เลนส์ได้ 3 เท่า
ซึ่งถือว่าเป็นระดับของกล้องดิจิตอลแบบ Compact
ตามท้องตลาดเลยทีเดียว และสุดท้ายคือคำว่า
3.2 Megapixel ที่แสดงให้เห็นว่า N93 สามารถถ่ายภาพได้ที่ความละเอียดสูงสุดถึง
3.2 ล้าน Pixels นั่นเอง
 หน้าจอขนาดเล็กที่ด้านหน้าของตัวเครื่องล้อมรอบด้วยกรอบพลาสติกใสสีดำ
ซึ่งขนาดของหน้าจอดูแล้วมีขนาดค่อนข้างเล็ก
ดังนั้นการแสดงผลคงจะมีรายละเอียดที่ค่อนข้างจำกัด
ส่วนลำโพง Loudspeaker ที่นำมาติดตั้งไว้ด้านหน้านี้
เป็นตำแหน่งที่ไม่ค่อยมีโทรศัพท์มือถือรุ่นไหนวางไว้
แต่อย่างไรก็ตามในการใช้งานทั่วๆ ไป ก็คงจะไม่มีปัญหาแต่อย่างใด
ซึ่งดูจากขนาดแล้ว ก็เป็นลำโพง Loudspeaker
ที่มีขนาดใหญ่พอสมควร ส่วนคุณภาพเสียงจะเป็นอย่างไรนั้น
จะกล่าวถึงในเนื้อหาถัดไป
 เมื่อพลิกมาดูที่ด้านซ้ายของตัวเครื่อง
ก็จะพบว่า N93 นอกจากมองดูที่ด้านหน้าจะมีความกว้างยาวมากแล้ว
เมื่อดูที่ด้านข้างยังมีความหนาค่อนข้างมากอีกด้วย
โดยโทนสีนั้นเน้นไปทางสีดำเข้มเช่นกัน แต่ก็มีขอบสีบรอนซ์เงินตัดผ่านเป็นแนวตรงบริเวณฝาพับ
เพื่อไม่ให้ดูเรียบจนเกินไป องค์ประกอบของด้านซ้ายของตัวเครื่องนี้จะประกอบไปด้วย
ส่วนของเลนส์กล้องดิจิตอลขนาดใหญ่ พร้อมไฟแฟลช,
ส่วนของช่องสำหรับใส่การ์ดหน่วยความจำแบบ
miniSD Card, ส่วนเชื่อมต่อแบบ Pop-Port และช่องสำหรับเสียบสาย
Adapter ชาร์จแบตเตอรี่
 ส่วนของเลนส์กล้องจะถูกปิดตายไว้ด้วยแผ่นพลาสติกใสซึ่งช่วยป้องกันไม่ให้มีฝุ่นละอองเข้าไปได้
รวมไปถึงรอยขีดข่วนหรือแรงกระแทกต่างๆ และเมื่อมองดูตัวเลขที่เขียนกำกับเอาไว้คือ
3.3/4.5-12.4 ก็เป็นการแสดงให้เห็นถึงขนาดของรูรับแสงหน้ากล้อง
(Aperture size) ของการซูมทางกว้าง
(Wide) และขนาดของรูรับแสงหน้ากล้องของการซูมทางยาว (Tele) ที่กล้องดิจิตอลของ N93
สามารถทำได้นั่นเอง โดยขนาดของรูรับแสงหน้ากล้องของการซูมทางกว้าง (Wide) สูงสุดจะอยู่ที่
3.3 ถึง 4.5 มิลลิเมตร ส่วนขนาดของรูรับแสงหน้ากล้องของการซูมทางยาว (Tele) สูงสุดจะอยู่ที่
12.4 มิลลิเมตร นั่นเอง และเมื่อมองถัดมาด้านล่างก็จะเห็นเป็นไฟแฟลชซึ่งมีขนาดใหญ่พอสมควร
ซึ่งตามข้อมูลไฟแฟลชนี้จะมีรัศมีทำการอยู่ที่ประมาณ
1.5 เมตร
 ถัดลงมาจะเป็นช่องสำหรับใส่การ์ดหน่วยความจำแบบ
miniSD ซึ่งถูกปิดไว้ด้วยแผ่นยางสีดำ โดยแผ่นยางสีดำนี้จะปิดไม่สนิทซะทีเดียว
จะมีงอโค้งขึ้นมาจากแนวระนาบอยู่เล็กน้อย
ซึ่งอาจจะดูไม่สวยงามเท่าไหร่นัก แต่ถ้าหากเป็นเครื่องที่วางจำหน่ายจริง
ก็อาจจะทำออกมาได้ดีกว่านี้ก็เป็นได้
 ขอเกี่ยวสำหรับล็อคฝาปิดช่องใส่การ์ดหน่วยความจำนั้นจะเกี่ยวอยู่ด้านใต้ขอบของไฟแฟลช
ซึ่งการเลื่อนฝาปิดช่องใส่การ์ดหน่วยความจำนี้ออกมาก็สามารถทำได้โดยง่าย
เพียงใช้ปลายนิ้วแงะที่ขอบด้านบนของฝาแล้วดันเลื่อนลงมา
ฝาปิดก็จะหมุนเลื่อนออกมาและปรากฏเป็นช่องสำหรับใส่การ์ดหน่วยความจำแบบ
miniSD ดังภาพ โดยแกนหมุนของฝาปิดช่องใส่การ์ดหน่วยความจำนี้จะเป็นยางชิ้นเดียวกันกับฝา
ซึ่งดูแล้วก็น่าจะมีความแข็งแรงทนทานอยู่พอประมาณ
แต่ทางที่ดีที่สุดก็ควรจะใช้อย่างระมัดระวังและทะนุถนอม
 ถัดมาจากช่องสำหรับใส่การ์ดหน่วยความจำแบบ
miniSD ก็จะเป็นช่องเชื่อมต่อแบบ Pop-Port
ซึ่งจะถูกปิดไว้ด้วยแผ่นวัสดุกึ่งยางกึ่งพลาสติกสีดำขนาดเล็ก
โดยการเปิดฝานี้ออกมานั้นก็สามารถทำได้ไม่ยาก
เพียงใช้เล็บงัดขอบของฝาในด้านที่ติดกันกับรูเสียบ
Adapter ชาร์จไฟ เพียงงัดให้ฝางอขึ้นมาเล็กน้อย
ก็จะสามารถดึงฝานี้ออกมาได้โดยง่าย
 ฝาปิดนี้จะช่วยป้องกันฝุ่นละอองที่อาจจะเข้าไปสร้างความเสียหายให้กับขั้วโลหะภายใน
แต่เมื่อถอดออกมาแล้วผู้ใช้ก็คงจะต้องเก็บรักษาไว้ให้เป็นที่เป็นทาง
เนื่องจากฝานี้เมื่อเปิดออกมาแล้วก็ไม่ได้ยึดติดกับตัวเครื่อง
และมีขนาดค่อนข้างเล็ก การสูญหายก็อาจจะเกิดขึ้นได้ง่ายมากเป็นพิเศษ
 หัวแจ็ค
Adapter สำหรับชาร์จแบตเตอรี่ของ N93 จะเป็นหัวแจ็คขนาดเล็กหรือขนาด
2 มิลลิเมตร แต่ถ้าหากผู้ใช้ต้องการนำ Adapter
สำหรับชาร์จแบตเตอรี่นี้ไปใช้กับโทรศัพท์มือถือรุ่นอื่นๆ
ของโนเกียที่ใช้หัวแจ็คขนาด 3.5 มิลลิเมตร
ก็สามารถทำได้ เนื่องจากในชุดขายมาตรฐานของ
N93 นั้นมี Adapter แปลงหัวแจ็ครุ่น CA-44 สำหรับแปลงหัวแจ็คของ
Adapter ชาร์จแบตเตอรี่จากขนาด 2 มิลลิเมตร
ให้กลายเป็นขนาด 3.5 มิลลิเมตร แถมมาให้ด้วย
ส่วนการเชื่อมต่อสายเข้าทาง Pop-Port กับสายชาร์จแบตเตอรี่นั้นสามารถทำได้พร้อมกันตามปกติ
แต่การที่ทั้งช่องเชื่อมต่อ Pop-Port และรูเสียบสายชาร์จแบตเตอรี่มาอยู่ที่ด้านข้างของตัวเครื่องแบบนี้ก็อาจจะทำให้การใช้งานบางลักษณะไม่ค่อยสะดวกหรือคล่องตัวมากเท่ากับอยู่ที่ด้านล่างหรือด้านบน
 เมื่อพลิกมาดูที่ด้านขวาของตัวเครื่อง
ก็จะมีการออกแบบดีไซน์โดยรวมที่คล้ายกันกับที่ด้านซ้าย
เพียงแต่จะมีองค์ประกอบที่แตกต่างกัน โดยที่ด้านขวาของตัวเครื่องนี้จะประกอบไปด้วย
ปุ่มไฟแฟลช, ปุ่มกล้องดิจิตอล, ปุ่มควบคุมการทำงานแบบ
5 ทิศทาง และปุ่มชัตเตอร์สำหรับถ่ายภาพพร้อมวงแหวนสำหรับการซูมขยายภาพ
 ปุ่มชัตเตอร์สำหรับกดถ่ายภาพมีขนาดค่อนข้างใหญ่ จึงสามารถกดได้ง่าย นอกจากนั้นที่ด้านนอกยังมีวงแหวนสำหรับซูมขยายภาพติดตั้งไว้ให้ด้วย
ซึ่งก็สามารถกดใช้งานได้คล่องตัวพอสมควร ส่วนความแข็งแรงนั้นก็ถือว่าอยู่ในเกณฑ์ที่ดี
ไม่มีอาการโยกคลอนแบบผิดปกติให้เห็น โดยที่ปุ่มควบคุมทั้ง
2 ปุ่มนี้ทำมาจากวัสดุที่เคลือบผิวด้วยโครเมียมมันวาว
ซึ่งดูสวยงามหรูหราทันสมัย แต่ก็เกิดรอยเปื้อนหรือคราบมันได้ง่ายเช่นเดียวกัน
 ถัดลงมาจะเป็นปุ่มควบคุมการทำงานแบบ
5 ทิศทาง ซึ่งมักถูกใช้งานควบคุมหรือสั่งงานขณะถ่ายรูปภาพ
หรือถ่ายวีดีโอ แต่เท่าที่ทดลองกดใช้งานดูก็ถือว่ากดได้ค่อนข้างยาก
ไม่ค่อยถนัดมือสักเท่าไหร่ อาจเป็นเพราะว่าปุ่มมีขนาดที่ค่อนข้างเล็กนั่นเอง
และยังไม่มีความนุ่มนวลมากเท่าที่ควร รู้สึกออกไปทางแข็งๆ
เสียมากกว่า ส่วนปุ่มกด 2 ปุ่มถัดมาก็คือปุ่มกดสำหรับเข้าใช้งานกล้องดิจิตอล
และปุ่มกดสำหรับใช้งานไฟแฟลช ซึ่งทั้ง 2 ปุ่มนี้แม้จะดูมีขนาดที่ไม่ใหญ่นัก
แต่ก็สามารถกดใช้งานได้ง่าย และมีความนุ่มนวลอยู่พอสมควร
โดยทั้ง 3 ปุ่มนี้ทำมาจากวัสดุที่เคลือบผิวโครเมียมมันวาว
จึงช่วยทำให้ดูสวยงามหรูหรามากขึ้น หรือไม่ดูเรียบจนเกินไป
แต่ก็จะเกิดรอยเปื้อนหรือคราบมันได้ง่ายกว่าพื้นผิวประเภทอื่นๆ
 เมื่อมองดูที่ด้านบนของตัวเครื่อง
ก็จะมีดีไซน์แบบเรียบๆ ไม่มีองค์ประกอบอะไรมากนอกจากปุ่มกดสำหรับเปิด-ปิดเครื่อง,
เลือก Profiles หรือล็อคปุ่มกด และเมื่อมองดูที่ด้านนี้ก็คงจะรู้สึกได้ถึงความหนาของ
N93 อย่างค่อนข้างชัดเจนเลยทีเดียว
 ปุ่มกดสำหรับเปิด-ปิดเครื่อง,
เลือก Profiles หรือล็อคปุ่มกด มีการออกแบบที่ดูสวยงามทันสมัย
โดยเป็นลักษณะของพื้นที่สีดำมีขีดตรงกลางล้อมรอบด้วยวงแหวนโครเมียมมันวาว
ซึ่งจากการทดลองกดใช้งานก็สามารถกดใช้งานได้ง่าย
และคล่องมือมากพอสมควร อาจเป็นเพราะมีขอบร่องด้านนอกที่เข้ามาช่วยเพิ่มพื้นที่สัมผัสให้มากขึ้นอีกนั่นเอง
 เมื่อพลิกมาดูที่ด้านล่างของตัวเครื่อง
ก็จะพบกับดีไซน์ที่ดูเรียบๆ และดูเข้มขรึม
มีองค์ประกอบหลักอยู่ 2 ส่วนคือ ที่ด้านบนตรงปลายของฝาพับจะเป็น
Infrared Port ส่วนถัดมาที่ด้านล่างซึ่งเป็นส่วนของตัวเครื่องจะมีห่วงสำหรับร้อยสายคล้องอยู่ตรงกลาง
ซึ่งห่วงนี้ดูมีขนาดค่อนข้างใหญ่ และดูแปลกตากว่าโทรศัพท์มือถือทั่วไป
แต่ก็ดูสวยงามทันสมัยไม่น้อย ส่วนเรื่องความแข็งแรงแน่นหนาก็ถือว่าไว้ใจได้
น่าจะสามารถรองรับน้ำหนักของตัวเครื่องได้อย่างสบายๆ
 สำหรับ
Infrared Port ที่ติดตั้งอยู่ใน N93 นั้นออกแบบสไตล์เรียบง่าย
เป็นสีเหลี่ยมผืนผ้าสีดำซึ่งมีขนาดใหญ่พอสมควร
ติดตั้งอยู่ที่ปลายด้านล่างของฝาพับ คั่นกลางระหว่างบริเวณขอบนอกสีบรอนซ์เงิน ส่วนการใช้งานก็คงจะสะดวกคล่องตัวดีตามปกติ
 ห่วงสำหรับร้อยสายคล้องมีขนาดที่ค่อนข้างใหญ่
มีการออกแบบที่ดูแปลกตากว่าปกติพอสมควร และทำมาจากพลาสติกเกรดดี
เพราะฉะนั้นจึงน่าจะมีความแข็งแรงทนทาน และสามารถรองรับกับน้ำหนักของตัวเครื่องได้เป็นอย่างดี
 เมื่อพลิกมาดูที่ด้านหลังของตัวเครื่องจะพบกับพื้นที่สีดำเรียบขนาดใหญ่
ไม่มีลวดลายใดๆ เป็นพิเศษ ซึ่งที่ด้านหลังนี้ไม่มีอะไรมากนอกจากฝาหลังที่ปิดช่องสำหรับใส่แบตเตอรี่กับซิมการ์ดเอาไว้
โดยจะมีสลักล็อกโครเมียมมันวาวอยู่ที่ด้านบน
และรูไมโครโฟนรับเสียงสำหรับการถ่ายวีดีโอ
 สลักล็อคฝาหลังทำมาจากวัสดุเคลือบผิวด้วยโครเมียมมันวาว
ซึ่งก็ทำให้พื้นที่สีดำด้านหลังดูไม่เรียบจนเกินไป
และเมื่อได้ลองใช้งานดูก็สามารถกดได้ง่ายดีตามปกติ
ส่วนนานๆ ไปโครเมียมที่เคลือบไว้จะลอกออกหรือไม่
ก็คิดว่าคงจะไม่เป็นเช่นนั้นหากไม่เกิดอุบัติอะไรรุนแรงจริงๆ
 หลายคนหากได้เห็นรูเล็กๆ
รูหนึ่งที่มุมด้านบนของฝาหลัง ที่มีตัวอักษร
R เขียนกำกับไว้ ก็อาจจะสงสัยว่ารูนี้คืออะไร
หรือใช้ทำอะไร ซึ่งจริงๆ แล้วรูนี้ก็คือรูไมโครโฟนที่เอาไว้สำหรับอัดเสียงขณะถ่ายภาพวีดีโอนั่นเอง
โดยตัวอักษร R ที่เขียนกำกับไว้นี้ก็คือการบ่งบอกว่าเป็นไมโครโฟนสำหรับรับเสียงที่มาจากทางด้านขวา
(Right) และหากเปิดฝาพับออกมา ที่ด้านในก็จะมีรูนี้อยู่ด้วยเช่นกัน
แต่จะพิมพ์ตัวอักษร L เอาไว้ซึ่งก็คือโมโครโฟนสำหรับรับเสียงที่มาจากทางด้านซ้าย
(Left) สรุปแล้ว การถ่ายภาพวีดีโอของ N93
นั้น จะมีการบันทึกเสียงเป็นแบบ Stereo นั่นเอง
 เมื่อกางฝาพับของ
N93 ออกมาแล้ว ที่ด้านในนี้ก็จะพบกับรูไมโครโฟนรับเสียงด้านซ้าย
(L : Left) สำหรับการถ่ายภาพวีดีโอ ถัดมาที่ตรงกลางจะพบกับส่วนของปุ่มควบคุมการทำงานต่างๆ
ที่ล้อมรอบด้วยกรอบโครเมียมมันวาว ดูสวยงามหรูหรา
โดยส่วนนี้จะประกอบไปด้วย ปุ่ม Softkeys ด้านซ้ายและด้านขวา,
ปุ่มควบคุมการทำงานแบบ 5 ทิศทางซึ่งทำมาจากวัสดุเคลือบโครเมียม,
ปุ่มโทรออก-รับสาย, ปุ่มปฏิเสธการรับสาย,
ปุ่ม Edit, ปุ่มเมนู, ปุ่ม Multimedia Key
และปุ่มลบ และถัดมาที่ด้านล่างจะเป็นชุดปุ่มกดตัวเลขซึ่งล้อมรอบด้วยกรอบโครเมียมมันวาว
ดูสวยงามหรูหราเช่นกัน ซึ่งเป็นปุ่มกดตัวเลขที่มีการจัดวางตำแหน่งตามปกติเช่นเดียวกันกับโทรศัพท์มือถือส่วนใหญ่
และเมื่อดูถึงขนาดของตัวเครื่องเมื่อกางฝาพับออกมาแล้วก็พบว่ามีขนาดที่ค่อนข้างใหญ่ดังภาพ แต่ก็ไม่น่าแปลกใจเท่าไหร่
เนื่องจากแม้ว่าขณะปิดฝาพับตัวเครื่องก็มีขนาดใหญ่มากพอสมควรอยู่แล้ว
 ฝาพับของ
N93 สามารถกางทำมุมได้ 2 ระดับคือในมุมฉาก
90 องศา ดังภาพ และมุมประมาณ 160-170
องศา ซึ่งมุมขนาดนี้เหมาะสำหรับการใช้งานกล้องดิจิตอลเป็นพิเศษ
โดยผู้ใช้ก็ต้องบิดหน้าจอเข้ามาในทิศทางหาตัวเองด้วย
 การกางทำมุมประมาณ
160-170 องศา นั้นเหมาะกับการใช้งานสนทนา
ซึ่งจากที่ได้ทดลองใช้งานสนทนา ก็พบว่าเป็นมุมกางที่กำลังดี
ไม่มากหรือไม่น้อยจนเกินไป สามารถถือแนบหูขณะสนทนาได้ถนัด
แม้ตัวเครื่องจะมีขนาดใหญ่ก็ตาม
 เมื่อพลิกตัวเครื่องมาดูที่ด้านซ้าย
ขณะที่กางฝาพับทำมุมตั้งฉาก 90 องศาบ้าง ก็จะเป็นดังภาพ
 เมื่อพลิกตัวเครื่องมาดูที่ด้านซ้าย
ขณะที่กางฝาพับทำมุมประมาณ 160-170 องศาบ้าง
ก็จะเป็นดังภาพ
 ที่ด้านบนของหน้าจอหลักด้านในจะพบกับส่วนควบคุมการทำงาน
และอุปกรณ์หลายส่วน ซึ่งประกอบไปด้วยปุ่ม
Softkeys ด้านบนและด้านล่างสำหรับควบคุมการทำงานของเมนูขณะใช้งานกล้องดิจิตอล,
เลนส์กล้องดิจิตอลขนาดเล็ก ความละเอียดระดับ
CIF (352 x 288 Pixels) สำหรับการใช้งาน Video
Calling (สนทนาพร้อมภาพวีดีโอ), ลำโพงหูฟังสำหรับสนทนา
และเซนเซอร์วิเคราะห์สภาพแสงในสภาพแวดล้อมสำหรับควบคุมการเปิด-ปิดไฟ
Backlight ของแผงปุ่มกด
 ส่วนของปุ่มควบคุมการทำงานต่างๆ
ล้อมรอบด้วยกรอบโครเมียมมันวาว ดูสวยงามหรูหรา
ปุ่มกดแต่ละปุ่มทำมาจากวัสดุคุณภาพสูง โดยส่วนนี้จะประกอบไปด้วย
ปุ่ม Softkeys ด้านซ้ายและด้านขวา, ปุ่มควบคุมการทำงานแบบ
5 ทิศทางซึ่งทำมาจากวัสดุเคลือบโครเมียม,
ปุ่มโทรออก-รับสาย, ปุ่มปฏิเสธการรับสาย,
ปุ่ม Edit, ปุ่มเมนู, ปุ่ม Multimedia Key
และปุ่มลบ ซึ่งจากการทดลองใช้งานเบื้องต้นก็พบว่าปุ่มกดแต่ละปุ่มข้างต้นสามารถกดใช้งานได้ง่าย
และค่อนข้างมีความนุ่มนวลพอสมควร
 ชุดปุ่มกดตัวเลขล้อมรอบด้วยกรอบโครเมียมมันวาว
ดูสวยงามหรูหราเช่นกัน ปุ่มกดแต่ละปุ่มทำมาจากพลาสติกคุณภาพสูงสีดำ ซึ่งเป็นปุ่มกดตัวเลขที่มีการจัดวางตำแหน่งตามปกติเช่นเดียวกันกับโทรศัพท์มือถือส่วนใหญ่
ปุ่มกดตัวเลขแต่ละปุ่มแยกตัวออกจากกันอย่างชัดเจน ซึ่งจากการทดลองใช้งานเบื้องต้นก็พบว่าปุ่มกดแต่ละปุ่มข้างต้นสามารถกดใช้งานได้ง่าย
คล่องมือ และค่อนข้างมีความนุ่มนวลค่อนข้างมาก
 แกนหมุนสำหรับหน้าจอของ
N93 นั้นจะมีความพิเศษกว่าโทรศัพท์มือถือทั่วไปตรงที่มีแกนหมุน
2 แกน เพื่อรองรับรูปแบบของการใช้งานที่หลากหลาย
ไม่ว่าจะเป็นการสนทนา, การใช้งานโปรแกรม,
การเปิดดูหน้าเว็บ, การถ่ายภาพ หรืออื่นๆ
ซึ่งสำหรับแกนหมุนหลักที่อยู่ส่วนเดียวกับกล้องดิจิตอลนั้นมีขนาดค่อนข้างใหญ่
ดูแล้วมีความแข็งแรงหนักแน่นดีมาก หมุนได้มั่นคงไม่มีอาการโยกเยกแบบผิดปกติให้เห็น ดังนั้นหากไม่เกิดอุบัติเหตุรุนแรงอะไรกับตัวเครื่อง
ก็ไม่น่าจะเกิดความเสียหายกับส่วนของแกนหมุนนี้ได้ง่ายๆ
อย่างแน่นอน และสำหรับแกนหมุนอีกแกนก็คือแกนหมุนขนาดเล็กตรงส่วนของหน้าจอ
ซึ่งมีไว้สำหรับพลิกให้หนาจอหมุนทำมุมต่างๆ
เพื่อการใช้งานในลักษณะที่หลากหลาย โดยแกนหมุนนี้ทำมาจากโลหะซึ่งมีความแข็งแรงทนทานสูง
จากการทดสอบพบว่าสามารถหมุนได้อย่างมั่นคงดีไม่มีอาการโยกคลอนแบบผิดปกติให้เห็น
จึงไม่ต้องกังวลว่าจะเกิดความเสียหายได้ง่ายๆ
สรุปแล้วแกนหมุนทั้ง 2 แกนหมุนของ N93 นั้นสามารถทำออกมาได้ดีมีคุณภาพหายห่วง
 สำหรับแกนหมุนขนาดเล็กของ
N93 นั้นทำให้หน้าจอสามารถหมุนปรับเปลี่ยนทิศทางได้ทั้งหมดประมาณ
270 องศา ดังภาพ ทั้งการหมุนขึ้นไปทิศทางบน
เช่นหากต้องการให้แสดงผลในแนวนอน อย่างการเปิดดูหน้าเว็บหรือการเปิดดูวีดีโอเป็นต้น และการหมุนลงมาในทิศทางด้านล่าง
เช่นหากต้องการใช้งานกล้องดิจิตอล เป็นต้น
 มุมมอง
หรือสไตล์การใช้งานที่เป็นเอกลักษณ์ที่โดดเด่นและน่าสนใจอย่างหนึ่งของ
N93 คือมุมมองดังภาพ ซึ่งในมุมมองนี้มีความเหมาะสมในการใช้งานหลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็น การเปิดดูหน้าเว็บ,
การดูไฟล์วีดีโอ, การเปิดดูรูปภาพ, การเล่นเกมส์
หรือใช้งานโปรแกรมอื่นๆ ที่เหมาะสมที่จะแสดงผลในแนวนอนนั่นเอง
เริ่มใส่ SIM Card และแบตเตอรี่
 หากต้องการใส่
SIM Card หรือแบตเตอรี่ก็จะต้องทำการเปิดฝาหลังเสียก่อน
ซึ่งวิธีการเปิดก็ค่อนข้างง่ายคล้ายกับโทรศัพท์มือถือส่วนใหญ่
โดยให้นำนิ้วกดลงไปที่สลักล็อคที่ด้านบนของฝาพับเพื่อปลดล็อคเสียก่อน
จากนั้นก็ให้ค่อยๆ ดึงฝาหลังออกมาอย่างระมัดระวัง
ไม่ควรรีบร้อนหรือออกแรงมาก เนื่องจากดูแล้วฝาหลังของ
N93 นั้นออกจะบอบบางอยู่สักหน่อย หากไม่ระมัดระวังก็อาจจะเกิดความเสียหายได้อยู่เหมือนกัน
 เมื่อเปิดฝาหลังออกมาเรียบร้อยแล้ว
ที่ด้านหลังของตัวเครื่องก็จะมีลักษณะดังภาพ
ซึ่งจะประกอบไปด้วยช่องสำหรับใส่ซิมการ์ด
และช่องสำหรับใส่ก้อนแบตเตอรี่ ส่วนที่ด้านในของฝาหลังจะมีการสกรีนรูปภาพแนะนำวิธีการใส่การ์ดหน่วยความจำ
miniSD และวิธีการใส่ซิมการ์ดเบื้องต้นให้เห็น
 ฝาหลังของ
N93 โดยรวมแล้วดูบอบบางไปสักหน่อย แต่หากใช้งานตามปกติอย่างระมัดระวัง
ก็คงจะไม่มีปัญหาแต่อย่างใด
 ช่องสำหรับใส่ซิมการ์ดของ
N93 มีลักษณะที่ผู้ใช้หลายคนคงคุ้นเคยกันดี
เนื่องจากมีลักษณะที่เหมือนกันกับโทรศัพท์มือถืออีกหลายรุ่นหลายยี่ห้อ
โดยฐานใส่ซิมการ์ดทำมาจากพลาสติกสีดำ พร้อมถาดโลหะที่เปิดปิดได้
 วิธีการใส่ซิมการ์ดนั้นก็ไม่ได้ยุ่งยากแต่อย่างใด
เนื่องจากมีลักษณะเหมือนกับที่พบเห็นได้ในโทรศัพท์มือถืออีกหลายรุ่นหลายยี่ห้อ
โดยก่อนอื่นให้เปิดถาดโลหะออกมาเสียก่อน จากนั้นก็ให้ใส่แผ่นซิมการ์ดลงไปในร่องของถาดโลหะในทิศทางที่ถูกต้อง
โดยสังเกตรอยบากที่มุมด้านหนึ่งของซิมการ์ดและฐานใส่ซิมการ์ดให้มีความสอดคล้องกัน
 เมื่อใส่ซิมการ์ดในถาดโลหะในทิศทางที่ถูกต้องเรียบร้อยแล้ว
ก็ให้พลิดถาดโลหะมาปิดเอาไว้เช่นเดิม โดยการล็อคให้อยู่กับที่ก็ทำได้ง่าย
เพียงแค่ดันถาดโลหะไปตามแนวระนาบทางซ้ายด้วยแรงพอประมาณ
สวนทางกับทิศทางในตอนที่เปิดถาดโลหะออกมา
 ขั้วสัมผัสโลหะของแบตเตอรี่ของ
N93 นั้นอยู่ที่ด้านล่าง ซึ่งผู้ใช้ส่วนใหญ่เมื่อได้เห็นแล้วก็คงทราบได้ทันทีว่าจะต้องใส่ก้อนแบตเตอรี่ในทิศทางใดหรือด้านใดจึงจะถูกต้อง
 แบตเตอรี่ที่ใช้กับ
N93 นั้นเป็นแบบ Lithium Ion Polymer รุ่น
BP-6M ขนาดความจุ 1100 mAh ซึ่งแบตเตอรี่รุ่นนี้สามารถพบเห็นได้ในโทรศัพท์มือถือบางรุ่นของโนเกีย
เช่น 6280, 3250 หรือ 9300 เป็นต้น
 การใส่แบตเตอรี่นั้นทำได้ไม่ยาก
โดยให้ดันก้อนแบตเตอรี่เข้าไปทางขั้วสัมผัสโลหะที่อยู่ทางด้านล่างด้วยแรงพอประมาณดังภาพ
แล้วจัดวางก้อนแบตเตอรี่ให้ลงไปอยู่ในกรอบให้เรียบร้อยก็เป็นอันเสร็จสิ้นขั้นตอนการใส่ก้อนแบตเตอรี่
ส่วนการนำก้อนแบตเตอรี่ออกนั้นก็ไม่ยากเช่นกัน
เนื่องจากมีร่องสำหรับให้นิ้วสอดเข้าไปงัดก้อนแบตเตอรี่ออกมาอยู่ทางด้านบนซ้ายไว้ให้ด้วยดังภาพ
และเมื่อได้ทำการใส่ซิมการ์ดและแบตเตอรี่เรียบร้อยแล้ว
ก็ให้ปิดฝาหลังให้เรียบร้อย เพื่อให้พร้อมสำหรับการเปิดใช้งานต่อไป
ความเหมาะมือและน้ำหนัก
 อย่างที่ได้กล่าวเกริ่นไว้ในช่วงแรกๆ
ว่าตัวเครื่อง N93 นั้นมีขนาดที่ค่อนข้างใหญ่และหนา
ซึ่งเมื่อได้ลองจับถือดูจริงๆ แล้วก็พบว่าค่อนข้างเต็มไม้เต็มมือเกินไปสักหน่อยแม้จะเป็นผู้ที่มีฝ่ามือขนาดใหญ่ก็ตาม
ประกอบกับน้ำหนักตัวมากถึง 180 กรัม ซึ่งหนักมากกว่าโทรศัพท์มือถือประเภท
PDA Phones บางรุ่นเสียด้วยซ้ำ ด้วยปัจจัยเหล่านี้จึงทำให้
N93 เป็นโทรศัพท์มือถือฝาพับที่มีค่อนข้างใหญ่เทอะทะและอาจจะพกพาไปไหนมาไหนได้ไม่สะดวกคล่องตัวมากนัก
แต่อย่างไรก็ตาม N93 ก็สามารถจับถือได้กระชับเหมาะมืออยู่พอประมาณ
ในการใช้งานปกติทั่วไป คงจะไม่ร่วงหลุดมือไปได้ง่ายๆ ส่วนเรื่องของสัมผัสที่ได้นั้นก็ต้องยอมรับว่า
N93 มีการประกอบที่ดี ใช้วัสดุเกรดสูง ทุกส่วนมีความแน่นหนาแข็งแรงเป็นอย่างดี
ไม่มีส่วนใดโยกคลอนได้แบบผิดปกติ โดยเฉพาะเรื่องที่ผู้ใช้หลายคนเป็นห่วงกันคือส่วนของแกนหมุนหรือฝาพับ
ว่าจะมีความทนทานหรือบอบบางหรือไม่ ก็คงต้องบอกว่า
N93 ทำออกมาได้ดีหายห่วงเลยทีเดียว
 ขนาดของตัวเครื่อง
N93 เมื่อเปรียบเทียบกับฝ่ามือขนาดใหญ่ของผู้ชาย
จะเห็นว่ามีขนาดที่ค่อนข้างใหญ่หากเปรียบเทียบกับโทรศัพท์มือถือแบบฝาพับทั่วๆ
ไป แต่ในเรื่องของการออกแบบดีไซน์นั้นถือว่ามีความสวยงามหรูหราทันสมัย
ไม่ใช่ใหญ่โตแบบดูไม่ดี และโดยเฉพาะความสามารถอันครบเครื่องในตัวของ
N93 จึงอาจจะทำให้เรื่องของขนาดตัวเครื่องถูกหักล้างไปได้อยู่เหมือนกัน
 เมื่อดูกันที่ความหนาของตัวเครื่อง
ซึ่งอยู่ที่ประมาณ 28.2 มิลลิเมตร ก็ถือว่า
N93 เป็นโทรศัพท์มือถือแบบฝาพับอีกรุ่นหนึ่งที่ค่อนข้างหนามากพอสมควร
ดังนั้นหากใครกำลังมองหาโทรศัพท์มือถือที่เน้นความบางเฉียบเพื่อการพกพาที่สะดวกคล่องตัว
ก็คงต้องมองผ่าน N93 ไปโดยปริยาย
 เมื่อกางฝาพับออกมาแล้วค่อนข้างดูดีไม่น้อย
รู้สึกถึงความทันสมัยบวกกับความหรูหรา ติดเพียงแค่ตรงขนาดของตัวเครื่องที่ค่อนข้างใหญ่ไปซักหน่อยเท่านั้นเอง
หากเป็นผู้ใช้ที่มีฝ่ามือค่อนข้างใหญ่ ก็คงจะไม่รู้สึกใช้งานติดขัดอะไรมากนัก
แต่ถ้าหากเป็นผู้ใช้ที่มีฝ่ามือค่อนข้างเล็ก
เช่นสุภาพสตรีทั้งหลาย ก็คงจะจับถือได้ไม่ถนัดมือสักเท่าไหร่
อย่างไรก็ดี สุดท้ายแล้วผู้ใช้ที่สนใจแต่ละคนก็คงจะต้องไปสัมผัสตัวจริงดูอีกครั้งด้วยตนเอง
อาจจะได้ความรู้สึกที่ดีเมื่อได้สัมผัสกับ
N93 ก็เป็นได้
 ด้วยน้ำหนักตัวเครื่องที่ค่อนข้างมาก
และมีขนาดตัวเครื่องที่ค่อนข้างใหญ่ เพราะฉะนั้นเวลาจับถือใช้งานก็ควรจะจับถืออย่างระมัดระวังมั่นคง
มิเช่นนั้นอาจจะเผลอทำหลุดมือได้อยู่เหมือนกัน เช่นขณะที่นำมาแนบข้างหูขณะสนทนา
หรือกดใช้งานเมนูต่างๆ เป็นต้น
 เมื่อผู้ใช้หมุนหน้าจอให้อยู่ในทิศทางดังภาพ
เครื่องก็เริ่มเปิดการใช้งานกล้องดิจิตอลโดยอัตโนมัติ
ซึ่งมีส่วนคล้ายกับโทรศัพท์มือถือที่เน้นการถ่ายภาพก่อนหน้านี้รุ่นหนึ่งอย่าง
N90 โดยลักษณะท่าทางการจับยึดตัวเครื่องที่เหมาะสมที่สุดก็คือให้นิ้วชี้สัมผัสเอาไว้ที่แผ่นยางที่เป็นฝาปิดช่องใส่การ์ดหน่วยความจำ
ส่วนนิ้วมืออื่นๆ และอุ้งมือก็ใช้ช่วยประคองตัวเครื่องไว้
และเมื่อต้องการกดถ่ายภาพ, ซูมภาพ หรือกดปุ่มควบคุมการทำงาน
ก็ให้ใช้นิ้วโป้งเป็นหลัก ซึ่งเท่าที่ได้ลองใช้งานดูก็พบว่าการควบคุมการใช้งานกล้องดิจิตอลด้วยมือข้างเดียวดังในภาพนั้นยังไม่ค่อยถนัดมือหรือคล่องตัวเท่าที่ควร
มักจะกังวลอยู่เสมอว่าจะจับตัวเครื่องได้มั่นคงพอหรือยังที่จะไม่ให้เครื่องหลุดมือ
จึงมักจะต้องใช้มืออีกข้างช่วยประคองเอาไว้อยู่เป็นระยะ
เช่นตอนที่ต้องการกดถ่ายภาพ หรือกดปุ่มควบคุมที่ด้านข้าง
หากต้องการให้มือนิ่ง ก็อาจจะต้องใช้มืออีกข้างช่วยประคองเอาไว้ด้วย
โดยเฉพาะปุ่มควบคุมการทำงานแบบ 5 ทิศทางที่ด้านข้างของตัวเครื่องนั้นค่อนข้างกดได้ยาก
เช่นต้องออกแรงกดเยอะไปสักหน่อย ดังนั้นหากออกแรงมากไปก็อาจจะเผลอทำเครื่องหลุดมือได้ง่ายๆ
อยู่เหมือนกัน
 การเลือกใช้การแสดงผลแบบแนวนอนก็เป็นอีกทางเลือกสำหรับผู้ใช้
ซึ่งเป็นเอกลักษณ์ที่น่าสนใจอย่างหนึ่งของ
N93 เนื่องจากการใช้งานบางอย่างอาจจะเหมาะสมกับการแสดงผลแบบแนวนอนมากกว่า
เช่น การเปิดดูหน้าเว็บไซต์, การเปิดดูไฟล์เอกสาร,
การเล่นเกมส์, การดูวีดีโอ, การเปิดดูรูปภาพ
และอีกมากมาย โดยเมื่อพลิกหน้าจอในทิศทางดังภาพ
การแสดงผลหรือเมนูต่างๆ จะปรับเปลี่ยนการแสดงผลให้เป็นแบบแนวนอนโดยอัตโนมัติ ซึ่งเมื่อได้ลองจับถือใช้งานในลักษณะท่าทางแบบนี้ดูแล้ว
ก็ค่อนข้างน่าประทับใจ เนื่องจากรู้สึกว่ากำลังเหมาะมือดีสำหรับการจับถือโดยใช้มือ
2 ข้างดังภาพ การกดปุ่มต่างๆ ก็สามารถกดได้ง่าย
และคล่องตัวอยู่ไม่น้อย
 เมื่อนำมาเปรียบเทียบกับขนาดในมุมมองด้านหน้าของโทรศัพท์มือถือ
Smartphone ยอดนิยมรุ่นหนึ่งจากค่ายเดียวกันอย่าง
6630 ก็พบว่า N93 มีขนาดที่ยาวกว่าเสียอีก
ซึ่งด้วยภาพนี้ หากเป็นผู้ที่เคยเห็น 6630
มาก่อน ก็คงจะพอมองเห็นได้ชัดเจนว่า N93 นั้นเป็นโทรศัพท์มือถือแบบฝาพับมีขนาดใหญ่มากเพียงใด
และยิ่งไปกว่านั้นความหนาของ N93 ก็ยังมากกว่าอีกด้วย
แต่สำหรับผู้ใช้ที่เน้นในเรื่องของความสามารถในการใช้งานเป็นหลัก
ก็อาจจะไม่ติดใจในเรื่องขนาดของ N93 ก็เป็นได้
 เมื่อนำตัวเครื่อง
N93 มาเปรียบเทียบขนาดกับบัตรทั่วไปดังภาพ
ก็จะเห็นว่ามีขนาดที่ใหญ่กว่ามากพอสมควร จากการทดลองพกพาเครื่องในกระเป๋ากางเกง
หรือกระเป๋าเสื้อ ก็พบว่าไม่ค่อยจะคล่องตัวนัก
แม้จะทำได้ก็ตาม เนื่องจากนอกจากตัวเครื่องจะมีความกว้างยาวที่มากกว่าปกติแล้ว
ก็ยังมีความหนาที่มากกว่าปกติอีกด้วย เช่นหากนำใส่ไว้ในกระเป๋ากางเกงก็จะเกิดการรัดตัวแน่นเกินไป
หากนานๆ ไปอาจจะเกิดความเสียหายต่อตัวเครื่องได้ ดังนั้นหากเลือกวิธีการพกพาวิธีอื่นก็น่าจะเหมาะสมกว่า
เริ่มเปิดเครื่อง
 เมื่อใส่ซิมการ์ด
และก้อนแบตเตอรี่เรียบร้อยแล้ว ก็พร้อมที่จะเปิดเครื่องใช้งานได้
โดยวิธีการเปิดเครื่องของ N93 นั้นก็ทำได้โดยง่าย
ผู้ใช้เพียงแค่กดลงไปที่ปุ่มเปิด-ปิดเครื่องที่อยู่ด้านบนของตัวเครื่องค้างไว้ประมาณ
1-2 วินาที เครื่องก็จะทำการเปิดตัวเองขึ้นมา
อาจจะใช้เวลารอสักพักหนึ่งตามปกติของโทรศัพท์มือถือที่ใช้ระบบปฏิบัติการ
Symbian OS (รวมถึงระบบปฏิบัติการอื่นๆ ด้วย)
แต่สำหรับ N93 แล้วก็ถือว่าทำเวลาได้ค่อนข้างดี
หากเทียบกับโทรศัพท์มือถือ Smartphone รุ่นอื่นๆ
ทั้งการเริ่มระบบ ไปจนถึงการสแกนหาสัญญาณเครือข่าย
ส่วนการปิดเครื่องนั้นก็ให้ทำคล้ายกันกับการเปิดเครื่องก็คือกดปุ่มนี้ค้างไว้ประมาณ
1-2 วินาที หรืออาจะเลือกจากเมนูที่แสดงขึ้นมาก็ได้เช่นกัน
ความคมชัดและสวยงามของหน้าจอแสดงผล
 หน้าจอแสดงผลด้านนอกของ
N93 นั้น เป็นหน้าจอแบบ 65,536 สี ที่มีความละเอียด
128 x 36 Pixels ซึ่งเป็นหน้าจอที่มีขนาดค่อนข้างเล็ก
ด้วยความละเอียดระดับ 128 x 36 Pixels นี้ก็ช่วยให้การแสดงผลดูค่อนข้างละเอียดคมชัดอยู่พอสมควร
ส่วนความสว่างก็ถือว่าสว่างกำลังดี
และสีสันก็มีความสดใสในระดับพอใช้ได้ แต่อย่างไรก็ดี
ก็เป็นน่าเสียดายอยู่เหมือนกัน ทั้งๆ ที่
N93 มีความสามารถครบเครื่องในทุกๆ ด้าน ก็น่าจะทำให้หน้าจอแสดงผลด้านนอกมีขนาดที่ใหญ่กว่านี้ด้วย
แต่ก็ไม่แน่ว่าที่ทางโนเกียตัดสินใจทำหน้าจอเล็กแบบนี้ออกมา
อาจจะเป็นเพราะเรื่องของการออกแบบดีไซน์ก็เป็นได้
 สำหรับหน้าจอแสดงผลหลักด้านในของ
N93 นั้นเป็นหน้าจอแบบ TFT LCD ที่แสดงสีสันได้
262,144 สี และมีความละเอียด 240 x 320 Pixels
หรือระดับ QVGA ซึ่งเท่าที่ได้ทดลองใช้งานดูก็พบว่าหน้าจอของ
N93 นี้สามารถแสดงผลได้ละเอียดคมชัดมากสมกับเป็นหน้าจอที่มีความละเอียดระดับ
QVGA ส่วนเรื่องของสีสัน แม้ว่าจะไม่ใช้ 16
ล้านสีเหมือนกับโทรศัพท์มือถือรุ่นใหม่ๆ จากค่ายเดียวกันบางรุ่น
แต่เท่าที่เห็นก็ถือว่ามีสีสันที่สดใสสมจริงดีในระดับที่น่าพอใจ
แม้ว่าอาจจะสู้หน้าจอแบบ 16 ล้านสีไม่ได้ก็ตามที
และสำหรับความสว่างก็ถือว่าอยู่ในเกณฑ์ที่ปกติดี
แม้ว่าจะปรับความสว่างอยู่แค่ในระดับปานกลางก็สว่างเพียงพอต่อการใช้งานทั่วไปแล้ว
สรุปแล้วหน้าจอแสดงผลของ N93 นี้ก็น่าจะทำให้ผู้ใช้เกิดความประทับใจได้ไม่ยาก
ปุ่มกด และการตอบสนอง
 ปุ่มกดของ
N93 มีการจัดวางให้อยู่ในรูปแบบที่เป็นระเบียบเรียบร้อย
สามารถทำความเข้าใจ และใช้งานได้ง่าย โดยส่วนของปุ่มควบคุมการทำงานต่างๆ
จะล้อมรอบด้วยกรอบโครเมียมมันวาว ดูสวยงามหรูหรา
ปุ่มกดแต่ละปุ่มทำมาจากวัสดุคุณภาพสูง โดยส่วนนี้จะประกอบไปด้วย
ปุ่ม Softkeys ด้านซ้ายและด้านขวา, ปุ่มควบคุมการทำงานแบบ
5 ทิศทางซึ่งทำมาจากวัสดุเคลือบโครเมียม,
ปุ่มโทรออก-รับสาย, ปุ่มปฏิเสธการรับสาย,
ปุ่ม Edit, ปุ่มเมนู, ปุ่ม Multimedia Key
และปุ่มลบ ซึ่งจากการทดลองใช้งานเบื้องต้นก็พบว่าปุ่มกดแต่ละปุ่มข้างต้นสามารถกดใช้งานได้ง่าย
และค่อนข้างมีความนุ่มนวลพอสมควร
 ส่วนชุดปุ่มกดตัวเลขจะล้อมรอบด้วยกรอบโครเมียมมันวาว
ดูสวยงามหรูหราเช่นกัน ปุ่มกดแต่ละปุ่มทำมาจากพลาสติกคุณภาพสูงสีดำ ซึ่งเป็นปุ่มกดตัวเลขที่มีการจัดวางตำแหน่งตามปกติเช่นเดียวกันกับโทรศัพท์มือถือส่วนใหญ่
ปุ่มกดตัวเลขแต่ละปุ่มแยกตัวออกจากกันอย่างชัดเจน ซึ่งจากการทดลองใช้งานเบื้องต้นก็พบว่าปุ่มกดแต่ละปุ่มข้างต้นสามารถกดใช้งานได้ง่าย
คล่องมือ และค่อนข้างมีความนุ่มนวลค่อนข้างมาก
สรุปแล้วเรื่องปุ่มกดทุกปุ่มที่อยู่ด้านในฝาพับของ
N93 นั้นจะไม่ทำให้ผู้ใช้ต้องผิดหวังอย่างแน่นอน
แต่หากเป็นปุ่มกดที่อยู่ทางด้านข้างของตัวเครื่องบางปุ่มอาจจะยังกดใช้งานได้ค่อนข้างยาก
โดยเฉพาะปุ่มควบคุมการทำงานแบบ 5 ทิศทางที่ด้านข้างของตัวเครื่องนั้นค่อนข้างแข็ง
และมีขนาดที่ค่อนข้างเล็ก จึงกดใช้งานได้ไม่สะดวกนัก
ต้องออกแรงกดมากเป็นพิเศษ และสำหรับเรื่องความรวดเร็วในการประมวลผลนั้น
ถือว่าทำได้ค่อนข้างดี มีการทำงานที่รวดเร็วทันใจ
ไม่รู้สึกว่าเครื่องหน่วงแต่อย่างใด แต่เรื่องของความเสถียรเท่าที่ใช้งานก็ยังพบกับอาการเครื่องค้าง ,อาการรีสตาร์ทตัวเอง
หรืออาการไม่ตอบสนองแบบผิดปกติเกิดขึ้นอยู่บ้าง
ซึ่งหากเป็นเครื่องที่วางจำหน่ายจริงอาจจะมีการปรับปรุงเรื่องนี้ให้ดีขึ้นกว่าเดิมก็เป็นได้
 สำหรับความชัดเจนของแผงปุ่มกดขณะใช้งานในที่มืด
หรือเวลากลางคืน ก็มีความชัดเจนปกติดีทุกปุ่ม
ด้วยไฟ Backlight สีขาวสว่างสดใส และ
N93 ยังมีเซนเซอร์วิเคราะห์ระดับแสดงตามสภาพแวดล้อม
(Ambient Light Sensor) ติดตั้งไว้ด้วย ซึ่งเซนเซอร์ดังกล่าวอยู่
ณ ตำแหน่งด้านบนของหน้าจอแสดงผลหลักนั่นเอง
โดยที่เซนเซอร์นี้จะช่วยวิเคราะห์ระดับความสว่างของแสงตามสภาพแวดล้อมที่ผู้ใช้กำลังใช้งานอยู่
หากมีแสงสว่างเพียงพอก็จะไม่เปิดไฟ Backlight
ของแผงปุ่มกด แต่หากมีแสงสว่างไม่เพียงพอก็จะสั่งให้เปิดไฟ
Backlight โดยอัตโนมัติ ซึ่งก็เป็นการช่วยประหยัดพลังงานได้อีกทางหนึ่ง
เมนูและฟังก์ชันการทำงาน
สำหรับ Nokia N93 นั้นทำงานอยู่บนระบบปฏิบัติการ Symbian OS
เวอร์ชัน 9.1 และมีรูปแบบของการแสดงผลหรือ
User Interface เป็นแบบ Series 60 UI เวอร์ชัน 3rd
Edition ซึ่งเป็นแบบเดียวกันกับโทรศัพท์มือถือ
Nseries รุ่นใหม่บางรุ่น เช่น Nokia N71 เป็นต้น และการแสดงผลโดยรวมนั้นคล้ายกันกับ Series
60 เวอร์ชันก่อนหน้านี้ แต่จะมีหน้าตาที่สวยทันสมัยมากขึ้น
รวมทั้งมีฟังก์ชันการทำงานพื้นฐานที่หลากหลายมากขึ้นกว่าเดิม
ขณะที่ผู้ใช้อยู่ ณ หน้าจอ Standby หรือไม่ว่าจะใช้งานโปรแกรมใดอยู่
หากกดปุ่มเปิด-ปิดเครื่องก็จะมีเมนูสำหรับปิดเครื่อง,
ล็อคปุ่มกด หรือเลือกใช้งาน Profiles แสดงขึ้นมาให้เห็น
ที่หน้าจอ Standby ของ Nokia N93 ผู้ใช้สามารถเลือกได้ว่าจะให้แสดงเมนูแบบ
Active Standby หรือไม่ ซึ่งเมนู Active Standby
นี้ก็มักจะมีอยู่ในโทรศัพท์มือถือรุ่นใหม่ๆ
จากค่าย Nokia อีกหลายๆ รุ่น และช่วยให้ผู้ใช้สามารถเข้าใช้งานเมนูต่างๆ
ได้สะดวกรวดเร็วขึ้น รวมถึงสามารถตรวจสอบสถานะของการใช้งานต่างๆ
ได้ง่ายขึ้นด้วย

