Nokia E60 Review & Focus
Efficiency
& Compact Business Smartphone
Review
Date (12-June-2006)
สำหรับ Nokia E60 รุ่นนี้ นับเป็นโทรศัพท์มือถือรุ่นแรกใน E-Series
ซึ่งเป็น Series ใหม่จากทาง Nokia ที่เพิ่งได้ฤกษ์เปิดตัวและวางจำหน่ายอย่างเป็นทางการในประเทศไทยไปไม่นาน โดยที่โทรศัพท์มือถือใน
Series นี้จะเน้นไปที่การใช้งานในด้านธุรกิจ
(Business) มากเป็นพิเศษ ซึ่งก็ไม่น่าแปลกใจเท่าไหร่ที่ยังมีผู้ใช้จำนวนไม่น้อยที่ยังไม่คุ้นเคยกับโทรศัพท์มือถือใน
Series นี้ แต่คาดว่าต่อไปคงจะเป็นที่รู้จักและใช้งานแพร่หลายกันมากขึ้นอย่างแน่นอน
ความสามารถเด่นๆ ของ Nokia E60 นี้ก็มีตั้งแต่
รองรับการใช้งานระบบ Dual Mode ทั้ง WCDMA
และ GSM, หน้าจอ TFT LCD 16 ล้านสี ซึ่งมีความละเอียดมากถึง
352 x 416 Pixels, ทำงานบนระบบปฏิบัติการ
Symbian OS เวอร์ชัน 9.1, หน่วยความจำภายใน
64 MB และสามารถใส่การ์ดหน่วยความจำแบบ DV
RS-MMC Card ได้, รองรับการเชื่อมต่อข้อมูลแบบไร้สายได้ครบถ้วนทั้ง
Wi-Fi / EDGE / GPRS / Bluetooth และ Infrared
Port, รองรับการใช้งาน Email เต็มรูปแบบ พร้อมทั้งระบบ
Push Email และมีโปรแกรมสำหรับเปิดอ่านหรือแก้ไขไฟล์เอกสาร
Office ได้ตั้งแต่ Word / PowerPoint
หรือ Excel เป็นต้น ซึ่งถือว่าตั้งใจออกแบบมาเพื่อรองรับการใช้งานด้านธุรกิจได้ดีเป็นพิเศษ
แต่อย่างไรก็ตามความสามารถด้านความบันเทิงอาจจะถูกตัดทอนออกไปบ้าง
เช่น กล้องถ่ายภาพ หรือ วิทยุ เป็นต้น ซึ่งก็น่าเสียดายไม่น้อยเลยทีเดียว
ส่วนการใช้งานจริงจะมีดีมีด้อยอย่างไรนั้น
เชิญติดตามต่อในเนื้อหาด้านล่างได้เลยครับ
อุปกรณ์ที่มีมาให้ในกล่อง
อุปกรณ์ที่มาพร้อมกับชุดขายมาตรฐานของ Nokia E60 จะประกอบไปด้วย
ตัวเครื่อง Nokia E60, แบตเตอรี่ Lithium
Ion รุ่น BL-5C ขนาดความจุด 970 mAh จำนวน
1 ก้อน, หูฟังแบบคล้องหูรุ่น HS-5 จำนวน 1
เส้น, Adapter ชาร์จแบตเตอรี่รุ่น ACP-12U
จำนวน 1 เส้น, สาย USB Data Cable รุ่น CA-53
จำนวน 1 เส้น, แผ่น CD PC Suite จำนวน 1 แผ่น
และคู่มือการใช้งาน จำนวน 1 เล่ม ซึ่งอุปกรณ์ทั้งหมดที่แถมมาให้นี้ก็ถือว่าสามารถใช้งานได้ครบถ้วนพอเพียงเป็นอย่างดี
แต่น่าเสียดายที่ไม่ได้แถมการ์ดหน่วยความจำ
DV RS-MMC Card มาให้ด้วย ผู้ใช้จึงต้องซื้อหามาใส่เพิ่มเติมเอาเองในภายหลัง
เมื่อแรกเห็นตัวเครื่อง
ครั้งแรกที่ได้เห็นรูปร่างหน้าตาของ Nokia
E60 ก็คือเห็นตามเว็บไซต์ต่างๆ ซึ่งดูแล้วก็ไม่ได้มีรูปร่างหน้าตาที่แปลกแหวกแนวมากนัก
และรู้สึกเฉยๆ แต่พอได้มาเห็นตัวจริง
โดยส่วนตัวก็ต้องยอมรับว่าดูดีกว่าที่เห็นในรูปเสียอีก
แม้จะมีรูปร่างหน้าตาที่ออกไปในแนวเหลี่ยมๆ
เรียบๆ แต่ก็เป็นความเรียบที่มีความหรูหราดูดี
และมีความทันสมัยแฝงอยู่ด้วย ซึ่งส่วนหนึ่งอาจจะเป็นเพราะว่าวัสดุที่นำมาใช้นั้นมีคุณภาพที่ค่อนข้างสูงก็เป็นได้
 ที่ด้านหน้าของตัวเครื่องจะมีดีไซน์ที่ดูเรียบๆ
แต่ก็แฝงไปด้วยความหรูหรา เพื่อให้สมกับเป็นโทรศัพท์มือถือสำหรับใช้งานทางธุรกิจ
หรืออาจจะกล่าวว่าดีไซน์เน้นไปยังกลุ่มของนักธุรกิจก็ดูจะไม่ผิดนัก
เมื่อสังเกตดีๆ ที่ขอบทั้งสองด้านที่เห็นทางด้านซ้ายและด้านขวาจะมีความแตกต่างกัน
โดยที่ขอบด้านซ้ายจะเป็นขอบพลาสติกสีดำ และที่ขอบด้านขวาจะเป็นแผ่นโลหะที่คลุมมาตั้งแต่ด้านหน้า
ซึ่งอาจจะดูแปลกๆ เหมือนไม่สมดุลกัน แต่ก็มีความสวยไปอีกแบบ
ที่ด้านบนสุดจะพบกับเซนเซอร์สำหรับวิเคราะห์ระดับแสงตามสภาพแวดล้อมเพื่อปรับความสว่างของหน้าจอและไฟ
Backlight ของแผงปุ่มกดโดยอัตโนมัติ ซึ่งช่วยประหยัดพลังงานได้
ถัดมาที่ด้านล่างของเซนเซอร์จะพบกับลำโพงที่ใช้ฟังขณะสนทนาและโลโก้ยี่ห้อโนเกีย
ถัดมาตรงกลางก็จะเป็นหน้าจอแสดงผลความละเอียดสูง
ซึ่งจะกล่าวถึงในเนื้อหาถัดไป และสุดท้ายที่ด้านล่างก็จะเป็นแผงปุ่มควบคุมหรือปุ่มกดต่างๆ
 ที่ด้านบนสุดคือเซนเซอร์รับแสง
เพื่อใช้วิเคราะห์ระดับแสงตามสภาพแวดล้อมเพื่อปรับความสว่างของหน้าจอและไฟ
Backlight ของแผงปุ่มกดให้เหมาะสมโดยอัตโนมัติ
ซึ่งเป็นการช่วยประหยัดพลังงานของแบตเตอรี่ได้อีกทางหนึ่ง
 ชุดแผงปุ่มกดจะประกอบไปด้วยปุ่มต่างๆ
ที่คล้ายคลึงกันกับปุ่มกดของโทรศัพท์มือถือ
Symbian Smart Phone ของ Nokia อีกหลายๆ รุ่น
โดยไล่มาตั้งแต่ด้านบนจะประกอบไปด้วย ปุ่ม
Softkeys ด้านซ้ายและขวา, จอยสติ๊กควบคุมการทำงานแบบ
5 ทิศทาง, ปุ่มรับสาย-โทรออก, ปุ่มวางสาย,
ปุ่ม Edit, ปุ่มเมนู, ปุ่มลบ และแผงปุ่มกดตัวเลขหรือตัวอักษร
ซึ่งมีรูปแบบไม่แตกต่างจากโทรศัพท์มือถือทั่วๆ
ไป
 ลักษณะการออกแบบและจัดวางแผงปุ่มกด
จะมีความนูนขึ้นมาพอสมควร ดูแล้วน่าจะทำให้สามารถกดใช้งานได้ง่ายกว่าปุ่มที่แบนราบติดไปกับตัวเครื่อง
ซึ่งจะกล่าวถึงเรื่องของปุ่มกดนี้โดยละเอียดอีกครั้งว่าใช้งานได้ดีหรือไม่ในเนื้อหาถัดไป
 เมื่อพลิกมาดูที่ด้านขวาของตัวเครื่อง
ก็จะพบกับดีไซน์ที่เรียบๆ เช่นกัน แต่ก็มีแฝงความหรูไว้พอประมาณ
ด้วยการใช้วัสดุชุบโครเมียมมันวาวให้เกิดเป็นแถบคาดกลางที่ดูสวยงาม
พร้อมรองด้วยแถบข้างที่เป็นวัสดุสีดำกึ่งยางกึ่งพลาสติก โดยที่ด้านบนจะเป็นปุ่มสำหรับใช้งานสั่งงานด้วยเสียงหรือ
Push-to-Talk และติดๆ กันนั้นก็จะเป็นลำโพง
Loudspeaker สำหรับให้เสียงต่างๆ สุดท้ายถัดมาที่ด้านล่างก็จะเป็นช่องสำหรับใส่การ์ดหน่วยความจำเสริมแบบ
DV RS-MMC Card
 ปุ่มกดสำหรับใช้งานสั่งงานด้วยเสียง
หรือ Push-to-Talk มีลักษณะเรียบและค่อนข้างแบนราบ
แต่เท่าที่ลองใช้ก็สามารถกดได้ง่าย ไม่มีปัญหาแต่อย่างใด
ส่วนที่อยู่ติดกันก็คือลำโพง Loudspeaker
ซึ่งดูแล้วค่อนข้างเล็ก แต่คุณภาพเสียงจะเป็นอย่างไรนั้นจะกล่าวถึงอีกครั้งในเนื้อหาถัดไป
 ช่องสำหรับใส่การ์ดหน่วยความจำแบบ
DV RS-MMC Card มีลักษณะเป็นแถบโครเมียมมันวาว
ซึ่งจริงๆ แล้วหากดูดีๆ ช่องใส่ไม่ใช่มีแต่แถบโครเมียมเท่านั้น
แต่จะมีแผ่นพลาสติกสีดำรองอยู่เพื่อเป็นฝาสำหรับเปิดปิดด้วย
 การเปิดฝาของช่องสำหรับใส่การ์ด
DV RS-MMC นั้นก็ไม่ยากเย็นแต่อย่างใด โดยให้นำนิ้วไปจิกและงัดแผ่นพลาสติกสีดำที่เป็นฝาปิดออกมาดังภาพ
ซึ่งแผ่นพลาสติกนี้น่าจะเป็นวัสดุกึ่งยางกึ่งพลาสติก
เพราะมีคุณสมบัติที่แข็ง แต่เหนียวและยืดหยุ่นได้เล็กน้อย
ซึ่งก็น่าจะมีความทนทานดี
 การนำการ์ด
DV RS-MMC มาใส่ในช่องก็ไม่ยากเช่นกัน โดยให้หงายด้านที่เป็นขั้วโลหะของตัวการ์ดขึ้นมาดังภาพ
แล้วดันเข้าไปข้างในให้สุด จนมีเสียงของตัวล็อคดังเบาๆ
ซึ่งก็แสดงว่าการ์ดได้ล็อคอยู่ในตำแหน่งที่ถูกต้องพร้อมใช้งานเรียบร้อยดีแล้ว
ส่วนการถอดการ์ดออกมานั้นก็ให้นำนิ้วจิกดันลงไปเพื่อคลายล็อคแล้วค่อยดึงตัวการ์ดออกมา
ซึ่งก็เป็นวิธีที่สามารถพบเห็นได้ทั่วไปในอุปกรณ์ต่างๆ
ที่มีการใส่การ์ดหน่วยความจำ
 เมื่อพลิกมาดูที่ด้านซ้ายของตัวเครื่อง
ก็จะมีลักษณะการดีไซน์โดยรวมที่คล้ายกันกับที่ด้านขวาของตัวเครื่อง
คือมีลักษณะเป็นแถบโครเมียมมันวาวล้อมรอบด้วยแถบวัสดุสีดำกึ่งยางกึ่งพลาสติก
โดยไล่ตั้งแต่ด้านบนสุดจะเป็นปุ่มกดสำหรับเพิ่ม-ลดระดับเสียง
ติดๆ กันนั้นจะเป็นปุ่มสำหรับการบันทึกเสียง
ส่วนแถบโครเมียมตรงกลางนั้นมีเพื่อความสวยงามเพียงอย่างเดียวไม่สามารถใช้งานอะไรได้
และที่ด้านล่างสุดก็จะเป็น Infrared Port