 เมื่อเครื่องอยู่ในหน้าจอ
Standby ผู้ใช้สามารถเรียกใช้งานเมนูหรือฟังก์ชันต่างๆ
ได้อย่างรวดเร็วจากปุ่มกดต่างๆ หรือจากเมนู
Active Standby ที่ปรากฏอยู่บนหน้าจอ โดยสามารถกดเพื่อเข้าสู่เมนูรายชื่อ,
ข้อความ, ปฏิทิน, เครื่องเล่นเพลง, คลังภาพ
หรือเว็บได้อย่างรวดเร็ว
แต่ผู้ใช้ก็สามารถปรับเปลี่ยนรายการเมนูเหล่านี้ได้ด้วยตนเองเช่นเดียวกันหากไม่ชอบรายการเมนูที่เครื่องตั้งเอาไว้ให้
นอกจากนั้นหากไม่ได้มีการตั้งค่าใดๆ
เพิ่มเติมเมื่อกดปุ่ม Softkey ทั้ง 2 ปุ่มก็จะเป็นการเข้าสู่เมนูคลังภาพ
และกล้อง ตามลำดับ
 ลักษณะหน้าตาเมนูหลักของ
N93 หากผู้ใช้ไม่ได้ตั้งค่าใดๆ เพิ่มเติม
ก็จะเป็นเมนูแบบตารางไอคอนพร้อมชื่อกำกับแต่ละเมนู
ซึ่งก็มีลักษณะเดียวกันกับโทรศัพท์มือถือ
Smartphone จากโนเกียรุ่นใหม่ๆ อีกหลายรุ่น โดยผู้ใช้สามารถเลือกมุมมองการแสดงผลเมนูให้เป็นแบบตารางกริด
หรือแบบรายการก็ได้ และเมื่อกดดูที่ตัวเลือกในเมนู
ก็จะปรากฏเมนูย่อยให้ผู้ใช้เลือกใช้งานได้
เช่น ย้าย, ย้ายไปโฟลเดอร์, โฟลเดอร์ใหม่
รวมถึงการแสดงข้อมูลพื้นที่ของหน่วยความจำภายในเครื่อง
และการ์ดหน่วยความจำ
 ความสามารถพิเศษอีกอย่างหนึ่งของ
N93 ก็คือการแสดงผลแบบแนวนอน ซึ่งสำหรับการใช้งานบางฟังก์ชัน
หรือบางโปรแกรม การแสดงผลแนวนอนก็จะมีความเหมาะสมมากกว่า
เช่นการเปิดดูเว็บ, การเปิดดูไฟล์เอกสาร,
ใช้งานกล้องดิจิตอล, การเปิดดูวีดีโอ หรือดูรูปภาพ
เป็นต้น และนอกจากนั้นการควบคุมการทำงานยังออกแบบมาให้ใช้ปุ่ม
Softkeys ทั้ง 2 ปุ่มทางด้านบนของหน้าจอแสดงผลด้านในเป็นหลักอีกด้วย
เมนูข้อความ
เมนูข้อความ คือเมนูที่รวบรวมฟังก์ชันต่างๆ
ที่เกี่ยวกับการรับส่งข้อความเอาไว้ ได้แก่การสร้างข้อความใหม่,
การเรียกดูข้อความที่ถูกส่งเข้ามา, โฟลเดอร์ส่วนตัว,
ศูนย์ฝากข้อความ, ฉบับร่าง, ข้อความที่ส่ง,
ถาดออก และรายงานสถานะการส่งข้อความ
การสร้างข้อความใหม่มีอยู่ด้วยกัน 3 รูปแบบหลักคือ
ข้อความตัวอักษร, ข้อความมัลติมีเดีย และข้อความอีเมล

สำหรับข้อความตัวอักษรหรือที่รู้จักกันในชื่อของ
SMS ซึ่งพิมพ์ข้อความได้สูงสุด 160 ตัวอักษรนั้นก็มีฟังก์ชันสำหรับใช้งานพื้นฐานให้มาอย่างครบถ้วน
ตั้งแต่การเลือกใส่ผู้รับ, ระบบสะกดคำอัตโนมัติทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ,
การแทรกตัวอย่างข้อความ และการใส่สัญลักษณ์พิเศษ
 หากผู้ใช้ต้องการปรับแต่งค่าเกี่ยวกับการใช้งานรับส่งข้อความ
ก็สามารถทำได้ เช่น ศูนย์ข้อความที่ใช้, การเข้ารหัสอักขระ,
การรับรายงาน, อายุข้อความ หรือการเลือกรูปแบบของการส่งความให้เป็นแบบ
ข้อความ, แฟ็กซ์, เพจตามตัว หรืออีเมล เป็นต้น
แต่ละข้อความจะมีรายละเอียดเฉพาะของตนเองที่ผู้ใช้สามารถเรียกดูได้
เช่น หัวข้อ, วันที่, เวลา, ประเภท, ชื่อผู้รับ
หรือหมายเลขของผู้รับ เป็นต้น

 ยังมีส่วนหลักอื่นๆ
อีกหลายส่วนของเมนูข้อความที่มีให้ใช้งาน
เช่น ถาดเข้าซึ่งเก็บข้อความที่ถูกส่งเข้ามา,
โฟลเดอร์ส่วนตัวซึ่งเก็บตัวอย่างข้อความเอาไว้,
ฉบับร่างซึ่งเก็บข้อความที่ยังสร้างไม่เสร็จเอาไว้,
ถาดออกซึ่งเก็บข้อความที่ส่งเรียบร้อยแล้วเอาไว้
และรายงานซึ่งเก็บบันทึกรายงานสถานะต่างๆ
ของการรับส่งข้อความ
 รูปแบบของข้อความที่ชนิดหนึ่งที่นิยมใช้งานกันก็คือข้อความมัลติมีเดีย
หรือที่เรียกกันว่า MMS ซึ่งใน Nokia N93
ก็มีฟังก์ชันใช้งานพื้นฐานให้เลือกใช้ครบถ้วนทั้งการ
เพิ่มผู้รับ, สร้างการนำเสนอ, ใส่รูปภาพ,
ใส่คลิปเสียง, ใส่วีดีโอคลิป, ใส่ตัวอย่างข้อความ
และผู้ใช้สามารถตั้งค่าใช้งานของข้อความมัลติมีเดียได้
เช่น การเลือกรับรายงาน, อายุข้อความ หรือการแสดงข้อมูลเฉพาะของข้อความมัลติมีเดีย

 นอกจากข้อความตัวอักษร
และข้อความัลติมีเดียแล้ว N93 ยังรองรับการรับ-ส่งข้อความแบบอีเมลได้ด้วย
โดยรองรับประเภทศูนย์ฝากข้อความแบบ IMAP4
และ POP3 ซึ่งก่อนที่จะใช้งานได้นั้นผู้ใช้จะต้องทำการระบุข้อมูลบางอย่างสำหรับการใช้งานให้เรียบร้อยเสียก่อน
เช่น ที่อยู่อีเมล, เซิร์ฟเวอร์รับอีเมล,
จุดเชื่อมต่อที่ใช้ หรือชื่อของศูนย์ฝากข้อความ
เป็นต้น