 ปุ่มกดสำหรับเพิ่ม-ลดระดับเสียง
และปุ่มกดสำหรับใช้งานฟังก์ชันบันทึกเสียงมีลักษณะเรียงเล็กและค่อนข้างแบนราบไปกับพื้นผิว
แต่จากการทดสอบใช้งาน ก็พบว่าสามารถกดใช้งานได้ไม่ยากแต่อย่างใด
 ใน
Nokia E60 ก็มี Infrared Port ใส่มาให้ด้วย
แม้ว่าตอนนี้อาจจะไม่ค่อยได้ใช้งานกันมากนัก
เนื่องจากมีการเชื่อมต่ออื่นๆ ที่สะดวกกว่า
เช่น Bluetooth ให้ใช้งานอยู่แล้ว แต่ในบางครั้ง
การใช้งานบางอย่าง Infrared Port ก็ยังมีประโยชน์ในการใช้งานอยู่เหมือนกัน
 เมื่อพลิกมาที่ด้านบนของตัวเครื่อง
ก็จะมีดีไซน์ที่ดูเรียบๆ ไม่มีอะไรที่แปลกแหวกแนวไปจากโทรศัพท์มือถือทั่วๆ
ไป ส่วนองค์ประกอบต่างๆ ก็ไม่มีอะไรมากมายนอกจาก
ปุ่มเปิด-ปิดเครื่อง หรือเลือก Profiles และช่องสำหรับร้อยสายคล้อง
 ปุ่มสำหรับเปิด-ปิดเครื่องแม้จะดูค่อนข้างเล็ก
แต่ก็มีความนูนขึ้นมาพอสมควร ซึ่งก็ทำให้สามารถกดใช้งานได้ค่อนข้างง่าย
ส่วนช่องสำหรับร้อยสายคล้องก็มีรูปแบบที่เหมือนกันกับที่พบเห็นในโทรศัพท์มือถือทั่วๆ
ไป ซึ่งก็นับเป็นข้อดีเนื่องจากสามารถหาสายคล้องมาใช้ได้ง่ายนั่นเอง
 เมื่อพลิกมาดูที่ด้านล่างของตัวเครื่อง
ก็จะมีดีไซน์ที่เรียบๆ เช่นกัน โดยจะประกอบไปด้วยรูเสียบสายชาร์จแบตเตอรี่
และ Pop-Port ตามสไตล์ของโทรศัพท์มือถือค่าย
Nokia เพื่อเอาไว้สำหรับการเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ต่างๆ
และสุดท้ายที่ด้านล่างนี้ก็จะมีไมโครโฟนสำหรับสนทนาอยู่ด้วย
 การวางตำแหน่งของรูเสียบสายชาร์จแบตเตอรี่
กับ Pop-Port อาจดูแปลกๆ ไปสักหน่อย เนื่องจากวางตำแหน่งได้แบบเยื้องๆ
ไม่เสมออยู่ในระนาบเดียวกัน แต่อย่างไรก็ตามก็ไม่ได้เป็นปัญหาต่อการใช้งานแต่อย่างใด
 หัวแจ็คของ
Adapter สายชาร์จแบตเตอรี่ของ Nokia E60 ยังเป็นแบบหัวใหญ่อยู่
ในขณะที่ดูเหมือนว่าโทรศัพท์มือถือรุ่นใหม่ๆ
ของ Nokia มักจะใช้หัวแจ็คขนาดเล็กเสียเป็นส่วนมาก
แต่เรื่องนี้ก็ไม่ได้เป็นปัญหาสำหรับการใช้งานแต่อย่างใด
 การใช้งาน
Pop-Port ที่เห็นกันส่วนใหญ่ก็คงจะเป็นการเชื่อมต่อกับหูฟัง
หรือสาย USB Data Cable โดยสำหรับ Nokia E60
นี้จะใช้สาย USB Data Cable รุ่น CA-53 ซึ่งมีแถมมาให้ในชุดขายมาตรฐานอยู่แล้ว
 ใส่ขณะที่ต่อหูฟังหรือสาย
USB Data Cable ไว้ที่ Pop-Port ก็สามารถเสียบสายชาร์จแบตเตอรี่ได้พร้อมกันตามปกติ
 เมื่อพลิกมาดูที่ด้านหลังของตัวเครื่องก็จะมีดีไซน์แบบเรียบๆ
อีกเช่นกัน โดยเป็นวัสดุพลาสติกสีดำด้านทั้งแถบ
ที่ด้านบนมีโลโก้ของยี่ห้อ Nokia ติดอยู่
ส่วนที่ด้านล่างก็จะเป็นฝาหลังที่ภายในเอาไว้สำหรับใส่ก้อนแบตเตอรี่และซิมการ์ดนั่นเอง
เริ่มใส่ SIM Card และแบตเตอรี่
 เมื่อต้องการใส่ก้อนแบตเตอรี่
และซิมการ์ด ก็ต้องมีการเปิดฝาที่ด้านหลังของตัวเครื่องออกเสียก่อน
โดยฝาหลังของ Nokia E60 นี้สามารถเปิดออกมาได้ค่อนข้างง่าย
โดยให้นำนิ้ว 2 นิ้วดันฝาออกมาในทิศทางด้านข้างของตัวเครื่องดังรูป
โดยไม่ต้องออกแรงมากจนเกินไป
 ทำการออกแรงดันเพียงแค่เล็กน้อย
ก็สามารถดันฝาหลังออกมาได้อย่างง่ายดายแล้ว
 เมื่อถอดฝาหลังออกมาเรียบร้อยแล้ว
ลักษณะภายในที่เป็นส่วนสำหรับใส่ก้อนแบตเตอรี่
และซิมการ์ดก็จะเป็นดังรูป ซึ่งก็มีลักษณะที่ไม่แปลก
และสามารถพบเห็นได้ทั่วไปภายในโทรศัพท์มือถือในท้องตลาดอีกหลายๆ
รุ่น
 ฝาหลังที่มากับ
Nokia E60 นี้ทำมาจากพลาสติกคุณภาพสูง แม้จะค่อนข้างบางไปสักหน่อย
แต่ดูแล้วก็น่าจะมีความแข็งแรงทนทานดี
 การใส่ซิมการ์ดก็มีวิธีการที่คล้ายกับที่พบเห็นกันทั่วไปในโทรศัพท์มือถืออีกหลายรุ่น