นอกจากจะสามารถปรับแต่งค่าใช้งานสำหรับข้อความตัวอักษร
และข้อความมัลติมีเดียได้แล้ว ยังสามารถปรับแต่งค่าใช้งานได้อีกหลายอย่าง
เช่น อีเมล, ข้อความบริการ, ข้อความจากระบบ,
จำนวนของข้อความที่บันทึก หรือการเลือกประเภทของหน่วยความจำสำหรับการบันทึกข้อความ
เป็นต้น ซึ่งสำหรับประเภทของหน่วยความจำที่สามารถเลือกได้จะมีอยู่
2 ประเภทคือ หน่วยความจำภายในของโทรศัพท์
และการ์ดหน่วยความจำ
เมนูรายชื่อ
เมนูรายชื่อ คือเมนูที่รวบรวมฟังก์ชันการทำงาน
หรือการจัดการต่างๆ ที่เกี่ยวกับรายชื่อเอาไว้
เช่น การค้นหารายชื่อ, การเพิ่มรายชื่อ, การเพิ่มกลุ่มผู้โทร,
การแก้ไขรายชื่อ, การเพิ่มรายละเอียดของรายชื่อ,
การคัดลอกรายชื่อ, การซิงโครไนซ์ หรือการพิมพ์
เป็นต้น
ฟังก์ชันพื้นฐานของการจัดการกับรายชื่อมีมาให้อย่างครบถ้วน
ทั้งการค้นหารายชื่อ, การโทรสายสนทนา, สร้างการโทร
1 ต่อ 1, สร้างการโทรกลุ่ม, ส่งคำขอโทรกลับ,
แสดงข้อมูลของรายชื่อ หรือเลือกรูปแบบของการแสดงรายชื่อ
เป็นต้น และยังสามารถเลือกโทรแบบสายวีดีโอได้ด้วย
แต่อย่างไรก็ตามระบบเครือข่ายในประเทศไทยยังไม่สามารถรองรับการใช้งานฟังก์ชันนี้ได้
 ผู้ใช้สามารถกำหนดรูปแบบของการแสดงผลรายชื่อได้ด้วย เช่นการ
แสดงนามสกุลก่อนชื่อ หรือแสดงชื่อก่อนนามสกุล
 การสร้างรายชื่อใหม่
หากใครได้เคยใช้ Symbian Smartphone ของ Nokia
มาก่อนก็คงจะคุ้นเคยกันดี ซึ่งแต่ละรายชื่อจะสามารถใส่รายละเอียดปลีกย่อยได้มากมาย
ซึ่งได้แก่ คำนำหน้า, ชื่อ, คำต่อท้าย, บริษัท,
ตำแหน่ง, ชื่อเล่น, มือถือ, มือถือ (บ้าน),
มือถือ (ที่ทำงาน), โทรศัพท์, โทรศัพท์ (บ้าน),
โทรศัพท์ (ที่ทำงาน), สายวีดีโอ, สายวีดีโอ
(บ้าน), สายวีดีโอ (ที่ทำงาน), โทรศัพท์มือเน็ต,
โทรศัพท์เน็ต (บ้าน), โทรศัพท์เน็ต (ที่ทำงาน),
สนทนา, มุมมองร่วม, SIP, แฟ็กซ์, แฟ็กซ์ (บ้าน),
แฟ็กซ์ (ที่ทำงาน), วิทยุติดตามตัว, อีเมล,
อีเมล (บ้าน), อีเมล (ที่ทำงาน), ที่อยู่เว็บ,
ที่อยู่เว็บ (บ้าน), ที่อยู่เว็บ (ที่ทำงาน),
ที่อยู่, ที่อยู่ (บ้าน), ที่อยู่ (ที่ทำงาน),
DTMF, วันเกิด และหมายเหตุ
การกำหนดกลุ่มของรายชื่อก็จะช่วยให้ผู้ใช้สามารถจัดหมวดหมู่ของผู้ติดต่อแต่ละกลุ่มได้ตามต้องการ
ซึ่งจะช่วยให้การใช้งานสะดวกมากขึ้น
 สำหรับการแสดงภาพของผู้โทร
หรือ Picture Caller ID นั้นก็สามารถแสดงได้เช่นเดียวกันเมื่อมีสายเข้า
หรือมีการโทรออก แต่คงจะไม่ถูกใจผู้ใช้เท่าไหร่นัก
เพราะภาพที่แสดงมีขนาดที่เล็กมาก ซึ่งหากผู้ใช้ที่ต้องการใช้รูปภาพแสดงขนาดใหญ่กว่านี้ก็คงจะต้องหาโปรแกรมมาติดตั้งเพิ่มเติมเอาเองในภายหลัง
เมนูปฏิทิน
เมนูปฏิทิน คือเมนูที่รวมรวมฟังก์ชันการทำงานต่างๆ
ที่เกี่ยวกับการปฏิทินหรือตารางนัดหมายเอาไว้
เช่นการสร้างบันทึกนัดหมายการประชุม, สร้างบันทึกช่วยจำ,
สร้างบันทึกวันครบรอบ หรือสร้างบันทึกสิ่งที่ต้องทำ
เป็นต้น
 ผู้ใช้สามารถเลือกมุมมองสำหรับแสดงรายละเอียดของปฏิทินได้หลายรูปแบบ
ทั้งการแสดงเป็นเดือน, แสดงเป็นสัปดาห์, แสดงเป็นวัน
หรือแสดงสิ่งที่ต้องทำ รวมถึงสามารถค้นหารายการที่บันทึกไว้จากวันที่ได้ด้วย
การสร้างรายการใหม่ของปฏิทิน
สามารถสร้างได้ 4 รูปแบบหลักคือ การประชุม,
บันทึก, วันครบรอบ และบันทึกสิ่งที่ต้องทำ
 การใช้งานปฏิทิน ผู้ใช้ก็สามารถปรับแต่งตั้งค่าสำหรับการใช้งานได้
เช่น เสียงปลุกปฏิทิน, มุมมอง, วันที่เริ่มสัปดาห์
หรือหัวเรื่องสัปดาห์ เป็นต้น
เมนูกล้อง
เมนูกล้อง คือเมนูที่รวบรวมฟังก์ชันการทำงานหรือการจัดการเกี่ยวกับการใช้งานกล้องดิจิตอลเอาไว้
และหากเทียบความหลายหลายของฟังก์ชันการทำงาน
หรือความสามารถกับโทรศัพท์มือถือรุ่นที่โดดเด่นเรื่องการถ่ายภาพรุ่นอื่นๆ
ก็ถือว่าสู้ได้อย่างสบาย เนื่องจาก N93 นี้เน้นความสามารถทางด้านการถ่ายภาพให้โดดเด่นมากเป็นพิเศษอยู่แล้ว

 หากเป็นการใช้งานเลนส์กล้องขนาดเล็กที่ด้านในฝาพับ
การแสดงผลของเมนูต่างๆ ขณะใช้งานกล้องก็จะเป็นแบบแนวตั้ง
ซึ่งสามารถใช้งานได้ทั้งการถ่ายภาพวีดีโอ
และภาพนิ่ง แต่ความละเอียด หรือฟังก์ชันการทำงานจะน้อยกว่าการใช้งานเลนส์กล้องตัวหลักที่ด้านข้างของตัวเครื่อง
หากเป็นการใช้งานเลนส์กล้องตัวหลักที่อยู่ด้านข้างของตัวเครื่อง
เมนูใช้งานก็จะปรับเปลี่ยนการแสดงผลให้เป็นแบบแนวนอนโดยอัตโนมัติ
ซึ่งการใช้งานก็จะใช้งานควบคู่กับปุ่ม Softkeys
2 ปุ่มที่ด้านบนของหน้าจอแสดงผลหลักที่ด้านใน
โดยที่หน้าจอหลักก็จะมีไอคอนแสดงสถานะของการทำงานอยู่หลายอย่าง
เช่น ไฟแฟลช, โหมดถ่ายภาพ, ขนาดของรูปภาพ
หรือจำนวนรูปภาพที่สามารถถ่ายได้ เป็นต้น

โหมดของการถ่ายภาพนิ่ง ผู้ใช้สามารถเลือกใช้ได้ทั้งหมด
6 โหมด ได้แก่ อัตโนมัติ, กำหนดเอง, โหมดระยะใกล้,
แนวนอน, กลางคืน และแนวตั้งกลางคืน ซึ่งในเบื้องต้นการปรับไปที่โหมดอัตโนมัติก็น่าจะเพียงพอต่อการถ่ายภาพทั่วๆ
ไปแล้ว แต่ถ้าหากต้องการถ่ายภาพแบบพิเศษก็คงต้องเลือกโหมดพิเศษอื่นๆ
ตามความเหมาะสมในแต่ละสถานการณ์
การปรับค่าสมดุลสีขาว หรือค่า White Balance
เพื่อให้ภาพที่ได้มีความเหมาะสมกับสภาพแสงของแต่ละสภาพแวดล้อม สามารถเลือกได้
5 รูปแบบ ได้แก่ อัตโนมัติ, แสงจ้า, เมฆหนา,
แสงไฟทังสเตน และแสงไฟนีออน
ผู้ใช้สามารถปรับค่า EV (Exposure Value)
เพื่อถ่ายภาพในสภาพแวดล้อมที่มีแสงสว่างน้อย
หรือมีแสงสว่างมากได้ตามความต้องการ โดยสามารถปรับค่า
EV ได้ตั้งแต่ +2.0 (สว่างที่สุด) ถึง
-2.0 (มืดที่สุด)
หากผู้ใช้ต้องการปรับโทนสีเพื่อการถ่ายรูปภาพในรูปแบบที่หลากหลายมากขึ้น
ก็สามารถเลือกโทนสีได้ทั้งหมด 4 รูปแบบคือ
ปกติ, ซีเปีย, ขาวดำ และเนกาทีฟ
 หากผู้ใช้เลือกการใช้งานถ่ายภาพต่อเนื่อง
ก็จะมีไอคอนแสดงสถานะของการถ่ายภาพต่อเนื่องแสดงให้เห็นที่ด้านบนของจอภาพ
ผู้ใช้สามารถตั้งเวลาถ่ายภาพล่วงหน้าได้
3 ระดับคือ 2, 10 และ 20 วินาที ซึ่งเมื่อทำการตั้งเวลาถ่ายภาพล่วงหน้าไว้
ก็จะมีไอคอนแสดงสถานะของการตั้งเวลาให้เห็นที่ด้านบนของจอภาพ

 คุณภาพ
และขนาดของรูปภาพ สามารถปรับได้ 4 ระดับ
ตามความเหมาะสม ได้แก่ ระดับ 3 ล้านพิกเซล,
2 ล้านพิกเซล, 1.3 ล้านพิกเซล และ 0.3 ล้านพิกเซล
 ผู้ใช้สามารถเลือกปิด
หรือเปิดการซูมภาพแบบขยายได้ ซึ่งหากเป็นการเปิดใช้งาน
ก็จะเลือกการซูมแบบขยายได้ 2 รูปแบบคือ แบบต่อเนื่อง
และแบบหยุดชั่วคราว โดยหากผู้ใช้เลือกเปิดการซูมแบบขยาย
ก็จะสามารถซูมได้ถึง 20 เท่าเลยทีเดียว แต่อย่างไรก็ตามก็เป็นการซูมแบบ
Digital Zoom ซึ่งเป็นการซูมที่มีคุณภาพน้อยกว่าการซูมโดยใช้เลนส์อย่างมาก
สามารถเลือกเสียงของชัตเตอร์ขณะถ่ายภาพได้ทั้งหมด
4 เสียง
 แถบสีแสดงระดับของการซูมภาพ
จะแตกต่างกัน ระหว่างปิดการซูมแบบขยายดังรูปด้านซ้าย
และเปิดการซูมแบบขยายดังรูปด้านขวา
เมื่อเลือกสลับโหมดการถ่ายมาเป็นการถ่ายภาพวีดีโอ
การแสดงผลของหน้าจอหลักก็จะเปลี่ยนแปลงไปจากการถ่ายภาพนิ่งบ้าง
โดยเฉพาะไอคอนแสดงสถานะการทำงานต่างๆ ที่จะเปลี่ยนไปเป็นการแสดงสถานะของการถ่ายภาพวีดีโอ
 โหมดหลักสำหรับการถ่ายภาพวีดีโอมีให้เลือกเพียง
2 โหมดคือ โหมดอัตโนมัติ และโหมดกลางคืน
การปรับค่าสมดุลสีขาว หรือค่า White Balance
เพื่อให้ภาพที่ได้มีความเหมาะสมกับสภาพแสงของแต่ละสภาพแวดล้อม จะเหมือนกันกับการถ่ายภาพนิ่ง คือสามารถเลือกได้ 5
รูปแบบ ได้แก่ อัตโนมัติ, แสงจ้า, เมฆหนา, แสงไฟทังสเตน และแสงไฟนีออน
การปรับโทนสีเพื่อการถ่ายภาพวีดีโอ
ก็สามารถเลือกโทนสีได้ทั้งหมด 4 รูปแบบเช่นเดียวกันกับการถ่ายภาพนิ่ง คือ ปกติ, ซีเปีย, ขาวดำ และเนกาทีฟ

 คุณภาพ และขนาดของภาพวีดีโอ สามารถปรับได้ 5 ระดับ ตามความเหมาะสม ได้แก่ ทีวี
(สูง), ทีวี (ปกติ), โทรศัพท์ (สูง), โทรศัพท์
(ปกติ) และระดับการแบ่งใช้สำหรับข้อความแบบ
MMS นั่นเอง
เมนูคลังภาพ
เมนูคลังภาพ คือเมนูที่รวบรวมฟังก์ชันสำหรับเปิดดูและจัดการกับไฟล์มัลติมีเดียประเภทต่างๆ
ได้แก่ ภาพและวีดีโอ, แทร็ค, คลิปเสียง, ลิงค์การสตรีม,
การนำเสนอ รวมถึงสามารถเลือกแสดงไฟล์ทุกประเภทได้ด้วยเช่นกัน


การเปิดดูรูปภาพหรือวีดีโอจะเป็นลักษณะของอัลบั้มรูปภาพย่อยที่หมุนได้รอบ
ซึ่งจากการทดสอบก็สามารถทำงานได้ค่อนข้างรวดเร็วดี
ไม่หน่วงมากนัก ยกเว้นหากเป็นไฟล์รูปภาพที่ใหญ่จริงๆ
ก็อาจจะใช้เวลาในการแสดงนานสักหน่อย นอกจากนั้นก็ยังมีฟังก์ชันพื้นฐานสำหรับการจัดการภาพและวีดีโอต่างๆ
ไว้ให้ เช่น การขยาย, การแสดงสไลด์โชว์, การแสดงรายละเอียดของไฟล์,
การแสดงแบบเต็มจอ, การสั่งพิมพ์, การส่ง หรือการตกแต่งแก้ไขรูปภาพด้วยเครื่องมือต่างๆ
เป็นต้น


 โปรแกรมสำหรับการเปิดเล่นแทร็คเพลงมีหน้าตาที่เรียบง่าย
แต่ก็มีฟังก์ชันพื้นฐานสำหรับการฟังเพลงมาให้ค่อนข้างครบถ้วน
เช่น การเล่นสุ่ม, การเล่นซ้ำ, การปรับอีควอไลเซอร์ได้หลายรูปแบบ
(ค่าที่ตั้งไว้, Acoustic, ขยายเสียงเบส,
Hip Hop, ป็อป, R&B และ ร็อค), การสร้างรายการแทร็ค,
การตั้งเป็นเสียงเรียกเข้า, การจัดเรียงลำดับการแสดงผลตามศิลปิน
หัวเรื่อง ประเภท ผู้เรียบเรียง วันที่ หรือขนาด
และการแสดงรายละเอียดของไฟล์นั้น รวมถึงยังสามารถเล่นเพลงขณะที่เปิดใช้งานโปรแกรมอื่นได้ด้วย
 นอกจากหมวดของภาพและวีดีโอ
และแทร็คแล้ว ยังมีหมวดอื่นๆ ภายในเมนูคลังภาพอีกหลายหมวด
ได้แก่ คลิปเสียง, ลิงค์การสตรีม, การนำเสนอ
และไฟล์ทั้งหมด
เมนูเครื่องเล่น

โปรแกรมเครื่องเล่นเพลงใน
N93 นั้นมีลักษณะหน้าตาที่ดูเรียบง่าย ฟังก์ชันการทำงานพื้นฐาน
หรือการควบคุมการเล่นเพลงก็มีมาให้พอสมควร
เช่นการบุ๊คมาร์ค, ดูรายการแทร็คทั้งหมด,
ดูรายการเพลงตามชื่อศิลปิน, ดูรายการเพลงตามอัลบั้ม,
ดูรายการแทร็คแยกตามประเภทของเพลง หรือการจัดการกับรายการแทร็ค
เป็นต้น
เมนูนาฬิกา
เมนูนาฬิกา คือเมนูที่รวบรวมฟังก์ชันการกำหนดค่าเกี่ยวกับวันที่หรือเวลาเอาไว้
เช่น การตั้งค่าเวลา, การตั้งเขตเวลา, การตั้งวันที่,
การตั้งนาฬิกาปลุก, การตั้งรูปแบบเวลา หรือการตั้งรูปแบบวันที่เป็นต้น
 ผู้ใช้สามารถตั้งเวลาสำหรับนาฬิกาปลุกได้ซึ่งถือว่าเป็นฟังก์ชันพื้นฐานของโทรศัพท์มือถือทั่วไปอยู่แล้ว
ผู้ใช้สามารถตั้งค่าเวลา,
เลือกเมืองหรือภูมิภาค และสามารถตั้งค่าวันที่ได้ตามปกติ
เช่นเดียวกันกับโทรศัพท์มือถือทั่วไป
ผู้ใช้สามารถปรับเปลี่ยนรูปแบบในการแสดงผลของวันที่
ทั้ง วัน-เดือน-ปี, เดือน-วัน-ปี, ปี-เดือน-วัน และตัวแบ่งวันได้
หากไม่ต้องการให้แสดงนาฬิกาแบบเข็มที่หน้าจอ
Standby ก็สามารถเลือกให้แสดงนาฬิกาแบบดิจิตอลได้
 นอกจากเวลาหลักที่ผู้ใช้ใช้อยู่เป็นประจำแล้ว
ก็ยังสามารถเลือกเปรียบเทียบแสดงเวลากับเมืองหรือประเทศต่างๆ
ทั่วโลกได้อีกด้วย ซึ่งในที่นี้มีเมืองหรือประเทศให้เลือกมากมาย
โดยเฉพาะเมืองหรือประเทศที่สำคัญทั่วโลก
เมนูบริการ
เมนูบริการ คือเมนูที่รวบรวมฟังก์ชันหรือการจัดการเกี่ยวกับการเรียกใช้บริการออนไลน์ต่างๆ
จากผู้ให้บริการเครือข่ายที่ผู้ใช้ใช้อยู่ขณะนั้น
โดยรูปแบบของการเรียกใช้บริการก็จะมีลักษณะที่คล้ายกันกับการเรียกดูเว็บไซต์หรือแว็พไซต์ผ่านทางโปรแกรมเบราเซอร์นั่นเอง
 โปรแกรมเบราเซอร์ที่ใช้ก็คือ
MobileBrowser เวอร์ชัน 3.0 (0550) ซึ่งจะว่าไปแล้วเมนูบริการก็คล้ายกันกับการเปิดดูเว็บไซต์หรือแว็พไซต์นั่นเอง
โดยมีทั้งการจัดการบุ๊คมาร์ค, การไปยังที่อยู่เว็บ,
การเปิดหน้าค้นหา, การลบคุ้กกี้, หน้าที่บันทึกไว้ และการล้างความจำแคช ์เพียงแต่ในเมนูบริการนี้จะเน้นไปที่การใช้เชื่อมต่อใช้บริการจากผู้ให้บริการเครือข่ายเสียมากกว่า

 สำหรับการตั้งค่าการใช้งานก็เหมือนกันกับการตั้งค่าการใช้งานเว็บนั่นเอง
ซึ่งก็ได้แก่ จุดเชื่อมต่อ, โฮมเพจ, โหลดภาพและเสียง,
ขนาดแบบอักษร, การเข้ารหัสที่ตั้งไว้, บุ๊คมาร์คอัตโนมัติ,
ขนาดจอภาพ, หน้าค้นหา, ความดัง, การแสดงผล,
คุกกี้, Java/ECMA สคริป, แจ้งเตือนความปลอดภัย
และการส่งค่า DTMF
เมนูส่วนตัว
เมนูส่วนตัว คือเมนูที่รวบรวมโปรแกรมใช้งานเพิ่มเติมที่เกี่ยวกับผู้ใช้เอาไว้
เช่น บันทึก, บทแนะนำ, แคตตาล็อก, Radio,
RealPlayer, Lifeblog, ภาพยนตร์ หรือตัวเล่น
Flash เป็นต้น รวมถึงโปรแกรมที่ผู้ใช้ทำการติดตั้งเพิ่มเติมด้วยตนเองในภายหลังอีกด้วย
ในเมนูบันทึก
หลักๆ มีอยู่ด้วยกัน 3 หมวดคือ เบอร์โทรล่าสุด,
เวลาการโทร และข้อมูลแพคเก็ต ซึ่งสำหรับเบอร์โทรล่าสุดจะแบ่งเป็นหมวดย่อยอีก
3 หมวดก็คือ เบอร์ที่ไม่ได้รับสาย, เบอร์ที่รับสาย
และเบอร์ที่โทรออก โดยมีข้อมูลพื้นฐานแสดงให้เห็นเช่น
หมายเลข, วัน และเวลา ของการโทรนั้น
สำหรับระยะเวลาที่ใช้ไปในการโทรก็มีเก็บบันทึกเอาไว้เช่นกัน
โดยแบ่งเป็นเวลาที่โทรครั้งล่าสุด, เวลาของเบอร์ที่โทรออก,
เวลาของเบอร์ที่รับสาย และเวลารวมทั้งหมดของทุกสาย
นอกจากสามารถบันทึกประวัติเกี่ยวกับการโทรได้แล้ว
ก็ยังสามารถบันทึกประวัติของการใช้งานเชื่อมต่อกับระบบ
EDGE หรือ GPRS ได้ด้วย ตั้งแต่ ปริมาณข้อมูลที่ส่ง,
ปริมาณข้อมูลที่รับ และช่วงเวลาที่เชื่อมต่อ
รวมถึงยังสามารถตั้งค่าได้ว่าจะให้เก็บบันทึกประวัติเก่าเอาไว้กี่วันได้อีกด้วย
โดยเลือกได้ตั้งแต่ ไม่มีมีบันทึก, 1 วัน,
10 วัน และ 30 วัน
 ในเมนูบันทึกนี้ก็ยังสามารถเลือกดูรายการบันทึกแบบรวมทุกประเภทได้
ไม่ว่าจะเป็นการบันทึกการโทร หรือการบันทึกการเชื่อมต่อข้อมูลแพคเก็ต
ซึ่งก็ช่วยให้สามารถดูภาพรวมได้ง่ายและรวดเร็วดีขึ้น
 โปรแกรมตัวแนะนำ
คือโปรแกรมที่รวบรวมไฟล์แนะนำพื้นฐานของการใช้งานในส่วนต่างๆ
ของเครื่อง Nokia N93 ซึ่งแบ่งเป็น เชื่อมต่อทีวี,
การจับภาพ, สร้าง DVD, การดู, ยินดีต้อนรับ,
การติดตั้ง, การเชื่อมต่อ, WLAN และอินเตอร์เฟซ
 โปรแกรมแคตตาล็อก
คือโปรแกรมที่มีลักษณะของแคตตาล็อกที่รวบรวมเอาแอปพลิเคชั่นต่างๆ
ไว้ให้ผู้ใช้ดาวน์โหลด ซึ่งอาจจะมีทั้งแอปพลิเคชั่นที่สามารถดาวน์โหลดมาใช้งานได้ฟรี
และแอปพลิเคชั่นที่ดาวน์โหลดมาเพื่อทดลองใช้งาน
 ในโปรแกรม
Radio หรือ Visual Radio ก็คือโปรแกรมสำหรับใช้ฟังวิทยุนั่นเอง
ซึ่งสามารถรับฟังได้ทั้งจากคลื่นสัญญาณวิทยุโดยตรงแบบ
FM Stereo หรือจากระบบ Visual Radio หรือการรับฟังผ่านทางการรับส่งข้อมูลจากเครือข่าย
ซึ่งวิธีหลังในปัจจุบันนี้ยังใช้งานได้ไม่สมบูรณ์นัก
ถือว่ายังอยู่ในขั้นทดลองเสียมากกว่า แต่ก็สามารถนำข้อมูลของสถานีมาตั้งเป็นสถานีส่วนตัวได้ โดยฟังก์ชันสำหรับการฟังวิทยุ
FM Stereo นั้นก็เป็นเพียงฟังก์ชันพื้นฐานทั่วไปที่มีอยู่ในโทรศัพท์มือถือ
Nokia ที่รองรับการฟังวิทยุ FM Stereo อีกหลายๆ
รุ่น ไม่ว่าจะเป็นการ ค้นหาสถานีอัตโนมัติ,
การบันทึกสถานีวิทยุได้ 20 สถานี, การตั้งค่าความถี่แบบทศนิยม
2 หลัก หรือการเลือกให้เสียงออกมาทางลำโพง
Loudspeaker เป็นต้น
 โปรแกรม
RealPlayer คือโปรแกรมที่เอาไว้สำหรับเปิดไฟล์คลิปวีดีโอ
หรือเปิดดูรายการวีดีโอแบบ Streaming ซึ่งผู้ใช้สามารถตั้งค่าการเล่นวีดีโอ
หรือตั้งค่าการเชื่อมต่อได้ เช่น การเล่นซ้ำ,
พร็อกซี่ หรือเครือข่าย เป็นต้น
 โปรแกรม
Lifeblog คือโปรแกรมที่ช่วยให้ผู้ใช้สามารถเชื่อมต่อแลกเปลี่ยนข้อมูลของไฟล์มัลติมีเดียประเภทต่างๆ
ระหว่างโทรศัพท์มือถือ กับเครื่องคอมพิวเตอร์ได้
ไม่ว่าจะเป็นรูปภาพ, ข้อความมัลติมีเดีย,
ข้อความตัวอักษร, วีดีโอ, ข้อความบันทึก,
เสียง และ Blog Posts โดยที่ผู้ใช้สามารถเปิดดู,
ค้นหา, แก้ไข และแชร์ไฟล์เหล่านี้ให้คนอื่นเปิดดูได้ ซึ่งในขณะนี้โปรแกรม
Liftblog ออกแบบและพัฒนามาสำหรับใช้งานในโทรศัพท์มือถือ
Smartphone Series 60 โดยเฉพาะ
 โปรแกรมภาพยนตร์
เป็นโปรแกรมที่ใช้สำหรับสร้างหรือตัดต่อไฟล์วีดีโอจากไฟล์วีดีโอ,
รูปภาพ, รูปแบบ หรือเสียงดนตรี ซึ่งเรียกว่า
muvee และผู้ใช้สามารถสร้าง muvee แบบด่วนจากรูปแบบที่มีมาให้แล้วได้
ได้แก่ ขึ้นกล้อง, คลับย้อนยุค, งดงาม, ฉากหนัง,
แดดออก, ตากล้องขาป่วน, ม้าหมุน, เร้าใจ,
เวลาปาร์ตี้ และสีสันจี๊ดจ๊าด
 เกมส์ที่มีมาให้ในเครื่อง
N93 นั้นมีอยู่ 2 เกมส์คือ เกม Snakes ซึ่งเป็นเกมงูแบบ
3 มิติ ที่หลายคนคงคุ้นเคยกันดี และอีกเกมหนึ่งก็คือเกม
Card Deck ซึ่งเป็นเกมไพ่ที่มีให้เลือกเล่นหลายรูปแบบเช่น
AcesUp, Golf, Klondike, Nestor หรือ Shifting
เป็นต้น
 โปรแกรมตัวเล่น
Flash หรือ Macromedia Flash Lite คือโปรแกรมที่เอาไว้สำหรับเปิดดูไฟล์
Flash Animation ที่สร้างมาสำหรับเปิดดูในอุปกรณ์เคลื่อนที่
หรืออุปกรณ์พกพาขนาดเล็กอย่างเช่นโทรศัพท์มือถือ
เป็นต้น
เมนูเชื่อมต่อ
เมนูเชื่อมต่อ คือเมนูที่รวมรวมฟังก์ชันการทำงาน
หรือการปรับตั้งค่าเกี่ยวกับการเชื่อมต่อข้อมูลในรูปแบบต่างๆ
เอาไว้ ตั้งแต่ เครือข่ายโฮม, Bluetooth, สาย USB Data Cable,
อินฟราเรด, ซิงค์, ตัวเชื่อมต่อ, ตัวจัดการอุปกรณ์,
การสนทนา และโมเด็ม
 ฟังก์ชันเครือข่ายโฮม
เป็นฟังก์ชันใหม่อีกฟังก์ชันหนึ่งที่ถูกเพิ่มเข้ามาให้อยู่ใน
N93 ซึ่งน่าจะเป็นฟังก์ชันที่มีไว้สำหรับแชร์ไฟล์รูปภาพ,
ไฟล์วีดีโอ หรือไฟล์เพลง ระหว่างเครื่องที่อยู่ภายในบ้าน
หรือภายในสถานที่เดียวกันนั่นเอง
การกำหนดค่าใช้งานการเชื่อมต่อผ่านทาง
Bluetooth ก็มีลักษณะที่คล้ายคลึงกันกับที่มีอยู่ในโทรศัพท์มือถือจากค่าย
Nokia อีกหลายรุ่น โดยมีตั้งแต่ การเลือกเปิดปิด
Bluetooth, การกำหนดการมองเห็นของโทรศัพท์,
การกำหนดชื่อของโทรศัพท์, การจับคู่กับอุปกรณ์ข้างเคียง,
การตั้งเป็นผ่านการอนุญาต หรือการลบอุปกรณ์ที่เชื่อมต่อ
เป็นต้น
การเชื่อมต่อผ่านทางสาย USB Data Cable
ก็มีการปรับตั้งค่าใช้งานด้วยเช่นกัน โดยที่ผู้ใช้สามารถเลือกโหมดการใช้งานของสาย
USB Data Cable ได้ 4 โหมด คือ ถามเมื่อเชื่อมต่อ,
PC Suite, การถ่ายโอนข้อมูล และ IP passthrough
หากผู้ใช้ต้องการที่จะเปิดใช้งานเชื่อมต่อข้อมูลผ่านทาง
Infrared Port ก็ให้เลือกที่ไอคอนอินฟราเรด
เมื่อเลือกแล้วก็จะมีการแจ้งเตือนว่าได้ใช้งานอินฟราเรดแล้ว
และสังเกตได้ว่าจะมีสัญลักษณ์ของการเชื่อมต่อข้อมูลผ่าน
Infrared Port ปรากฏอยู่บนมุมขวาบนของหน้าจอดังรูป
โปรแกรมซิงค์
ก็เป็นอีกโปรแกรมหนึ่งที่มักจะถูกเรียกใช้อยู่เป็นประจำ
โดยประโยชน์ของโปรแกรมนี้ก็คือช่วยให้ผู้ใช้สามารถเชื่อมต่อแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างโทรศัพท์มือถือกับอุปกรณ์ข้างเคียงได้นั่นเอง
อาจะเหมือนกับการสำรองหรือคัดลอกข้อมูลเอาไว้อีกที่หนึ่ง โดยข้อมูลที่สามารถซิงค์ได้นั้นก็เช่น
รายชื่อ, ปฏิทิน, บันทึกช่วยจำ หรือ Lifeblog เป็นต้น
โดยการใช้งานผู้ใช้ก็จะต้องทำการกำหนดรูปแบบของการซิงค์ขึ้นมาก่อน
รวมถึงการตั้งค่าต่างๆ เช่นชื่อรูปแบบการซิงค์,
แอฟพลิเคชั่น, เวอร์ชันของเซิร์ฟเวอร์, ID
ของเซิร์ฟเวอร์ หรือบริการเสริม เป็นต้น
ความสามารถที่โดดเด่นในการเชื่อมต่อข้อมูลอีกอย่างของ
N93 ก็คือการเชื่อมต่อข้อมูลผ่านทางระบบเครือข่ายไร้สาย
หรือ WLAN นั่นเอง ซึ่งใน N93 ก็มีโปรแกรมสำหรับจัดการการเชื่อมต่อ
WLAN เอาไว้ให้ เช่นรายการของการเชื่อมต่อ
WLAN ที่ผู้ใช้กำลังใช้อยู่, เครือข่าย
WLAN ที่สามารถใช้ได้ในขณะนั้น หรือรายละเอียดของแต่ละเครือข่าย
เป็นต้น ซึ่งหากมีเครือข่าย
WLAN ใดที่อยู่ใกล้เคียงและสามารถเชื่อมต่อได้
ก็จะปรากฏขึ้นเป็นรายการในหน้าของระบบเครือข่าย
WLAN ที่ใช้ได้ รวมถึงมีไอคอนรูปสี่เหลี่ยมที่มุมบนขวาเตือนให้ผู้ใช้ทราบอีกด้วย
ตัวจัดการอุปกรณ์สำหรับการเชื่อมต่อ จะมีการแสดงรายการเซิร์ฟเวอร์ที่เชื่อมต่อ
และการตั้งค่ารูปแบบของเซิร์ฟเวอร์นั้น เช่นชื่อของเซิร์ฟเวอร์,
ID ของเซิร์ฟเวอร์ หรือรหัสผ่านของเซิร์ฟเวอร์
เป็นต้น

โปรแกรมการสนทนาก็คือการใช้งานสนทนาแบบ
Push-to-Talk นั่นเอง ซึ่งระบบเครือข่ายในบ้านเราในขณะนี้ก็ยังไม่สามารถใช้งาน
Push-to-Talk ได้อย่างสมบูรณ์ โดยการใช้งาน
Push-to-Talk นั้นก็มีส่วนที่ให้ผู้ใช้กำหนดสำหรับการใช้งานอยู่หลายอย่าง
เช่น การเปิดการสนทนา, การแสดงรายชื่อสนทนา,
การตั้งค่าผู้ใช้ หรือการตั้งค่าการเชื่อมต่อ
เป็นต้น
 หากผู้ใช้ต้องการเชื่อมต่อใช้งานให้ N93
ทำหน้าที่เป็นโมเด็ม ก็ให้เลือกไปที่เมนูเชื่อมต่อทางอินฟราเรด
หลังจากการเครื่องก็จะทำการเชื่อมต่อข้อมูลผ่านทางอินฟราเรด
หากสำเร็จหรือไม่มีข้อผิดพลาดใดๆ ก็จะสามารถใช้งานเครื่อง
N93 เป็นโมเด็มได้ต่อไป
เมนูออฟฟิศ
เมนูออฟฟิศ คือเมนูที่รวบรวมโปรแกรมใช้งานที่เป็นประโยชน์ที่ผู้ใช้มักจะได้ใช้ในชีวิตประจำวันอยู่เสมอ
ซึ่งได้แก่ บันทึกเสียง, โปรแกรมแปลงหน่วย,
เครื่องคิดเลข, สมุดบันทึก, เว็บ, Quickoffice,
Adobe PDF, ZipManager, บาร์โค้ด และ CardReader
โปรแกรมเครื่องบันทึกเสียงที่มีอยู่ใน
N93 นี้ น่าเสียดายที่ยังสามารถบันทึกเสียงได้นานสูงสุดเพียง
1 นาที และมีเพียงฟังก์ชันการทำงานพื้นฐานเท่านั้น ดังนั้นก็เป็นอีกครั้งที่หากผู้ใช้ต้องการที่จะบันทึกเสียงได้นานไม่จำกัดเวลา
และมีฟังก์ชันการทำงานหลากหลายกว่านี้ ก็คงจะต้องไปสรรหาโปรแกรมบันทึกเสียงมาติดตั้งกันเองในภายหลังด้วยเช่นกัน
โปรแกรมตัวแปลง เป็นโปรแกรมที่เอาไว้สำหรับแปลงค่าในหน่วยต่างๆ
ซึ่งก็มีการแปลงค่าอยู่หลากหลายประเภทด้วยกัน
ไม่ว่าจะเป็น สกุลเงิน, พื้นที่, พลังงาน,
ความยาว, มวล, กำลังไฟฟ้า, ความดัน, อุณหภูมิ,
เวลา, ความเร็ว และปริมาตร
 โปรแกรมสมุดบันทึก
ที่มีอยู่นี้มีหน้าตาที่ค่อนข้างเรียบง่าย
ไม่มีอะไรซับซ้อน ซึ่งดูไปแล้วก็มีฟังก์ชันการทำงานหลายอย่างที่คล้ายกันกับการพิมพ์ข้อความตัวอักษรนั่นเอง
 โปรแกรมเว็บเบราเซอร์ คือโปรแกรมสำหรับเปิดดูเว็บไซต์ต่างๆ
พร้อมทั้งมีฟังก์ชันการทำงานพื้นฐานต่างๆ
สำหรับการเปิดดูเว็บไซต์ให้เลือกใช้ด้วย เช่น
ประวัติของหน้าเว็บเพจที่เข้าชมล่าสุด, กรอบขนาดเล็กสำหรับการเลื่อนดูหน้าเว็บเพจที่มีขนาดใหญ่,
การบุ๊คมาร์ค, การลบคุ้กกี้, การล้างความจำแคช
หรือการตั้งค่าการใช้งานต่างๆ เกี่ยวกับเว็บ
เป็นต้น
การเปิดดูหน้าเว็บเพจที่มีขนาดใหญ่ หากเลื่อนดูแบบปกติไปเรื่อยๆ
ก็คงจะรู้ได้ยากว่าขณะนั้นกำลังอยู่ในส่วนใดของหน้าเว็บเพจ
ดังนั้นโปรแกรมเบราเซอร์ตัวนี้จึงมีกรอบขนาดเล็กซึ่งย่อหน้าเว็บเพจลงมาให้เล็กลง
ทำให้สามารถมองภาพรวมของหน้าเว็บเพจได้ง่ายขึ้นมาก
หากผู้ใช้ต้องการเปิดดูหน้าเว็บเพจที่เคยเปิดผ่านมาก่อนหน้าปัจจุบัน
ก็สามารถเลือกเปิดดูได้ เนื่องจากจะมีการเก็บเป็นประวัติการเข้าชมเอาไว้
และสามารถเลือกดูได้ง่ายดังภาพ
อีกฟังก์ชันหนึ่งที่น่าสนใจคือ การแสดงภาพรวมหน้า
ซึ่งช่วยให้ผู้ใช้สามารถมองเห็นภาพรวมของหน้าเว็บเพจได้ทั้งหน้าในคราวเดียว
ทำให้สามารถเลือกได้ง่ายว่าต้องการที่จะเลื่อนไปดูข้อมูล ณ
ตำแหน่งใดในหน้าเว็บเพจนั้น
 โปรแกรมเบราเซอร์ที่มีนั้น
สามารถแสดงผลหน้าเว็บไซต์ทั่วไปได้คล้ายหรือเหมือนกันกับการเปิดดูในเครื่องคอมพิวเตอร์เลยทีเดียว
เนื่องจากเบราเซอร์สามารถรองรับการเปิดดูเว็บแบบ HTML ได้นั่นเอง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการแสดงผลของ
N93 นั้นสามารถปรับการการแสดงผลให้เป็นแบบแนวกว้างหรือแนวนอนได้
ทำให้การเปิดดูเว็บนั้นค่อนข้างมีประสิทธิภาพและดูสบายตามากเป็นพิเศษ
นอกจากนั้นหากผู้ใช้รู้สึกว่าการแสดงผลดูใหญ่หรือเล็กเกินไป
ก็สามารถทำการย่อหรือขยายหน้าเว็บเพจได้
รวมถึงสามารถเพิ่มหรือลดขนาดของตัวอักษรได้ด้วยเช่นกัน
 การเป็นการเปิดดูเว็บไซต์
การปรับการแสดงผลให้เป็นแบบแนวนอนน่าจะเหมาะสมมากกว่าการแสดงผลในแนวตั้ง
เนื่องจากหน้าเว็บเพจส่วนใหญ่มักจะมีการจัดวางเนื้อหาต่างๆ
ไว้ในแนวกว้างมากกว่า

 ฟังก์ชันพื้นฐานสำหรับเว็บเบราเซอร์นั้นก็มีมาให้ค่อนข้างครบถ้วน
ตั้งแต่ การไปยังที่อยู่เว็บ, รายการบุ๊คมาร์ค,
การจัดเก็บบุ๊คมาร์ค, บุ๊คมาร์คอัตโนมัติ,
การเปิดหน้าต่างใหม่, การไปยังโฮมเพจ, การลบคุ้กกี้,
การแสดงข้อมูลเว็บเบราเซอร์, เซสชั่น, ความปลอดภัย,
การค้นหา, ประวัติการเยี่ยมชมเว็บ หรือการโหลดข้อมูลซ้ำ
เป็นต้น
 หากผู้ใช้ต้องการที่จะตั้งหรือปรับแต่งค่าการใช้งานเว็บเบราเซอร์
ก็สามารถทำได้ โดยเข้าไปที่เมนูการตั้งค่า
ซึ่งการตั้งค่าที่มีให้ก็ได้แก่ จุดเชื่อมต่อ,
หน้าโฮมเพจ, การโหลดภาพและเสียง, ขนาดของตัวอักษร,
การเข้ารหัสตัวอักษร, การบุ๊คมาร์คอัตโนมัติ,
ขนาดจอภาพ, หน้าค้นหา, การแสดงผล, แผนที่ย่อ,
รายการประวัติ, การยอมรับคุ้กกี้, Java/ECMA
สคริป, การแจ้งเตือนความปลอดภัย, การส่งค่า
DTMF และการปิดกั้นป๊อปอัพ
 โปรแกรม
Quickoffice คือโปรแกรมที่เอาไว้สำหรับเปิดดูไฟล์เอกสารแบบ
Word (.doc), PowerPoint (.ppt) และ
Excel (.xls) ซึ่งรองรับการเปิดดูไฟล์ของ
Microsoft Office เวอร์ชัน 97, 2000, XP และ
2003
 นอกจากจะมีโปรแกรม
Quickoffice สำหรับเปิดดูไฟล์เอกสาร Word,
Excel, หรือ PowerPoint แล้ว ใน N93 ยังมีโปรแกรม
Adobe Reader LE เวอร์ชัน 1.5 สำหรับใช้เปิดดูเอกสารประเภท
PDF ด้วย
 โปรแกรม
Zip Manager เวอร์ชัน 1.0 นี้เป็นโปรแกรมสำหรับจัดการกับไฟล์
Zip หรือไฟล์บีบอัด ทั้งการคลายไฟล์ Zip หรือการสร้างไฟล์
Zip ขึ้นมาใหม่ โดยสามารถเลือกระดับของการบีบอัดไฟล์ได้
5 ระดับคือ ไม่มี, เร็วพิเศษ, เร็ว, ปกติ
และสูงสุด
 โปรแกรมตัวอ่านบาร์โค้ด
เป็นโปรแกรมพิเศษที่น่าสนใจอย่างหนึ่งที่มีอยู่ใน
N93 ซึ่งเป็นการประยุกต์ใช้ประโยชน์จากกล้องดิจิตอล
โดยสามารถใช้กล้องดิจิตอลโฟกัสไปที่แถบบาร์โค้ดของสินค้าต่างๆ
โดยต้องปรับโหมดของกล้องให้เป็นโหมดถ่ายภาพระยะใกล้
(Macro) เสียก่อน จึงจะสามารถใช้งานได้ ซึ่งหากทุกอย่างเรียบร้อยดี
เครื่องก็จะสามารถถอดรหัสบาร์โค้ดออกมาเป็นข้อมูลต่างๆ
ให้ แต่เท่าที่ได้ทดสอบใช้งานก็พบว่ายังประมวลผลได้ไม่ค่อยทันใจเท่าใดนัก
หากใช้เป็นงานเป็นการคงจะไม่เหมาะ แต่ถ้าหากใช้เป็นบางครั้งบางคราวก็พอไหว
 โปรแกรม
CardReader ก็เป็นอีกโปรแกรมหนึ่งที่ได้นำเอาความสามารถของกล้องดิจิตอลมาประยุกต์ใช้ให้เป็นประโยชน์
โดยช่วยให้ผู้ใช้สามารถสแกนข้อมูลจากนามบัตรทั่วไปเพื่อมาเก็บบันทึกเอาไว้ในเครื่องได้
เช่น ชื่อ, หมายเลขโทรศัพท์, อีเมล หรือหมายเลขแฟกซ์
เป็นต้น
เมนูเครื่องมือ
เมนูเครื่องมือ คือเมนูที่รวบรวมฟังก์ชัน,
โปรแกรม, การจัดการ หรือการตั้งค่า ที่เกี่ยวกับการใช้งานเครื่องเอาไว้
ตั้งแต่ วิธีใช้, เสียง, ลักษณะ, รูปแบบ,
การตั้งค่า, สัญญาณออก, ตัวตั้งค่า, โทรด่วน,
คำสั่งเสียง,
ตัวจัดการ, ตัวจัดไฟล์, ถ่ายโอน, ความจำ,
สิทธิการใช้
และเกี่ยวกับ