คือจะมีถาดโลหะสำหรับให้เปิดออกมา แล้วก็ให้นำแผ่นซิมการ์ดใส่ลงไปในถาดโลหะให้ตรงร่อง
และหันซิมการ์ดในทิศทางที่ถูกต้อง หลังจากนั้นก็ให้กดแผ่นโลหะให้อยู่ในแนวพื้นระนาบแล้วดันขึ้นให้เข้าล็อคดังภาพ
ก็เป็นอันเสร็จสิ้นขั้นตอนการใส่ซิมการ์ด
 แบตเตอรี่รุ่น
BL-5C ขนาดความจุ 970 mAh ของ Nokia
E60 ก็มีลักษณะที่ผู้ใช้หลายคนคงคุ้นเคยกันดี
เนื่องจากเหมือนกับแบตเตอรี่ของโทรศัพท์มือถือยี่ห้อ
Nokia อีกหลายๆ รุ่น
 การนำก้อนแบตเตอรี่ใส่เข้าไปในช่องนั้นสามารถทำได้โดยง่าย
เพียงแค่ออกแรงดันก้อนแบตเตอรี่เข้าไปยังด้านของขั้วโลหะ
แล้วจัดก้อนแบตเตอรี่ให้เข้าล็อคเข้าที่เข้าทางดังภาพ
ก็พร้อมที่จะปิดฝาหลัง และเปิดใช้งานเครื่องได้แล้ว
ความเหมาะมือและน้ำหนัก
 เมื่อได้ลองจับถือตัวเครื่อง
Nokia E60 เป็นครั้งแรก ก็รู้สึกว่าตัวเครื่องจะออกเหลี่ยมๆ
ไปสักหน่อย แต่ก็สามารถจับถือได้อย่างถนัดเหมาะมือดี
ความหนาของตัวเครื่องก็ไม่มาก รู้สึกว่าบางเสียด้วยซ้ำ
ส่วนเรื่องของวัสดุ ความประณีตในส่วนต่างๆ
หรือการประกอบนั้นจัดว่าน่าประทับใจมากเลยทีเดียว
เนื่องจากเมื่อได้สัมผัสดูแล้วก็จะรู้สึกได้ว่ามีความแตกต่างขึ้นมาอีกระดับจากโทรศัพท์มือถือระดับราคาไม่แพงทั่วๆ
ไป
 เมื่อนำมาเทียบกับขนาดของฝ่ามือขนาดใหญ่ของผู้ชายก็จะเห็นว่ามีขนาดที่ไม่ใหญ่เท่าไหร่นัก
ค่อนข้างกำลังดี และโดยส่วนตัวแล้วเมื่อได้ใช้งานจริงๆ
ก็ค่อนข้างประทับใจ มีความรู้สึกว่าเป็นโทรศัพท์มือถือที่มีรูปร่างหน้าตาทะมัดทะแมงคล่องตัวน่าใช้งานดี
ความหนาของตัวเครื่อง
แม้จะไม่ได้บางเฉียบเหมือนกับโทรศัพท์มือถือที่เน้นเรื่องความบางเฉียบบางรุ่น
แต่ความรู้สึกที่ได้กลับรู้สึกว่า Nokia E60
มีความบางอยู่พอตัวเลยทีเดียว เมื่อเปรียบเทียบกับความสามารถที่มีอยู่ในตัวมันเอง
และเมื่อเปรียบเทียบกับโทรศัพท์มือถือ Symbian
Smart Phone รุ่นอื่นๆ ในปัจจุบัน
 เมื่อนำ
Nokia E60 มาวางเปรียบเทียบขนาดกับโทรศัพท์มือถือรุ่นอื่นๆ
ก็จะพบว่ามีรูปร่างที่ออกไปทางผอมสูง ทั้งนี้อาจจะเป็นเพราะบรรดาปุ่มกดต่างๆ
ถูกนำไปเรียงตัวให้เป็นแนวสูงขึ้นไป และถูกบีบให้เหลืออยู่เพียง
3 คอลัมน์ แทนที่จะแบ่งบางปุ่มมาไว้ทางด้านข้างบ้าง
แต่อย่างไรก็ตาม โดยความเห็นส่วนตัว แม้
Nokia E60 จะดูเป็นโทรศัพท์มือถือแบบแท่งที่ดูผอมสูง Nokia
E60 ก็ไม่ได้มีดีไซน์ที่ดูขัดหูขัดตาแต่อย่างใด
 เมื่อนำ
Nokia E60 มาวางเปรียบเทียบกับบัตรทั่วไป
ก็จะมีความสูงมากกว่าพอสมควร ซึ่งก็ไม่ถือเป็นเรื่องแปลกแต่อย่างใด
สำหรับโทรศัพท์มือถือ Symbian Smart Phone
แบบแท่งที่มักจะมีหน้าจอที่ใหญ่ และแผงปุ่มกดที่ประกอบไปด้วยปุ่มกดมากมาย
เริ่มเปิดเครื่อง
 หลังจากที่ใส่ซิมการ์ดและแบตเตอรี่เรียบร้อยดีแล้ว
ก็พร้อมที่จะเปิดเครื่องใช้งาน โดยวิธีการเปิดเครื่องนั้นก็คล้ายกันกับโทรศัพท์มือถือจากค่าย
Nokia อีกหลายๆ รุ่น นั่นคือกดปุ่มเปิดเครื่องที่อยู่ด้านบนหัวของตัวเครื่องค้างไว้ประมาณ
1-2 วินาที เครื่องก็จะเริ่มเปิดการทำงานของตัวเอง
เพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับการใช้งานของผู้ใช้ต่อไป
ความคมชัดและสวยงามของหน้าจอแสดงผล
 หน้าจอแสดงผลแบบ
TFT LCD ของ Nokia E60 นับว่าเป็นจุดเด่นที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งเลยทีเดียว
เนื่องจากสามารถแสดงสีสันได้มากถึง 16 ล้านสี
และที่สำคัญคือมีความละเอียดมากถึง 352 x
415 Pixels ซึ่งมองดูแล้วมีความละเอียดมากเสียจนมองไม่เห็นแต่ละจุด
Pixels ก็ว่าได้ ประกอบกับความกว้างของหน้าจอที่ไม่มากนัก
ก็ยิ่งทำให้ความละเอียดถูกบีบเข้ามามากขึ้นเข้าไปอีก