 โปรแกรมวิธีใช้
เป็นเมนูที่รวบรวมเอกสารอธิบายหรือแนะนำวิธีการใช้งานฟังก์ชัน,
การตั้งค่า, การจัดการหรือการใช้งานโปรแกรม
ต่างๆ ทั้งหมดที่มีอยู่ในเครื่อง N93 ซึ่งถือว่าเป็นโปรแกรมที่มีประโยชน์ไม่น้อยสำหรับทั้งผู้ใช้มือใหม่
และมือเก่า
 การใช้งานศูนย์ข้อความเสียง เพื่อฝากข้อความเสียง
จะต้องมีการระบุหมายเลขของศูนย์ฝากให้เรียบร้อยเสียก่อนจึงจะสามารถใช้งานได้
 เช่นเดียวกันกับ Symbian Smartphone อีกหลายๆ
รุ่น ที่ผู้ใช้สามารถปรับเปลี่ยนรูปร่างหน้าตาของการแสดงผลในส่วนการใช้งานต่างๆ
ได้ ซึ่งเรียกกันทั่วไปว่า Themes นั่นเอง
ทำให้ผู้ใช้ไม่รู้สึกเบื่อเมื่อใช้งานไปนานๆ
โดยใน N93 นั้นมี Themes ให้เลือกใช้อยู่ด้วยกัน
7 แบบคือ ลักษณะ 1, Glass, Lights, Metal,
Motion, Stave และ Waveform ซึ่งจะมีลักษณะดังภาพ
และหากผู้ใช้ไม่ชอบ Themes ที่มีอยู่เดิมนี้ก็สามารถหาดาวน์โหลด
Themes แบบอื่นๆ มาติดตั้งเพิ่มเติมได้ตามใจชอบ
หรือหากขยันหน่อยก็อาจจะใช้โปรแกรมสร้าง Themes
ขึ้นมาใช้งานเองเลยก็ได้เช่นกัน นอกจากนั้นสำหรับโหมดประหยัดพลังงาน
ผู้ใช้สามารถเลือกได้ว่าจะให้แสดงเป็นวันที่และเวลา
หรือข้อความ
 รูปแบบหรือ
Profiles เป็นการกำหนดลักษณะการทำงานของเครื่องให้เหมาะสมกับการใช้งานของผู้ใช้ในแต่ละสถานการณ์
โดยใน N93 มี Profiles ให้เลือกใช้งานอยู่
6 แบบด้วยกัน คือ ทั่วไป, เงียบ, ประชุม,
นอกสถานที่, วิทยุติดตามตัว และออฟไลน์ ซึ่งแต่ละรูปแบบผู้ใช้สามารถปรับแต่งค่าการทำงานได้เองตามต้องการ
ไม่ว่าจะเป็น แบบเสียง, แบบเสียงสายวีดีโอ,
พูดชื่อผู้โทร, ชนิดเสียงเรียกเข้า, ระดับความดัง,
แบบเสียงเตือนข้อความ, แบบเสียงเตือนอีเมล,
เตือนแบบสั่น และเสียงปุ่มกด นอกจากนั้นหากผู้ใช้ต้องการที่จะสร้าง
Profiles ใหม่ขึ้นมาด้วยตนเอง ก็สามารถสร้างได้เช่นกัน
การตั้งค่าต่างๆ สำหรับการใช้งานเครื่อง
N93 ได้แบ่งออกเป็นหลายหมวดหมู่ ได้แก่ โทรศัพท์,
โทร, การเชื่อมต่อ, วันที่และเวลา, ความปลอดภัย,
โอนสาย, จำกัดการโทร, เครือข่าย และอุปกรณ์เพิ่มพิเศษ
การตั้งค่าทั่วไปของโทรศัพท์ จะประกอบไปด้วยการตั้งค่า
ภาษาในโทรศัพท์, ภาษาที่ใช้เขียน, ตัวช่วยสะกดคำ,
โลโก้หรือข้อความต้อนรับ, ตั้งค่าเดิมของเครื่อง
และปุ่มเสียง
การตั้งค่าโหมดพร้อมทำงาน
จะประกอบไปด้วย โหมดสแตนด์บายพิเศษ ซึ่งสามารถปรับเปลี่ยนเมนูลัดที่ต้องการได้,
การตั้งค่าเมนูสำหรับปุ่มเลือกทางซ้าย และการตั้งค่าเมนูสำหรับปุ่มเลือกทางขวา
การตั้งค่าใช้งานของจอภาพหลักที่ด้านในของตัวเครื่อง
มีอยู่ 3 หมวดหลักก็คือ การตั้งค่าตัวตรวจจับแสงซึ่งก็คือการปรับระดับความสว่างของหน้าจอนั่นเอง
ถัดมาเป็นการตั้งค่าการหมดเวลาประหยัดพลังงานซึ่งปรับได้ตั้งแต่
1 นาที ไปจนถึง 30 นาที และสุดท้ายคือการตั้งค่าเวลาแสงสว่างซึ่งปรับได้ตั้งแต่
5 วินาที ไปจนถึง 60 วินาที
 สำหรับการตั้งค่าใช้งานของจอภาพขนาดเล็กที่ด้านนอกของตัวเครื่อง
สามารถปรับตั้งค่าได้ดังนี้คือ ภาพพื้นหลัง,
ภาพเคลื่อนไหวการปิด, แบบเสียงการปิด, แบบเสียงการเปิด,
การรับสายหากเปิดฝา และตัวเลือกขณะปิดฝาพับ
 การตั้งค่าการโทรจะประกอบไปด้วย ส่ง ID
ผู้โทรเข้าของฉัน, สายเรียกซ้อน, ไม่รับสายด้วย
SMS, ตัวอักษรข้อความ, รูปภาพในสายวีดีโอ,
เรียกซ้ำอัตโนมัติ, สรุปหลังโทรออก, การโทรด่วน,
รับได้ทุกปุ่ม และรับสายหากเปิดฝา

 การตั้งค่าการเชื่อมต่อ นั้นก็มีอยู่หลายส่วน
ได้แก่ การแสดงและจัดการกับจุดเชื่อมต่อที่มีอยู่, กลุ่มของจุดเชื่อมต่อ,
การตั้งค่าข้อมูลแพคเก็ต, การตั้งค่าเวลาออนไลน์ของสายข้อมูล, การตั้งค่า VPN
และการตั้งค่าการใช้งาน WLAN
 การตั้งค่าวันและเวลานั้นมีลักษณะการตั้งค่าที่เหมือนกันกับการตั้งค่าในเมนูนาฬิกา
ซึ่งสามารถตั้งค่าได้ตั้งแต่ เวลา, เขตเวลา,
วันที่ และรูปแบบวันที่
 การตั้งค่าความปลอดภัย
แบ่งออกเป็น 4 หมวดหลัก คือ โทรศัพท์และซิม,
การจัดการใบรับรอง, ติดตามวัตถุที่มีการป้องกัน
และโมดูลการป้องกัน
 การตั้งค่าการโอนสาย
แบ่งออกเป็น 3 หมวดหลัก คือ สายสนทนา, สายข้อมูลและวีดีโอ
และสายแฟ็กซ์ ยกตัวอย่างเช่น หากเป็นการโอนสายสนทนา
ผู้ใช้ก็จะสามารถเลือกได้ว่าจะให้โอนสายในรูปแบบใด
โดยมีให้เลือกอยู่ 4 รูปแบบด้วยกัน คือ สายสนทนาทั้งหมด,
หากไม่ว่าง, หากไม่ตอบรับ และถ้าไม่พบ
การตั้งค่าการจำกัดการโทร ถูกแบ่งออกเป็น
5 ประเภทคือ สายโทรออก, สายต่างประเทศ, สายต่างประเทศ
ยกเว้นบ้านเกิด, สายเรียกเข้า และสายเรียกเข้าเมื่ออยู่ต่างประเทศ
การตั้งค่าเครือข่าย คือการตั้งค่าพื้นฐานของระบบเครือข่ายที่ใช้งานอยู่
หรือต้องการเลือกใช้งานนั่นเอง ซึ่งได้แก่การเลือกโหมดระบบ
ที่ประกอบไปด้วย โหมดคู่ และ GSM รวมถึงวิธีการของการเลือกระบบ
และการแสดงข้อมูลระบบ


สำหรับการตั้งค่าเสริม
จะประกอบไปด้วยการตั้งค่าชุดหูฟัง, เครื่องช่วยฟัง,
เท็กซ์โฟน, แฮนด์ฟรี Bluetooth และชุดติดรถยนต์
 ความสามารถพิเศษที่น่าสนใจอีกอย่างหนึ่งของ
N93 ก็คือการเชื่อมต่อแสดงผลผ่านทางหน้าจอโทรทัศน์
ซึ่งในการตั้งค่าใช้งาน สามารถเลือกระบบทีวีได้
2 ระบบคือ PAL และ NTSC นอกนั้นก็ยังสามารถตั้งค่าอัตราส่วนได้
2 อัตราส่วนคือ 4:3 และ 16:9
 โปรแกรมตัวช่วยตั้งค่า
เป็นโปรแกรมที่ช่วยให้การตั้งค่าอีเมล และผู้ให้บริการ
มีความสะดวกรวดเร็วมากยิ่งขึ้น ซึ่งมีประโยชน์สำหรับทั้งผู้ใช้มือใหม่และผู้ใช้มือเก่า
 ฟังก์ชันการโทรด่วนก็ถือเป็นอีกฟังก์ชันหนึ่งที่เป็นฟังก์ชันพื้นฐานที่อยู่ในโทรศัพท์มือถืออีกหลายๆ
รุ่น ซึ่งสำหรับ N93 ก็สามารถใช้งานโทรด่วนได้เช่นเดียวกัน
โดยสามารถกำหนดหมายเลขที่ต้องการโทรด่วนได้ทั้งหมด
8 หมายเลข ซึ่งก็คือปุ่มตัวเลข 2 ถึง 9 นั่นเอง
 ฟังก์ชันคำสั่งเสียง
ก็คือการสั่งงานด้วยเสียงพูดของผู้ใช้นั่นเอง
โดยการใช้งานก็คือให้ผู้ใช้พูดออกเสียง เครื่องก็จะนำผู้ใช้เข้าสู่เมนูหรือแอพพลิเคชันที่ต้องการได้อย่างรวดเร็ว
หากผู้ใช้ต้องการที่จะเปลี่ยน
Profiles ให้เป็นแบบทั่วไป ก็สามารถออกเสียงพูดเพื่อเปลี่ยนเป็น
Profiles แบบทั่วไปได้ทันที ซึ่งผู้ใช้สามารถพูดตามรูปแบบเสียงเดิมที่เครื่องมีมาให้
หรือจะเปลี่ยนเสียงใหม่ให้เป็นแบบที่ตนเองถนัดก็ได้เช่นเดียวกัน
 โปรแกรมตัวจัดการ
คือโปรแกรมที่มีไว้เพื่อจัดการกับการติดตั้ง
หรือถอนการตั้งแอพพลิเคชันต่างๆ ที่ผู้ใช้นำมาติดตั้งเพิ่มเติม
หรือเรียกง่ายๆ ก็คือโปรแกรมที่ผู้ใช้เอามาลงเพิ่มเติมในภายหลังนั่นเอง
 โปรแกรมตัวจัดการไฟล์
คือโปรแกรมที่มีไว้สำหรับเปิดดูไฟล์ที่เก็บบันทึกเอาไว้ในหน่วยความจำเครื่อง
หรือการ์ดหน่วยความจำ รวมถึงการตรวจสอบพื้นที่ของหน่วยความจำที่เหลือและที่ใช้ไปแล้วว่ามีจำนวนเท่าไหร่ อีกทั้งนอกจากจะเปิดดูไฟล์ได้แล้ว
ก็ยังสามารถจัดการกับไฟล์ได้ด้วย เช่น หากเป็นไฟล์รูปภาพก็จะสามารถ
ส่ง, แก้ไข, ตั้งเป็นภาพพื้นหลัง, เพิ่มในรายชื่อ,
หมุน หรือขยายได้ เป็นต้น
 ฟังก์ชันการถ่ายโอนข้อมูลคือฟังก์ชันที่เอาไว้สำหรับถ่ายโอน
หรือคัดลอกข้อมูลจากโทรศัพท์มือถืออีกเครื่องหนึ่ง
มาเก็บไว้ในเครื่อง N93 ซึ่งข้อมูลที่สามารถถ่ายโอนได้จะมีอยู่
3 ประเภทด้วยกันคือ รายชื่อ, รายการปฏิทิน
และไฟล์ในคลังภาพ โดยที่สามารถเลือกโอนข้อมูลผ่านทาง
Bluetooth หรือ Infrared Port ก็ได้ จึงนับว่าเป็นอีกฟังก์ชันหนึ่งที่มีประโยชน์มาก
เช่นหากผู้ใช้ต้องการคัดลอกรายชื่อจำนวนมากจากโทรศัพท์มือถืออีกเครื่องหนึ่ง
ก็สามารถทำได้อย่างรวดเร็วโดยที่ไม่ต้องมาเสียเวลาสร้างข้อมูลรายชื่อใหม่นั่นเอง
 เนื่องจาก
N93 สามารถใส่การ์ดหน่วยความจำแบบ miniSD
Card เพิ่มเติมได้ จึงจำเป็นที่จะต้องมีโปรแกรมสำหรับจัดการกับการ์ดหน่วยความจำเอาไว้ให้ผู้ใช้ได้ใช้
ซึ่งฟังก์ชันหลักที่มีก็ได้แก่ การนำการ์ดหน่วยความจำออก,
การสำรองความจำเครื่อง, การฟอร์แมตการ์ดหน่วยความจำ,
การตั้งชื่อการ์ดหน่วยความจำ, การตั้งรหัสผ่านของการ์ดหน่วยความจำ
หรือการแสดงข้อมูลของการหน่วยความจำ เป็นต้น

 ส่วนสุดท้ายสองส่วนที่อยู่ในในเมนูเครื่องมือก็คือส่วนของสิทธิการใช้งาน
ซึ่งมีการใช้คีย์เป็นเครื่องมือหลักในการกำหนดสิทธิการใช้
และเมนูเกี่ยวกับ ซึ่งเป็นข้อมูลเกี่ยวกับระบบต่างๆ
ที่เป็นเบื้องหลังของการทำงานภายในเครื่อง
คุณสมบัติเด่นที่น่าสนใจ
- ระบบปฏิบัติการ Symbian OS เวอร์ชัน
9.1 Series 60 UI 3rd Edition : ระบบปฏิบัติการที่ใช้ใน
Nokia N93 เป็นระบบปฏิบัติการ Symbian OS
เวอร์ชันใหม่ ซึ่งก็คือเวอร์ชัน 9.1 และมีลักษณะหน้าตา
หรือ User Interface แบบ Series 60 UI 3rd
Edition ซึ่งเนื่องจากระบบปฏิบัติการเวอร์ชัน
9.1 นี้เป็นเวอร์ชันใหม่ก็มีทั้งข้อดีและข้อด้อยมาพร้อมกัน
ข้อดีก็คือมีระบบการทำงานที่รวดเร็วและเสถียรมากขึ้น
เมนูหรือส่วนติดต่อผู้ใช้ต่างๆ ดูสวยงามทันสมัยมากขึ้น
รองรับเทคโนโลยีใหม่ๆ มากขึ้น หรือมีฟังก์ชันการทำงานที่หลากหลายมากขึ้น
เป็นต้น แต่อย่างไรก็ตามจากการใช้งานพบว่ายังมีอาการเครื่องค้าง ,อาการรีสตาร์ทตัวเอง
หรืออาการไม่ตอบสนองแบบผิดปกติเกิดขึ้นอยู่บ้าง
ซึ่งหากเป็นเครื่องที่วางจำหน่ายจริงอาจจะมีการปรับปรุงเรื่องนี้ให้ดีขึ้นกว่าเดิมก็เป็นได้ ส่วนข้อด้อยที่เห็นได้ชัดตอนนี้ก็เห็นจะเป็นโปรแกรมใช้งานที่รองรับกับระบบปฏิบัติการเวอร์ชันใหม่นี้
ซึ่งช่วงนี้ยังมีการพัฒนาออกมาไม่มากนัก ดังนั้นความหลากหลายของโปรแกรมใช้งานเพิ่มเติมก็อาจจะน้อยกว่าระบบปฏิบัติการเวอร์ชันก่อนสักหน่อย
แต่อย่างไรก็ตาม ในอนาคตอันใกล้ คงจะมีโปรแกรมที่พัฒนาให้รองรับกับระบบปฏิบัติการใหม่นี้ออกมาอีกมากมายอย่างแน่นอน
- หน้าจอแสดงผลหลักแบบ TFT LCD 262,144
สี ขนาด 2.4 นิ้ว ความละเอียดระดับ QVGA
: หน้าจอแสดงผลของ N93 นั้นเป็นหน้าจอแบบ
TFT LCD 262,144 สี และมีความละเอียด 320
x 240 Pixels หรือละเอียดระดับ QVGA ส่วนความกว้างอยู่ที่ประมาณ
2.4 นิ้ว ซึ่งจากการใช้งานก็รู้สึกประทับใจกับความละเอียดคมชัดของหน้าจออยู่ไม่น้อย
อาจจะเป็นเพราะว่าจุด 320 x 240 ถูกบีบให้อยู่ในขนาดความกว้างของหน้าจอที่ไม่มากนัก
คือ 2.4 นิ้ว จึงทำให้การแสดงผลคมชัดดูเนียนตา
แม้จะมองดูใกล้ๆ ก็แทบจะไม่เห็นจุด Pixels
เลยทีเดียว ส่วนสีสันก็ถือว่าสวยสดใส และความสว่างก็ทำได้ดีเช่นกัน
และสำหรับหน้าจอแสดงผลขนาดเล็กด้านนอกนั้นเป็นหน้าจอขนาด
1.1 นิ้วแบบ 65,536 ความละเอียด 128 x 36
Pixels ซึ่งถือว่าเป็นหน้าจอที่มีขนาดที่ค่อนข้างเล็กมาก
แต่การแสดงผลก็ถือว่ามีความละเอียดคมชัดพอสมควร
สีสันสดใสใช้ได้ และความสว่างอยู่ในระดับที่ดี
สรุปแล้วหน้าจอหลักของ N93 นั้นสามารถแสดงผลได้ค่อนข้างน่าประทับใจ
แต่หน้าจอขนาดเล็กด้านนอกยังมีขนาดที่ค่อนข้างเล็กไปสักหน่อย
- หน่วยความจำภายในขนาด 50 MB พร้อมรองรับ
miniSD Card ได้สูงสุดขนาด 2 GB : หน่วยความจำภายในของ
N93 ตามข้อมูลอย่างเป็นทางการจะมีอยู่ทั้งหมด
50 MB ซึ่งก็ถือว่ามีจำนวนที่เพียงพอต่อการเก็บบันทึกข้อมูลในระดับหนึ่ง
ทั้งไฟล์รูปภาพ, ไฟล์เพลง, ไฟล์วีดีโอ และอื่นๆ
แต่อย่างไรก็ตามดูเหมือนว่าการใช้งานของผู้ใช้ในปัจจุบันจะต้องการขนาดความจุของหน่วยความจำที่มากกว่า
50 MB ไปแล้ว เนื่องจากข้อมูลมีความหลากหลายมากยิ่งขึ้น
มีไฟล์ที่น่าสนใจให้เก็บบันทึกมากขึ้น ซึ่ง
N93 ก็สามารถรองรับกับการเก็บบันทึกข้อมูลที่มากขึ้นนี้ได้
ด้วยการรองรับการใส่การ์ดหน่วยความจำเสริมแบบ
miniSD Card ได้นั่นเอง
และสามารถถอดเปลี่ยนการ์ดได้ทันทีโดยไม่ต้องปิดเครื่องได้
(Hot Swap) โดยราคาขายของ miniSD Card ในตอนนี้ถือว่าถูกลงกว่าแต่ก่อนมากแล้วด้วย
และตามข้อมูลจากทางศูนย์ ในชุดขายมาตรฐานของ
N93 ก็แถม miniSD Card มาให้ใช้งานมากถึง
512 MB อีกด้วย
- กล้องดิจิตอล Optical Zoom พร้อมความละเอียดระดับ
3.2 ล้าน Pixels : ความสามารถที่โดดเด่นมากที่สุดของ
N93 ก็คงจะหนีไม่พ้นเรื่องกล้องดิจิตอล ซึ่งนอกจากจะสามารถถ่ายภาพนิ่งได้ที่ความละเอียดสูงสุดถึง
3.2 ล้าน Pixels แล้ว ความสามารถอย่างหนึ่งที่พิเศษกว่ากล้องดิจิตอลในโทรศัพท์มือถือทั่วไปคือสามารถซูมภาพขยายภาพแบบ
Optical Zoom หรือซูมโดยใช้เลนส์โดยตรงได้
ซึ่งเป็นการซูมภาพที่มีคุณภาพอย่างแท้จริง
ต่างกับการซูมภาพแบบ Digital Zoom หรือการซูมโดยซอฟต์แวร์อย่างมาก
และเลนส์ที่ใช้เป็นเลนส์แบบ Carl Zeiss Vario-Tessar
Lens ซึ่งเป็นเลนส์คุณภาพสูง นอกจากนั้นก็ยังมีความสามารถในการถ่ายภาพที่น่าสนใจอีกหลายอย่าง
เช่นระบบการโฟกัสภาพอัตโนมัติ, ไฟแฟลช หรือโหมดการถ่ายภาพระยะใกล้
เป็นต้น โดยความละเอียดสูงสุดของภาพถ่ายที่สามารถถ่ายได้คือ
2048x1536 Pixels จากการทดสอบถ่ายภาพก็ถือว่าภาพที่ได้ออกมานั้นถือว่ามีคุณภาพที่น่าประทับใจ
ทั้งในเรื่องการการเก็บรายละเอียด, แสง หรือสีสัน
แม้ว่ายังไม่อาจเทียบได้กับกล้องดิจิตอลแท้ๆ
ได้ก็ตาม แต่หากเทียบกับกล้องดิจิตอลในโทรศัพท์มือถือทุกรุ่นที่มีขายอยู่ในประเทศไทยในขณะนี้
ถือว่าภาพถ่ายที่ได้จาก N93 รุ่นนี้มีคุณภาพที่ดีมากที่สุดแล้วก็ว่าได้
ดังนั้นหากเป็นผู้ใช้ที่ต้องการโทรศัพท์มือถือที่เน้นการถ่ายภาพเป็นพิเศษ
ก็คงต้องนำ N93 ไปพิจารณาเป็นตัวเลือกลำดับแรกๆ
สำหรับการถ่ายภาพวีดีโอนั้น ก็ยอดเยี่ยมไม่แพ้กัน
โดย N93 สามารถถ่ายภาพวีดีโอได้ที่ความละเอียดสูงสุดมากถึง
640x480 Pixels หรือระดับ VGA เรียกได้ว่าละเอียดมากสำหรับกล้องดิจิตอลในโทรศัพท์มือถือ พร้อมความเร็วในการถ่ายที่สูงสุดถึง
30 fps จึงทำให้ภาพที่ได้มีความราบรื่นมากเป็นพิเศษ
และเรื่องของระบบเสียงก็ยังรองรับการบันทึกเสียงวีดีโอแบบ
Stereo อีกด้วย จึงทำให้เสียงประกอบของวีดีโอฟังดูมีมิติสมจริงมากขึ้น
นอกจากนั้นยังมีความสามารถพิเศษอีกอย่างของการถ่ายภาพวีดีโอคือระบบป้องกันภาพสั่น
(Digital Video Stabilization) ซึ่งช่วยให้ภาพวีดีโอที่ถ่ายได้มีความนิ่งมากยิ่งขึ้นนั่นเอง
สรุปแล้วการถ่ายภาพวีดีโอนั้นน่าประทับใจมากไม่แพ้การถ่ายภาพนิ่งเลยทีเดียว
ความสามารถและคุณสมบัติในกล้องดิจิตอลของ
N93 นั้นมีอยู่มากมาย ซึ่งพอสรุปได้ดังต่อไปนี้
--- คุณสมบัติทั่วไปของกล้องดิจิตอล --- -
เซนเซอร์รับภาพแบบ CMOS - ใช้เลนส์กล้องคุณภาพสูงแบบ
Carl Zeiss Vario-Tessar Lens - ไฟแฟลชในตัว
พร้อมรัศมีทำการสูงสุดประมาณ 1.5 เมตร -
กล้องดิจิตอลขนาดเล็กด้านในสำหรับ Video Calling
ความละเอียดระดับ CIF (352x288 Pixels) -
ซูมภาพแบบ Optical Zoom หรือซูมโดยใช้เลนส์โดยตรงได้
3 เท่า - อัลบั้มรูปภาพแบบหมุน (Rotating
Gallery) - รองรับการใช้งานอัลบั้ม หรือ
Blog แบบออนไลน์ (Liftblog) สามารถอัพโหลดไฟล์รูปภาพหรือวีดีโอจากอัลบั้มได้ -
โปรแกรมตกแต่งและแก้ไขรูปภาพ - โปรแกรมสร้างภาพยนตร์ด้วยรูปแบบเฉพาะส่วนตัว
--- การถ่ายภาพนิ่ง --- - ถ่ายภาพนิ่งได้ที่ความละเอียดสูงสุดระดับ
3.2 ล้าน Pixels (2048x1536 Pixels) -
เลือกความละเอียดของรูปภาพได้ 4 ระดับ (3 ล้านพิกเซล, 2 ล้านพิกเซล, 1.3 ล้านพิกเซล และ 0.3 ล้านพิกเซล) -
ความเร็วชัตเเตอร์ (Shutter speed : Mechanical
Shutter) 1/2400 ถึง 1/3 วินาที -
ชนิดของไฟล์รูปภาพแบบ JPEG/EXIF - ระบบโฟกัสภาพอัตโนมัติ
(Auto Focus) - ระยะโฟกัส (Focus Range) 10
เซนติเมตร ถึง Infinity - ขนาดของรูรับแสงหน้ากล้องของการซูมทางกว้าง (Wide)
สูงสุด 3.3 ถึง 4.5 มิลลิเมตร - ขนาดของรูรับแสงหน้ากล้องของการซูมทางยาว (Tele)
สูงสุด 12.4 มิลลิเมตร - ระยะโฟกัสของการถ่ายภาพระยะใกล้ (Macro) 30 เซนติเมตร (Macro
@ Wide) หรือ 10 เซนติเมตร (Macro
@ Middle to Tele) - โหมดของการถ่ายภาพนิ่ง 6 โหมด (อัตโนมัติ,
กำหนดเอง, โหมดระยะใกล้, แนวนอน, กลางคืน และแนวตั้ง) - ปรับค่า White Balance
ได้ 5
รูปแบบ (อัตโนมัติ, แสงจ้า, เมฆหนา, แสงไฟทังสเตน และแสงไฟนีออน) - ปรับค่า EV (Exposure Value) ได้ตั้งแต่ +2.0
(สว่างที่สุด) ถึง -2.0 (มืดที่สุด) - เลือกโทนสีได้ทั้งหมด 4 รูปแบบ (ปกติ, ซีเปีย, ขาวดำ และเนกาทีฟ) -
ตั้งเวลาถ่ายภาพล่วงหน้าได้ 3 ระดับ (2, 10 และ 20 วินาที) -
ซูมภาพแบบ Optical Zoom ได้สูงสุด 3
เท่า และแบบ Digital Zoom ได้สูงสุด 20 เท่า -
เลือกปิด หรือเปิดการซูมภาพแบบขยายได้ -
เลือกเสียงของชัตเตอร์ขณะถ่ายภาพได้ทั้งหมด 4 เสียง
--- การถ่ายภาพวีดีโอ --- -
ถ่ายภาพวีดีโอด้วยความละเอียดสูงสุดระดับ
VGA (640x480 Pixels) - ขนาดของภาพวีดีโอปรับได้ 5 ระดับ
ได้แก่ ทีวี (สูง), ทีวี
(ปกติ), โทรศัพท์ (สูง), โทรศัพท์ (ปกติ) และระดับการแบ่งใช้ - ความเร็วสูงสุดในการถ่ายภาพวีดีโอ
30 fps - รองรับระบบการบันทึกเสียงวีดีโอแบบ
Stereo (AAC stereo, 48kHz) - ระบบป้องกันการสั่นไหวสำหรับการถ่ายภาพวีดีโอ
(Digital Video Stabilization) - ถ่ายภาพวีดีโอได้นานต่อเนื่องสูงสุด
1 ชั่วโมงต่อคลิป - รองรับรูปแบบไฟล์วีดีโอได้
2 รูปแบบ (.mp4 และ .3gp) - สามารถปรับค่า White Balance
ได้ 5 รูปแบบ (อัตโนมัติ,
แสงจ้า, เมฆหนา, แสงไฟทังสเตน และแสงไฟนีออน) - โหมดการถ่ายภาพวีดีโอในที่มืด
หรือเวลากลางคืน (Night Mode) - ปรับโทนสีเพื่อการถ่ายภาพวีดีโอ ได้ทั้งหมด 4
รูปแบบ (ปกติ, ซีเปีย, ขาวดำ และเนกาทีฟ) - ซูมภาพแบบ Optical Zoom ได้สูงสุด
3 เท่า และแบบ Digital Zoom ได้สูงสุด 8 เท่า
คุณภาพของรูปภาพ หากบอกด้วยคำพูดเพียงอย่างเดียวก็คงจะไม่สามารถสื่อความหมายได้ชัดเจน
ดังนั้นทางที่ดีที่สุดคือต้องพิจารณาดูด้วยสายตาของตนเอง
ซึ่งสำหรับตัวอย่างของภาพถ่ายในสถานการณ์ต่างๆ
ที่ได้จาก Nokia N93 สามารถชมได้จากภาพตัวอย่างที่ด้านล่างต่อไปนี้
 ภาพถ่ายกลางแจ้งความละเอียด
2048x1536 Pixels : โหมดการถ่ายภาพแบบอัตโนมัติ,
ไม่ซูมภาพ, สมดุลสีขาวอัตโนมัติ, ค่า EV 0,
โทนสีปกติ

 ภาพถ่ายความละเอียด
1280x960 Pixels : ทดสอบการซูมภาพโดยไม่เปิดการซูมแบบขยาย
 ภาพถ่ายความละเอียด
1280x960 Pixels : ทดสอบการซูมภาพโดยเปิดการซูมแบบขยาย
ภาพถ่ายความละเอียด 1280x960 Pixels :
ปรับค่า EV 0, EV +2 และ EV -2 ตามลำดับ
 ภาพถ่ายความละเอียด
1280x960 Pixels : ปรับโทนสีแบบ ซีเปีย, ขาวดำ
และเนกาทีฟ ตามลำดับ
 ภาพถ่ายความละเอียด
2048x1536 Pixels : ทดสอบการใช้งานโหมดถ่ายภาพระยะใกล้
(Macro Mode)

ภาพถ่ายภายในอาคารความละเอียด 2048x1536 Pixels
: โหมดการถ่ายภาพแบบอัตโนมัติ, ไม่ซูมภาพ,
สมดุลสีขาวอัตโนมัติ, ค่า EV 0, โทนสีปกติ