การแสดงผลจึงดูเนียนตาเป็นอย่างมาก ส่วนสีสันระดับ
16 ล้านสีก็มีความสดใสสมกับที่เป็น 16 ล้านสี
แต่อาจจะดูสดใสน้อยกว่าโทรศัพท์มือถือหน้าจอ
16 ล้านสีจากค่าย Panasonic อยู่บ้างเล็กน้อย
แต่ในเรื่องของความละเอียดดูเนียนตา Nokia
E60 ก็สามารถเอาชนะไปได้เช่นกัน สรุปแล้วประสิทธิภาพในการแสดงผลของหน้าจอ
Nokia E60 จะสร้างความประทับใจให้กับผู้ใช้อย่างแน่นอน
ปุ่มกด และการตอบสนอง
 ปุ่มกดของ
Nokia E60 มีการเรียงตำแหน่งที่ไม่แปลกแหวกแนวแต่อย่างใด
ซึ่งก็ส่งผลให้ผู้ใช้ไม่ต้องเรียนรู้อะไรใหม่มากนัก
เนื่องจากก็คุ้นเคยกันดีอยู่แล้ว โดยปุ่มกดทั้งหมดจะประกอบไปด้วย
ปุ่ม
Softkeys ด้านซ้ายและขวา, จอยสติ๊กควบคุมการทำงานแบบ
5 ทิศทาง, ปุ่มรับสาย-โทรออก, ปุ่มวางสาย,
ปุ่ม Edit, ปุ่มเมนู, ปุ่มลบ และแผงปุ่มกดตัวเลขหรือตัวอักษร
ซึ่งเท่าที่ได้ทดสอบใช้งานจริง ก็พบว่าปุ่มจอยสติ๊กมีการตอบสนองในบางจังหวะที่ไม่ได้ดั่งใจบ้าง
เช่นบางครั้งตั้งใจที่จะเลื่อนขึ้น แต่การตอบสนองที่ได้กลับเป็นการกดตกลง
หรือเป็นการกดลงไปตรงกลางไปเสียอย่างนั้น
ซึ่งวิธีแก้ไขก็คือ เวลาที่จะเลื่อนไปตามทิศทางต่างๆ
ทั้ง 4 ทิศ ก็ให้ออกแรงกดหรือแรงดันให้น้อยลง
ก็น่าจะช่วยให้การตอบสนองดีขึ้น
ส่วนปุ่มกดอื่นรอบๆ จอยสติ๊ก ค่อนข้างน่าประทับใจมาก
เริ่มตั้งแต่วัสดุที่ใช้จะดูเหมือนเป็นพลาสติกแข็งคุณภาพสูงที่ดูเหมือนโลหะ
กดแล้วรู้สึกนุ่มนวลมากและตอบสนองได้ดี กดได้ถนัดมือคล่องตัว รวมถึงได้ความรู้สึกที่มั่นคงแข็งแรงอีกด้วย
ไม่มีอาการโยกคลอนที่ผิดปกติให้เห็นแต่อย่างใด
ซึ่งบรรดาปุ่มกดคุณภาพดีเหล่านี้นี่เองก็เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้
Nokia E60 มีความน่าใช้มากยิ่งขึ้น และสำหรับความเร็วในการประมวลผลนั้นถือว่าทำได้ค่อนข้างเร็วทันใจ
และในบางกรณีรู้สึกเหมือนกับว่าจะประมวลผลได้เร็วกว่าโทรศัพท์มือถือ
Smartphone รุ่นอื่นๆ ของ Nokia เสียด้วยซ้ำ
ดังนั้นจึงสรุปได้ว่าปัญหาอาการหน่วงเวลาใช้งานทั่วๆ
ไปก็ไม่น่าจะมีให้เห็นใน E60
 เมื่ออยู่ในที่มืด
หรือที่ๆ มีแสงสว่างไม่เพียงพอ เซนเซอร์รับแสดงจะวิเคราะห์สภาพแสงในขณะนั้นและสั่งงานให้ไฟ
Backlight สีขาวของแผงปุ่มกดสว่างขึ้นมาดังรูป
ซึ่งก็มีความสว่างชัดเจนในระดับที่ปกติดี
สามารถมองเห็นตัวเลข ตัวอักษร หรือเครื่องหมายต่างๆ
ได้ง่าย ส่วนแถบไฟสีขาว 4 แถบที่เห็นอยู่ตรงกลางนั้นดูแล้วไม่ได้ช่วยให้การมองเห็นดีขึ้นแต่อย่างใด
จุดประสงค์ที่มีก็คงมีไว้เพื่อให้ดูหรูหราสวยงามขึ้นเท่านั้นเอง
เมนูและฟังก์ชันการทำงาน
ที่หน้าจอ Standby ของ Nokia E60 ผู้ใช้สามารถเลือกได้ว่าจะให้แสดงเมนูแบบ
Active Standby หรือไม่ ซึ่งเมนู Active Standby
นี้ก็มักจะมีอยู่ในโทรศัพท์มือถือรุ่นใหม่ๆ
จากค่าย Nokia อีกหลายๆ รุ่น และช่วยให้ผู้ใช้สามารถเข้าใช้งานเมนูต่างๆ
ได้สะดวกรวดเร็วขึ้น รวมถึงสามารถตรวจสอบสถานะของการใช้งานต่างๆ
ได้ง่ายขึ้นด้วย
เมื่อกดที่ปุ่มเปิด-ปิดเครื่องที่ด้านบนของตัวเครื่อง
ก็จะแสดงเมนูสำหรับการ ปิดเครื่อง, ล็อคปุ่มกด
หรือเลือก Profiles แบบ ทั่วไป, เงียบ,
ประชุม, นอกสถานที่, วิทยุติดตามตัว, ออฟไลน์
หรือล็อคโทรศัพท์


ที่เมนู Active Standby ผู้ใช้สามารถกำหนดค่าได้ว่าจะให้มีเมนูใดบ้างมาปรากฏอยู่ตรงส่วนนี้
แต่ถ้าหากใช้เมนูที่เครื่องตั้งมาให้ตั้งแต่แรกก็จะประกอบไปด้วยเมนู
ปฏิทิน, นาฬิกา, เว็บ, ตัวจัดการไฟล์, Bluetooth
และเครื่องคิดเลข ส่วนที่ด้านล่างถัดมาก็จะเป็นการแสดงบันทึกที่มีในปฏิทิน
และปุ่ม Softkeys ด้านซ้ายและด้านขวาก็คือการเข้าใช้งานเมนูข้อความ
และเมนูรายชื่อ ตามลำดับ
 การบันทึกเสียงสามารถทำได้อย่างรวดเร็วด้วยการกดปุ่มบันทึกเสียงที่อยู่ทางด้านซ้ายของตัวเครื่อง
ที่เมนูหลักของเครื่อง จะเป็นดังรูป และผู้ใช้สามารถเลือกมุมมองการแสดงผลเมนูให้เป็นแบบตารางกริด
หรือแบบรายการก็ได้
 เมื่อกดดูที่ตัวเลือกในเมนู
ก็จะปรากฏเมนูย่อยให้ผู้ใช้เลือกใช้งานได้
เช่น ย้าย, ย้ายไปโฟลเดอร์, โฟลเดอร์ใหม่
รวมถึงการแสดงข้อมูลพื้นที่ของหน่วยความจำภายในเครื่อง
และการ์ดหน่วยความจำ โดยพื้นที่ของหน่วยความจำภายในเครื่องที่เห็นในภาพจะมีเพียงประมาณ
2.8 MB เท่านั้น ซึ่งได้สร้างความสงสัยขึ้นมาทันที
เนื่องจากตามข้อมูลจากเว็บไซต์ Nokia เองระบุไว้ว่า
Nokia E60 มีหน่วยความจำภายในมากถึง 64 MB
แต่อย่างไรก็ตามเมื่อได้สอบถามกับทางเจ้าหน้าที่โดยตรงก็ได้รับคำตอบว่าหน่วยความจำภายในเครื่องที่วางจำหน่ายจริงก็จะมี
64 MB ตามที่ระบุเอาไว้ตามปกติ เพียงแต่เครื่องที่ได้รับมาทดสอบนี้ยังเป็นเครื่องที่ยังไม่สมบูรณ์นัก
ซึ่งคุณสมบัติอาจแตกต่างจากเครื่องที่วางจำหน่ายจริงบ้างเล็กน้อยนั่นเอง
เมนูข้อความ
เมนูข้อความ คือเมนูที่รวบรวมฟังก์ชันการทำงาน
หรือการจัดการต่างๆ เกี่ยวกับข้อความเอาไว้
ทั้งการสร้างข้อความใหม่, ถาดเข้าที่แสดงรายการข้อความที่ถูกส่งเข้ามา,
โฟลเดอร์ส่วนตัว, ศูนย์ฝากข้อความ, ฉบับร่าง,
ข้อความที่ส่ง, ถาดออก และรายงานข้อมูลเกี่ยวกับการรับส่งข้อความ
การสร้างข้อความสามารถทำได้ 3 รูปแบบหลักคือ
ข้อความตัวอักษร, ข้อความมัลติมีเดีย และอีเมล

การสร้างข้อความตัวอักษรมีเครื่องมือพื้นฐานสำหรับการสร้างข้อความให้เลือกใช้เช่นเดียวกันกับโทรศัพท์มือถือ
Smartphone รุ่นใหม่ๆ อีกหลายรุ่นจากค่าย
Nokia เช่น ระบบสะกดคำอัตโนมัติทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ,
การเลือกโหมดตัวเลขหรือเลือกภาษาที่เขียน,
การเพิ่มผู้รับ, การแทรกตัวอย่างข้อความ หรือการแทรกสัญลักษณ์หรืออักขระพิเศษ
เป็นต้น
 ผู้ใช้สามารถกำหนดค่าใช้งานสำหรับข้อความตัวอักษรได้ด้วยตนเอง
เช่น ศูนย์ข้อความที่ใช้, การเข้ารหัสอักขระ,
การเลือกรับรายงาน, อายุของข้อความ, รูปแบบของข้อความที่จะส่ง
รวมถึงการแสดงรายละเอียดเฉพาะของข้อความนั้นๆ
 รูปแบบของข้อความที่ชนิดหนึ่งที่นิยมใช้งานกันก็คือข้อความมัลติมีเดีย
หรือที่เรียกกันว่า MMS ซึ่งใน Nokia E60
ก็มีฟังก์ชันใช้งานพื้นฐานให้เลือกใช้ครบถ้วนทั้งการ
เพิ่มผู้รับ, สร้างการนำเสนอ, ใส่รูปภาพ,
ใส่คลิปเสียง, ใส่วีดีโอคลิป, ใส่ตัวอย่างข้อความ
และผู้ใช้สามารถตั้งค่าใช้งานของข้อความมัลติมีเดียได้
เช่น การเลือกรับรายงาน, อายุข้อความ หรือการแสดงข้อมูลเฉพาะของข้อความมัลติมีเดีย
 นอกจากส่วนของการสร้างข้อความแบบต่างๆ
แล้ว ในเมนูข้อความก็ยังมีส่วนที่เกี่ยวข้องกับการจัดการข้อความอีกหลายส่วน
ได้แก่ ถาดเข้าซึ่งเก็บข้อความที่ถูกส่งเข้ามา,
โฟลเดอร์ส่วนตัวที่ในที่นี้เก็บตัวอย่างข้อความเอาไว้,
ฉบับร่างซึ่งเก็บข้อความที่ยังสร้างไม่เสร็จเอาไว้,
ข้อความที่ส่งซึ่งเก็บรายการข้อความที่ถูกส่งไปแล้ว,
ถาดออกซึ่งเก็บข้อความที่ยังส่งไม่สำเร็จ
และรายงานซึ่งเก็บการรายงานต่างๆ เกี่ยวกับการรับ-ส่งข้อความเอาไว้
เมนูรายชื่อ
เมนูรายชื่อ คือเมนูที่รวบรวมฟังก์ชันหรือเครื่องมือจัดการเกี่ยวกับรายชื่อเอาไว้
เช่นการค้นหารายชื่อ, การสร้างกลุ่มผู้โทร,
การสร้างรายชื่อใหม่, การแก้ไขรายชื่อที่มีอยู่แล้ว,
การแสดงข้อมูลเฉพาะของแต่ละรายชื่อ หรือการตั้งค่าใช้งานต่างๆ
เป็นต้น
 แต่ละรายชื่อ
ผู้ใช้สามารถทำการเพิ่มภาพย่อ หรือ Picture