 ภาพถ่ายภายในอาคารความละเอียด
1280x960 Pixels : โหมดการถ่ายภาพแบบอัตโนมัติ,
ไม่ซูมภาพ, สมดุลสีขาวอัตโนมัติ, ค่า EV 0,
โทนสีปกติ
ภาพวีดีโอความละเอียด 640x480 Pixels
(VGA) : คุณภาพสูงสุด (30fps), โหมดการถ่ายแบบอัตโนมัติ,
สมดุลสีขาวอัตโนมัติ, โทนสีปกติ
 สิ่งที่น่าสนใจอีกอย่างหนึ่งของ
N93 ก็คือไฟแฟลช ซึ่งไฟแฟลชนี้นอกจากจะใช้งานให้แสดงสว่างขณะถ่ายภาพได้แล้ว
ยังสามารถใช้งานเป็นไฟฉายขนาดย่อมๆ ได้เป็นอย่างดีเลยทีเดียว
แม้จะไม่ได้มีลำแสงเป็นแนวตรงเหมือนกับไฟฉายทั่วไป
และไม่สามารถส่องสว่างไปได้ไกลนัก แต่ก็สามารถให้ความสว่างเป็นรัศมีในวงกว้างในระยะใกล้ๆ
ได้ดี ซึ่งการใช้งานเป็นไฟฉายจะใช้งานได้ในขณะที่ปิดฝาพับเท่านั้น
โดยวิธีใช้ก็เพียงกดปุ่มไฟแฟลชที่ด้านข้างของตัวเครื่องค้างเอาไว้
ไฟแฟลชก็จะสว่างขึ้นมาทันที
- กล้องดิจิตอลสำหรับใช้งาน Video Calling
ที่ด้านในของฝาพับ : กล้องดิจิตอลขนาดเล็กที่อยู่ด้านในของฝาพับนั้น
สามารถถ่ายภาพได้ความละเอียดสูงสุดที่ 352x288
Pixels (CIF) ซึ่งจริงๆ แล้วกล้องตัวนี้ไม่ได้เน้นที่การถ่ายภาพเป็นหลัก
แต่มีจุดมุ่งหมายเพื่อการใช้งานเป็นกล้องสำหรับการสนทนาพร้อมภาพวีดีโอ
(Video Calling) นั่นเอง แต่ระบบเครือข่ายในบ้านเรายังไม่สามารถรองรับกับการใช้งานตรงนี้ได้
ดังนั้นในตอนนี้กล้องตัวนี้จึงเป็นได้แค่กล้องสำหรับใช้ถ่ายรูปตัวเองได้สะดวกมากขึ้นเท่านั้นเอง
- เชื่อมต่อข้อมูลผ่านทาง Bluetooth, Infrared Port และ USB : ช่องทางการเชื่อมต่อข้อมูลที่มีให้ใน
Nokia N93 นั้นมีมาให้อย่างครบถ้วน ทั้งการเชื่อมต่อข้อมูลแบบไร้สายผ่าน
Bluetooth หรือ Infrared Port รวมถึงการเชื่อมต่อข้อมูลแบบใช้สายผ่าน
USB Data Cable ซึ่งมีอินเทอร์เฟสการเชื่อมต่อแบบ
Pop-Port ที่เป็นอินเทอร์เฟสมาตรฐานของโทรศัพท์มือถือยี่ห้อโนเกียนั่นเอง
ซึ่งสำหรับการใช้ Bluetooth หรือ Infrared
Port นั้นเป็นไปได้อย่างอิสระ ไม่ต้องมีการติดตั้งอะไรเพิ่มเติม
แต่หากต้องการเชื่อมต่อข้อมูลผ่านสาย USB
Data Cable ผู้ใช้ก็ต้องลง PC Suite และ Driver
ที่มีอยู่ในแผ่น CD ที่แถมมาให้ ให้เรียบร้อยเสียก่อน
- เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตผ่านระบบ WLAN, WCDMA, EDGE หรือ GPRS :
การท่องอินเทอร์เน็ตใน N93 นั้นสามารถทำได้โดยผ่านทางเว็บ Browser (Browser S60
เวอร์ชัน 3.0 : 0550) ซึ่งสามารถรองรับการเปิดหน้าเว็บแบบ HTML ได้
จึงสามารถเปิดหน้าเว็บเพจทั่วไปได้เช่นเดียวกันกับการเปิดดูด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์
โดยสามารถรองรับได้ทั้ง WAP 2.0, XHTML, XHTML
MP, HTML 4.01, cHTML, i-mode HTML, CSS,
ECMAScript และ JavaScript รวมถึงสามารถรองรับองค์ประกอบพื้นฐานต่างๆ
ของ HTML ได้เช่นแบบฟอร์ม, ตาราง, กรอบเฟรม
หรืออิมเมจแม็พ
โดยเฉพาะอย่างยิ่งหน้าจอของ N93 รองรับการแสดงผลแบบแนวนอนได้จึงสามารถเปิดดูหน้าเว็บได้อย่างมีประสิทธิภาพมากเป็นพิเศษ
ซึ่งรายละเอียดได้กล่าวถึงไปแล้วในเนื้อหาก่อนหน้านี้
ส่วนความรวดเร็วในการประมวลผลระหว่างการเปิดหน้าเว็บนั้นถือว่าทำได้รวดเร็วราบรื่นเป็นอย่างดี
โดยวิธีการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตนั้นผู้ใช้สามารถเลือกได้ว่าจะเชื่อมต่อผ่านระบบ
WLAN, WCDMA, EDGE หรือ GPRS ซึ่งจะเห็นว่า N93
นี้สามารถรองรับการเชื่อมต่อข้อมูลแบบไร้สายได้ครบถ้วนทุกรูปแบบเลยทีเดียว
- เชื่อมต่อแสดงผลผ่านทางหน้าจอโทรทัศน์
: ความสามารถพิเศษที่น่าสนใจอีกอย่างหนึ่งของ
N93 ก็คือการเชื่อมต่อแสดงผลผ่านทางหน้าจอโทรทัศน์
เช่นการ เปิดดูรูปภาพ, เล่นไฟล์วีดีโอ, เปิดงานนำเสนอ,
เปิดไฟล์เอกสาร หรืออื่นๆ ซึ่งสามารถรองรับการใช้งานกับโทรทัศน์ได้
2 ระบบคือ PAL และ NTSC รวมถึงสามารถรองรับอัตราส่วนของจอภาพได้
2 อัตราส่วนคือ 4:3 และ 16:9 โดยในชุดขายมาตรฐานของ
N93 จะมีสาย Video Out Cable รุ่น CA-64U สำหรับเชื่อมต่อแสดงผลผ่านทางหน้าจอโทรทัศน์ มาให้ใช้งานจำนวน
1 เส้น โดยที่ผู้ใช้ไม่ต้องไปซื้อหามาใช้เองในภายหลังให้ยุ่งยาก
- โปรแกรมเล่นไฟล์วีดีโอ และไฟล์เพลง
พร้อมลำโพง Loudspeaker ในตัว : สำหรับโปรแกรมเล่นไฟล์เพลงใน
N93 นั้น สามารถรองรับรูปแบบของไฟล์เพลงได้หลากหลาย
ได้แก่ WMA, MP3, eAAC+, AAC+, M4A, MPEG-4
ACC LC, AMR-NB, AMR-WB, 64 polyphonic MIDI,
RealAudio Voice, RealAudio7 และ RealAudio8
มีฟังก์ชันในการฟังเพลงที่หลากหลาย และสามารถปรับอีควอไลเซอร์ได้
ส่วนอีกโปรแกรมหนึ่งที่มีอยู่ใน N93 ก็คือ
RealPlayer Media Player ซึ่งสามารถเล่นได้ทั้งไฟล์เพลงและไฟล์วีดีโอ
โดยรองรับไฟล์แบบ MP3, AAC, Real Audio, WAV,
Nokia Ring Tones, AMR, AMR-WB, AMR-NB, AU,
MIDI, H.263, JPEG, JPEG2000, EXIF 2.2, GIF
87/89, PNG, BMP (W-BMP), MBM, MPEG-4 และ eAAC+
จึงถือว่าโปรแกรมทั้ง 2 โปรแกรมนี้สามารถรองรับการเล่นไฟล์เพลงและไฟล์วีดีโอได้ครบถ้วนเป็นอย่างดี
ส่วนคุณภาพเสียงที่ได้ยินจากหูฟังนั้นน่าเสียดายที่ไม่ได้รับหูฟังแบบ
Stereo รุ่น HS-23 มาทดสอบด้วย
จึงไม่สามารถสรุปได้ว่าเสียงที่ได้ยินจากหูฟังนั้นมีความไพเราะมากน้อยเพียงใด
แต่สำหรับเสียงที่ได้ยินจากลำโพง Loudspeaker
นั้นถือว่าค่อนข้างดี โดยเฉพาะในเรื่องของพลังเสียง,
ความดัง หรือความชัดเจน แต่ในเรื่องของรายละเอียด หรือความไพเราะอาจจะไม่ถึงกับดีที่สุด
และยังด้อยกว่าลำโพงของโทรศัพท์มือถือที่เน้นเรื่องการฟังเพลงบางรุ่นอยู่บ้างพอสมควร
- วิทยุ FM Stereo ในตัว พร้อมรองรับ
Visual Radio : นอกจากจะสามารถฟังเพลงจากไฟล์เพลงรูปแบบต่างๆ
ได้แล้ว N93 ก็ยังสามารถฟังเพลงหรือรายการต่างๆ
ผ่านทางวิทยุ FM Stereo ได้ด้วย ซึ่งวิทยุ
FM Stereo ใน N93 นี้ก็มีฟังก์ชันการทำงานพื้นฐานคล้ายกันกับวิทยุ
FM Stereo ที่มีอยู่ในโทรศัพท์มือถือค่าย
Nokia อีกหลายรุ่น เช่น การค้นหาคลื่นความถี่อัตโนมัติ,
การบันทึกสถานีวิทยุได้ 20 สถานี, การเปิดฟังเสียงผ่านทางลำโพง
Loudspeaker หรือการตั้งค่าความถี่แบบทศนิยม
2 หลักเป็นต้น และความสามารถที่น่าสนใจอีกอย่างก็คือสามารถรองรับการใช้งานระบบ
Visual Radio ได้ด้วย ส่วนประสิทธิภาพในเรื่องของการรับสัญญาณวิทยุนั้นก็ถือว่าทำได้ชัดเจนปกติดีอย่างที่ควรจะเป็น
คุณสมบัติอื่นๆ ที่น่าสนใจ
- วัสดุ การประกอบ ความแข็งแรง และน้ำหนัก : ตัวเครื่องของ
Nokia N93 นั้นประกอบด้วยวัสดุเกรดดี ดูแล้วมีเกรดที่ดีขึ้นมาอีกระดับจากโทรศัพท์มือถือระดับต้นๆ
การประกอบทำได้ค่อนข้างประณีตไม่มีส่วนใดที่โยกคลอนหรือเหลื่อมล้ำกันอย่างผิดปกติ
ความแข็งแรงของส่วนต่างๆ ก็ถือว่าทำได้แข็งแรงแน่นหนาดี
ไม่ว่าจะเป็นส่วนประกอบทั่วไป หรือแกนของฝาพับทั้ง
2 แกน
หากไม่เกิดอุบัติเหตุอะไรรุนแรงจริงๆ ก็คงจะไม่เกิดความเสียหายได้ง่าย
และสามารถใช้งานไปได้อย่างยาวนาน ปุ่มกดต่างๆ
กดได้ง่ายรู้สึกมั่นคงและมีความนุ่มนวล แต่ในเรื่องของน้ำหนักตัวหรือขนาดของตัวเครื่องอาจจะมากกว่าปกติพอสมควร
หากเปรียบเทียบกับโทรศัพท์มือถือฝาพับทั่วไป
การพกพาไปไหนมาไหนจึงไม่สะดวกคล่องตัวเท่าใดนัก
- ประสิทธิภาพในการสนทนา : คุณสมบัติเบื้องต้นสำหรับการรองรับระบบสัญญาณของ
Nokia N93 นั้นคือ Dual Mode - Tri Band (WCDMA
2100 - GSM 900/1800/1900
MHz) ซึ่งในเบื้องต้นการสแกนหาคลื่นสัญญาณขณะเปิดเครื่องขึ้นมานั้น
สามารถทำได้รวดเร็วดี และระหว่างที่อยู่ในสถานะ
Standby ไม่พบอาการที่เรียกว่าสัญญาณแกว่งหรือสัญญาณหายแต่อย่างใด ส่วนประสิทธิภาพขณะที่ใช้งานสนทนานั้น
ถือว่าอยู่ในระดับที่ปกติดี เสียงที่ได้ยินดังชัดเจน
แต่อย่างไรก็ตามยังถือว่าไม่ถึงกับดังมากที่สุด
- ความเสถียรของระบบ และความเร็วในการประมวลผล
: ความเสถียรของระบบการทำงานภายใน N93 นั้นถือว่ายังมีความเสถียรไม่มากเท่าที่ควร
ระหว่างการใช้งานยังสามารถพบอาการที่ผิดปกติได้บ้างเป็นระยะ
เช่นอาการโปรแกรมค้าง, เครื่องหน่วงแบบผิดปกติ
หรือแม้กระทั่งการรีสตาร์ทตัวเอง จึงถือว่าความเสถียรในการทำงานของ
N93 นั้นยังทำได้ไม่ค่อยดีนัก ส่วนความรวดเร็วในการประมวลผลของโปรแกรมหรือฟังก์ชันต่างๆ
นั้นถือว่ามีความรวดเร็วทันใจมากพอสมควร แม้จะไม่ถึงกับเร็วมากที่สุดก็ตาม
แต่ก็ไม่รู้สึกหน่วงแต่อย่างใด สรุปแล้วเรื่องความเสถียรของระบบยังไม่น่าประทับใจเท่าใดนัก
ซึ่งหากเป็นเครื่องที่วางจำหน่ายจริงอาจจะมีการปรับปรุงความเสถียรให้ดีขึ้นกว่านี้ก็เป็นได้
แต่สำหรับประสิทธิภาพในการประมวลผลของ N93 ถือว่าทำได้ค่อนข้างดี
- การรองรับการใช้งานภาษาไทย :
ระบบภาษาไทยของ Nokia N93 นั้น ก็ถือว่ามีมาให้อย่างครบครันตั้งแต่แรกอยู่แล้ว
โดยไม่ต้องมีการติดตั้งโปรแกรมภาษาไทยหรือฟอนต์ภาษาไทยใดๆ
เพิ่มเติม
ตั้งแต่การแสดงข้อความหรือตัวหนังสือภาษาไทย,
การพิมพ์ข้อความภาษาไทย, ระบบสะกดคำอัตโนมัติภาษาไทย,
เมนูใช้งานภาษาไทย รวมถึงแผงปุ่มกดที่มีตัวอักษรภาษาไทยกำกับอยู่ด้วย
(หากเป็นเครื่องศูนย์ในไทย)
และสำหรับการแสดงผลตัวสระ, พยัญชนะ
หรือวรรณยุกต์ ภาษาไทยนั้นมีการจัดเรียงในตำแหน่งที่ปกติดี
- อัตราความสิ้นเปลืองพลังงาน :
แบตเตอรี่ของ N93 นั้นเป็นแบตเตอรี่แบบ Lithium Ion
Polymer รุ่น BL-6M
ขนาดความจุ 1,100 mAh ซึ่งอัตราความสิ้นเปลืองพลังงานของ Nokia
N93 นั้น เท่าที่ทดสอบใช้งานมาระยะหนึ่งพบว่ามีอัตราความสิ้นเปลืองพลังงานที่ค่อนข้างสูง
แบตเตอรี่หมดค่อนข้างไวไปสักหน่อย แม้จะเป็นแบตเตอรี่ที่มีความจุมากถึง
1,100 mAh ก็ตาม โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากใช้งานกล้องดิจิตอลที่มีการซูมโดยใช้เลนส์อยู่บ่อยๆ
ซึ่งต้องมีการเคลื่อนไหวของกลไกภายอยู่บ่อยครั้ง
ก็จะยิ่งทำให้สิ้นเปลืองพลังงานจากแบตเตอรี่มากเป็นพิเศษ
หรือการใช้งานเชื่อมต่อข้อมูลผ่านเครือข่ายไร้สายผ่านทาง
WLAN ก็จะมีอัตราการสิ้นเปลืองพลังงานที่มากกว่าปกติด้วยเช่นเดียวกัน
เท่าที่ใช้งานแบบค่อนข้างหนัก แบตเตอรี่จะอยู่ได้ประมาณ
1 วัน ถึง 1 วันครึ่ง คืออาจจะต้องชาร์จแบตเตอรี่กันแบบวันต่อวันเลยก็เป็นได้ แต่ถ้าหากไม่ค่อยได้ใช้งานมากนัก
แบตเตอรี่ก็จะอยู่ได้ประมาณ 3-4 วัน
สรุปส่งท้าย
จากการทดสอบการใช้งานมาได้ประมาณ 1 สัปดาห์ กับ Nokia N93 ก็พอจะมองเห็นอะไรหลายๆ
อย่างจากโทรศัพท์มือถือรุ่นนี้ จึงขอสรุปเป็นจุดเด่นและจุดด้อยตามความคิดเห็นส่วนตัวคร่าวๆ
ดังนี้
จุดเด่น
- กล้องดิจิตอลความละเอียดระดับ 3.2 ล้านพิกเซล
สามารถถ่ายภาพนิ่งและภาพวีดีโอได้มีคุณภาพที่ดีมากที่สุดหากเทียบกับโทรศัพท์มือถือที่วางจำหน่ายอย่างเป็นทางการในประเทศไทยในขณะนี้ -
กล้องดิจิตอลมีคุณสมบัติการซูมภาพแบบ Optical
Zoom หรือการซูมภาพด้วยเลนส์โดยตรง - สามารถใช้งานไฟแฟลชเป็นไฟฉายขนาดย่อมๆ
ได้เป็นอย่างดี - หน้าจอแสดงผลสามารถแสดงผลได้ละเอียดคมชัด
สีสันสดใส และมีความสว่างเพียงพอต่อการใช้งาน -
ปรับเปลี่ยนทิศทางของหน้าจอได้หลากหลายรูปแบบ
และรองรับการแสดงผลภาพแบบแนวนอน - การประกอบ,
วัสดุ หรือความประณีต ทำได้ค่อนข้างดี
น่าประทับใจ แข็งแรงแน่นหนา ไม่มีส่วนใดโยกคลอนแบบผิดปกติ ดูแล้วมีความแตกต่างจากโทรศัพท์มือถือทั่วๆ ไปขึ้นมาอีกระดับหนึ่ง -
แกนหมุนของฝาพับทั้ง 2 แกนมีความมั่นคงแข็งแรงค่อนข้างดี -
ปุ่มกดส่วนใหญ่มีสัมผัสที่มั่นคงแข็งแรง
กดได้ง่าย และค่อนข้างนุ่มนวล - รองรับการ์ดหน่วยความจำ miniSD
Card ได้สูงสุด 2 GB (แถมมาให้ 512 MB) พร้อมการถอดเปลี่ยนการ์ดแบบ
Hot Swap - ทำงานอยู่บนระบบปฏิบัติการ
Symbian OS 9.1 ซึ่งมีประสิทธิภาพโดยรวมดีกว่าระบบปฏิบัติการรุ่นก่อนหน้านี้ -
ประมวลผลค่อนข้างรวดเร็วทันใจ เมื่อเทียบกันกับโทรศัพท์มือถือ
Symbian Smartphone ของ Nokia รุ่นอื่นๆ -
การเชื่อมต่อข้อมูลครบถ้วนทั้ง
WLAN, WCDMA, EDGE, GPRS, Bluetooth, Infrared
และ USB Data Cable - สามารถเชื่อมต่อแสดงผลผ่านทางหน้าจอโทรทัศน์ได้โดยตรง
จุดด้อย
- ขนาดของตัวเครื่องใหญ่เทอะทะ และน้ำหนักตัวค่อนข้างมาก
เมื่อเปรียบเทียบกับโทรศัพท์มือถือทั่วๆ ไป -
การจับถือตัวเครื่องด้วยมือข้างเดียวขณะถ่ายภาพไม่ค่อยถนัดมือเท่าที่ควร
มักจะต้องใช้อีกมือมาช่วยประคองอยู่บ่อยครั้ง - หน้าจอด้านนอกมีขนาดที่เล็ก
จึงสามารถแสดงรายละเอียดต่างๆ ได้น้อย - การทำงานยังไม่เสถียรเท่าที่ควร
ยังอาการโปรแกรมค้าง, เครื่องหน่วงแบบผิดปกติ
หรือแม้กระทั่งการรีสตาร์ทตัวเอง ให้เห็นอยู่เป็นระยะ -
เสียงสนทนาค่อนข้างเบากว่าปกติแม้จะปรับระดับให้ถึงระดับสูงสุดแล้วก็ตาม -
แบตเตอรี่หมดค่อนข้างไว หากเปรียบเทียบกับขนาดความจุของแบตเตอรี่ที่มากถึง
1,100 mAh - รูปแสดงผู้โทรเข้ายังมีขนาดที่เล็กมากเกินไป
น่าจะมีขนาดที่ใหญ่กว่านี้สักหน่อย - ปุ่มกดควบคุมการทำงานแบบ
5 ทิศทางที่ด้านข้างของตัวเครื่องค่อนข้างเล็ก
และแข็ง จึงกดใช้งานได้ค่อนข้างยาก - แผ่นยางที่เป็นฝาปิดช่องใส่การ์ด
miniSD Card ยังปิดได้ไม่สนิทหรือแนบเนียนเท่าที่ควร -
การสั่นเตือนยังไม่ค่อยแรงนัก หากเทียบกับโทรศัพท์มือถือทั่วไป
(อาจมีจุดประสงค์เพื่อรักษากลไกภายในของกล้องดิจิตอล) -
ราคาจำหน่ายยังค่อนข้างสูง
สรุปแล้ว จุดเด่นของ N93 น่าจะอยู่ที่การเป็นโทรศัพท์มือถือประเภท
Symbian Smartphone ที่มีความยอดเยี่ยมในเรื่องของการถ่ายภาพหรือถ่ายวีดีโอมากเป็นพิเศษ
โดยเฉพาะกลไกการซูมขยายภาพแบบ Optical Zoom
หรือการซูมภาพด้วยเลนส์โดยตรง ซึ่งถือว่าเป็นโทรศัพท์มือถือรุ่นแรกที่วางจำหน่ายอย่างเป็นทางการในประเทศไทยที่มีกลไกแบบนี้ก็ว่าได้
ส่วนความสามารถอื่นเกี่ยวกับการถ่ายภาพก็มีอยู่อย่างเหลือเฟือ
ทั้งความละเอียดระดับ 3.2 ล้านพิกเซล, เลนส์กล้องคุณภาพสูงแบบ
Carl Zeiss Vario-Tessar Lens, ระบบโฟกัสภาพอัตโนมัติ,
โหมดการถ่ายภาพระยะใกล้, ไฟแฟลชในตัว, ถ่ายภาพวีดีโอด้วยความละเอียดสูงระดับ
VGA, ความเร็วของการถ่ายภาพวีดีโอสูงสุด 30
fps หรือรองรับใช้งาน Video Calling เป็นต้น
และนอกจากความสามารถของกล้องดิจิตอลแล้ว ความสามารถหรือคุณสมบัติที่โดดเด่นทางด้านอื่นๆ
ก็มีอยู่อย่างครบถ้วนเช่นกัน เช่น หน้าจอแสดงผลความละเอียดคมชัดสูง,
รองรับ miniSD Card, WLAN, WCDMA, EDGE, GPRS,
Bluetooth, Infrared, TV-Out หรือวิทยุ FM
Stereo ในตัว เป็นต้น ซึ่งจะเห็นว่ามีความสามารถครบถ้วนแทบทุกอย่างเท่าที่จะนึกออกสำหรับโทรศัพท์มือถือรุ่นใหม่ๆ
ในยุคปัจจุบันเลยก็ว่าได้ แต่ท่ามกลางความสามารถที่โดดเด่นมากมายก็ยังมีจุดด้อยให้ได้พบเห็นอยู่บ้าง
เช่น ขนาดหรือน้ำหนักตัวที่ค่อนข้างมาก, หน้าจอด้านนอกที่มีขนาดเล็ก,
ความเสถียรที่ยังไม่ค่อยดีนัก, เสียงสนทนาค่อนข้างเบา
หรือแบตเตอรี่หมดค่อนข้างไว รวมถึงเรื่องของราคาเปิดตัวที่คาดว่าจะค่อนข้างสูง
น่าจะประมาณสองหมื่นปลายๆ (อาจจะ 28,900 บาท
: ยังไม่ได้ประกาศอย่างเป็นทางการ) ก็อาจจะทำให้ผู้ใช้หลายคนที่สนใจ
N93 อาจจะต้องใช้เวลาพิจารณากันให้ดีเป็นพิเศษ ในภาพรวมแล้ว
หากคุณเป็นผู้ใช้ที่มีเงินทุนหนาพอสมควร ไม่เห็นเรื่องของราคาเป็นปัจจัยสำคัญ และต้องการโทรศัพท์มือถือที่มีความสามารถในการถ่ายภาพหรือถ่ายวีดีโอมากเป็นพิเศษ มีความเป็น
Smartphone ที่มีความยืดหยุ่นหลากหลายในการใช้งานมากกว่า
สามารถลงโปรแกรมใช้งานเพิ่มเติมได้มากมาย
รวมถึงมีความสามารถด้านอื่นๆ แบบครบเครื่องเท่าที่โทรศัพท์มือถือจะมีให้ได้
ก็คงจะต้องมี Nokia N93 เป็นตัวเลือกอันดับต้นๆ
อย่างแน่นอนครับ.
คะแนน TMC Point
การออกแบบดีไซน์ : 9.0/10
ใช้งานง่าย : 7.5/10
คุณสมบัติเครื่อง : 9.5/10
ฟังก์ชันการใช้งาน : 9.5/10
เสถียรภาพและประสิทธิภาพในการใช้งาน : 7.5/10
ราคาคุ้มค่า : 7.0/10
คะแนนรวม 8.33/10
โปรดทราบ
* โทรศัพท์มือถือที่ท่านเห็นในบทความรีวิวนี้เป็นเพียงเครื่องทดสอบจากทางศูนย์
เพราะฉะนั้นคุณสมบัติบางอย่างอาจมีความแตกต่างจากเครื่องที่วางจำหน่ายจริงบ้างไม่มากก็น้อย
รวมถึงจุดด้อยบางประการที่พบในเครื่องทดสอบ
อาจจะถูกแก้ไขปรับปรุงให้ดีขึ้นในเครื่องที่วางจำหน่ายจริง
ดังนั้นหากท่านสนใจซื้อโทรศัพท์มือถือรุ่นนี้
ควรตรวจสอบหรือทดลองใช้งานสินค้าด้วยตนเองอีกครั้งหนึ่ง
*
สรุปคุณสมบัติเครื่อง
ท่านสามารถตรวจสอบคุณสมบัติแบบสรุป (Specification) ของ Nokia
N93 ได้โดยการคลิ๊กที่ Link ด้านล่างนี้
Nokia
N93 Specification
ขอขอบพระคุณทุกท่านที่ติดตาม
Oska (Thaimobilecenter Editor) : [email protected]
ผู้สนับสนุนเครื่อง
Nokia N93 สำหรับการทดสอบ

ขอขอบคุณ
บริษัท
เอ็ม ลิ้งค์ เอเชีย คอร์ปอเรชั่น จำกัด(มหาชน) เลขที่
73 อาคารเอ็ม ลิ้งค์ ชั้น 1 ซ.สุขุมวิท 62
แขวงบางจาก เขตพระโขนง กรุงเทพฯ 10260
Tel.0-2741-5700 Fax.0-2741-6878 E-mail
: [email protected]
:: ไปหน้าแรกเว็บไซต์ Thaimobilecenter
| ไปหน้าแรก
Mobile Focus ::
|