Caller ID ได้ รวมถึงสามารถเพิ่มเติมรายละเอียดปลีกย่อยของแต่ละรายชื่อได้
ตั้งแต่ คำนำหน้า, คำต่อท้าย, ตำแหน่ง, ชื่อเล่น,
มือถือ, มือถือ (บ้าน), มือถือ (ที่ทำงาน),
โทรศัพท์, โทรศัพท์ (บ้าน), โทรศัพท์ (ที่ทำงาน),
สายวีดีโอ, สายวีดีโอ (บ้าน), สายวีดีโอ (ที่ทำงาน),
โทรศัพท์เน็ต, โทรศัพท์เน็ต (บ้าน), โทรศัพท์เน็ต
(ที่ทำงาน), สนทนา, มุมมองร่วม, SIP, แฟ็กซ์,
แฟ็กซ์ (บ้าน), แฟ็กซ์ (ที่ทำงาน), วิทยุติดตามตัว,
อีเมล, อีเมล (บ้าน), อีเมล (ที่ทำงาน), ที่อยู่เว็บ,
ที่อยู่เว็บ (บ้าน), ที่อยู่เว็บ (ที่ทำงาน),
ที่อยู่, ที่อยู่ (บ้าน), ที่อยู่ (ที่ทำงาน),
DTMF, วันเกิด และหมายเหตุ ซึ่งจะเห็นว่ารายละเอียดปลีกย่อยของแต่ละรายชื่อที่สามารถใส่เพิ่มเติมได้นั้นมีอยู่อย่างครบถ้วน
นอกจากผู้ใช้จะสามารถแก้ไขข้อมูลแต่ละประเภทได้แล้ว
ยังสามารถแก้ไขชื่อฟิลด์ข้อมูลได้ด้วยหากไม่ชอบชื่อฟิลด์เดิมที่เครื่องตั้งเอาไว้ตั้งแต่แรก
หากผู้ใช้ต้องการเรียกดูข้อมูลภาพรวมของรายชื่อที่เก็บบันทึกเอาไว้ในเครื่องก็สามารถเรียกดูได้
นอกจากนั้นก็ยังสามารถกำหนดรูปแบบของการแสดงผลรายชื่อได้ด้วย
เช่นการ แสดงนามสกุลก่อนชื่อ หรือแสดงชื่อก่อนนามสกุล
 แม้
E60 จะสามารถแสดงรูปภาพขณะมีสายเรียกเข้าได้
แต่ก็คงไม่ค่อยถูกใจผู้ใช้ส่วนใหญ่เท่าไหร่นัก
เนื่องจากภาพที่แสดงมีขนาดที่เล็กมาก ดังนั้นหากผู้ใช้ต้องการให้แสดงรูปภาพที่ใหญ่กว่านี้
เช่นแสดงแบบเต็มหน้าจอ ก็คงจะต้องไปหาโปรแกรมมาติดตั้งเพิ่มเติมเอาเองในภายหลัง
เมนูบันทึก
เมนูบันทึก คือเมนูที่รวมรวมฟังก์ชัน หรือการจัดการเกี่ยวกับบันทึกประวัติการโทร
หรือการเชื่อมต่อข้อมูลแพคเก็ตเ เอาไว้ โดยแบ่งออกเป็น
3 หมวดหลักก็คือ เบอร์โทรล่าสุด, เวลาการโทร
และข้อมูลแพคเก็ต
 การบันทึกเบอร์โทรล่าสุด
แบ่งออกเป็น 3 รูปแบบคือ เบอร์ที่ไม่ได้รับสาย,
เบอร์ที่รับสาย และเบอร์ที่โทรออก ซึ่งข้อมูลแต่ละรายการจะมีการบันทึกวันที่
และเวลาของรายการนั้นเอาไว้ให้เห็น
ในเมนูบันทึกนี้ก็ยังสามารถเลือกดูรายการบันทึกแบบรวมทุกประเภทได้
ไม่ว่าจะเป็นการบันทึกการโทร หรือการบันทึกการเชื่อมต่อข้อมูลแพคเก็ต
ซึ่งก็ช่วยให้สามารถดูภาพรวมได้ง่ายและรวดเร็วดีขึ้น
หากผู้ใช้ต้องการที่จะตรวจสอบว่าเวลาที่ใช้ไปทั้งหมดในการโทรนั้นเป็นเท่าไหร่
ก็สามารถตรวจสอบได้ ตั้งแต่เวลาที่ใช้ในการโทรครั้งล่าสุด,
เวลาทั้งหมดที่โทรออก, เวลาทั้งหมดที่รับสาย
และเวลารวมทั้งหมดที่เกี่ยวกับการโทร
 สำหรับตัวนับข้อมูลแพคเก็ต
ก็คือตัวนับปริมาณข้อมูลของการใช้งานระบบ
EDGE หรือ GPRS นั่นเอง ซึ่งแบ่งเป็นปริมาณข้อมูลที่ส่งออกทั้งหมด
และปริมาณข้อมูลที่รับเข้ามาทั้งหมด และหากผู้ใช้ต้องการที่จะเริ่มนับใหม่ตั้งแต่ต้น
ก็สามารถทำการล้างตัวนับได้

ผู้ใช้สามารถเลือกได้ว่าจะให้เครื่องเก็บบันทึกข้อมูลประวัติต่างๆ
ไว้นานเท่าไหร่ โดยมีให้เลือกตั้งแต่ ไม่ต้องบันทึก,
1 วัน, 10 วัน และ 30 วัน รวมถึงสามารถตั้งค่าได้ว่าจะให้แสดงเวลาการโทรในขณะที่กำลังสนทนาด้วยหรือไม่
เมนูที่ทำงาน
เมนูที่ทำงาน คือเมนูที่รวบรวมโปรแกรมต่างๆ
ที่เกี่ยวกับการจัดการไฟล์หรือเอกสารเอาไว้
ตั้งแต่ โปรแกรมจัดการไฟล์, โปรแกรมจัดการไฟล์
Word, โปรแกรมจัดการไฟล์ Excel, โปรแกรมจัดการไฟล์
PowerPoint, โปรแกรมจัดการการนำเสนอผ่านทางหน้าจอ,
การจัดการเครื่องพิมพ์ และการจัดการเครื่อง
HP
 โปรแกรมตัวจัดการไฟล์
คือโปรแกรมที่รวมรวมฟังก์ชันสำหรับการจัดการกับไฟล์ประเภทต่างๆ
เอาไว้ เช่นไฟล์การนำเสนอ, เกมส์, คลิปเสียง,
ไฟล์ที่ติดตั้ง, รูปภาพ, วีดีโอคลิป หรือสมุดงาน
เป็นต้น เช่นหากเป็นไฟล์รูปภาพก็จะมีฟังก์ชันสำหรับจัดการกับรูปภาพหลายอย่างเช่น
ส่ง, ตั้งเป็นภาพพื้นหลัง, เพิ่มในรายชื่อ,
หมุนภาพ, ขยายภาพ, แสดงภาพเต็มจอ หรือสั่งพิมพ์ภาพ
เป็นต้น นอกจากนั้นผู้ใช้ก็ยังสามารถเรียกดูข้อมูลพื้นที่ของหน่วยความจำที่ใช้ไป
และพื้นที่ของหน่วยความจำที่เหลืออยู่ได้ด้วย
ซึ่งในกรณีของหน่วยความจำภายในเครื่อง (ไม่ใช่การ์ดหน่วยความจำ)
ได้กล่าวไว้ก่อนหน้านี้แล้วว่าในภาพที่เห็นมีอยู่เพียงประมาณ
2.8 MB นั้น เป็นเพราะเครื่องนี้เป็นเพียงเครื่องทดสอบ
แต่ถ้าหากเป็นเครื่องที่วางจำหน่ายจริง ก็คงจะมีให้
64 MB ตามข้อมูลอย่างเป็นทางการของ Nokia
ตามปกตินั่นเอง
โปรแกรม Document คือโปรแกรมที่มีไว้สำหรับเปิดดู,
สร้าง, จัดการ หรือแก้ไขไฟล์ประเภทเอกสาร หรือเรียกกันง่ายๆ
ว่าไฟล์ Word โดยมีฟังก์ชันการทำงานพื้นฐานที่คล้ายคลึงกันกับโปรแกรม
Microsoft Word ที่ใช้กันในเครื่องคอมพิวเตอร์
เพียงแต่จะมีความซับซ้อนหรือหลากหลายน้อยกว่า
โดยฟังก์ชันการทำงานที่น่าสนใจของโปรแกรม
Document ที่มีอยู่ใน E60 นี้ ก็มีตั้งแต่
การเปิดไฟล์เอกสารขึ้นมาแก้ไข, การสร้างไฟล์เอกสารใหม่,
การสร้างโฟลเดอร์ใหม่, การเปลี่ยนชื่อไฟล์,
การซูมขยาย, การแสดงผลแบบเต็มหน้าจอ, การเปลี่ยนฟอนต์,
การปรับรูปแบบของฟอนต์, การจัดหน้า, การแทรกหมายเหตุ,
การแทรกลิงค์, การแทรกตาราง, การแทรกรูปภาพ,
การค้นหาคำและแทนที่คำ หรือการสั่งพิมพ์เอกสาร
เป็นต้น



โปรแกรม Sheet คือโปรแกรมที่มีไว้สำหรับเปิดดู,
สร้าง, จัดการ หรือแก้ไขไฟล์ประเภทแผ่นงาน
หรืออาจจะเรียกง่ายๆ ว่าไฟล์แบบ Excel นั่นเอง
ซึ่งโปรแกรม Sheet นี้ก็มีฟังก์ชันการทำงานพื้นฐานหลายอย่างที่คล้ายกันกับโปรแกรม
Microsoft Excel ที่ใช้กันในเครื่องคอมพิวเตอร์
เพียงแต่จะมีความหลากหลายหรือซับซ้อนน้อยกว่า
โดยฟังก์ชันการทำงานของโปรแกรม Sheet ที่น่าสนใจก็มีตั้งแต่
การเปิดดูไฟล์แผ่นงาน, การสร้างไฟล์แผ่นงาน,
การสร้างโฟลเดอร์ใหม่, การเปลี่ยนชื่อไฟล์,
การกำหนดการแสดงผลในช่องเซล, การซูมขยาย,
การกำหนดรูปแบบของการแสดงผลแผ่นงาน, การแทรกแผ่นงาน,
การแทรกชาร์ท, การแทรกชื่อเซล, การเปลี่ยนฟอนต์,
การกำหนดรูปแบบของฟอนต์, การกำหนดรูปแบบของตัวเลข,
การจัดหน้า, การใส่กรอบ, การกำหนดขนาดของเซล,
การค้นหาและแทนที่, การแทรกหมายเหตุ, การแทรกลิงค์
หรือการสั่งพิมพ์แผ่นงาน เป็นต้น


 โปรแกรม
Presentation คือโปรแกรมที่มีไว้สำหรับเปิดดู,
สร้าง, จัดการ หรือแก้ไขไฟล์ประเภทการนำเสนอ
หรืออาจจะเรียกง่ายๆ ว่าไฟล์แบบ PowerPoint นั่นเอง
ซึ่งโปรแกรม Presentation นี้ก็มีฟังก์ชันการทำงานพื้นฐานหลายอย่างที่คล้ายกันกับโปรแกรม
Microsoft PowerPoint ที่ใช้กันในเครื่องคอมพิวเตอร์
เพียงแต่จะมีความหลากหลายหรือซับซ้อนน้อยกว่า
โดยฟังก์ชันการทำงานของโปรแกรม PowerPoint ที่น่าสนใจก็มีตั้งแต่
การเปิดดูไฟล์นำเสนอ, การสร้าางไฟล์นำเสนอ,
การสร้างโฟลเดอร์ใหม่, การเปลี่ยนชื่อไฟล์,
การแสดงผลแบบเต็มหน้าจอ, การเลื่อนแผ่นสไลด์,
การลบแผ่นสไลด์, การคัดลอกแผ่นสไลด์, การซ่อนแผ่นสไลด์,
การแสดงภาพสไลด์, การค้นหาและแทนที่, การตั้งค่า
Outline, การตั้งค่า Layout หรือการตั้งค่าการบันทึก
เป็นต้น
 หากผู้ใช้ต้องการที่จะให้ทำการแสดงผลออกทางเครื่องโปรเจคเตอร์
เช่นอาจจะต้องการนำเสนองาน Presentation ผ่านทางเครื่องโปรเจคเตอร์ในห้องประชุมก็สามารถทำได้
โดยทำผ่านโปรแกรมส่งออกหน้าจอ

 ในโปรแกรมเครื่องพิมพ์
จะเป็นการเพิ่มเครื่องพิมพ์ที่ต้องการเชื่อมต่อใช้งาน
และกำหนดค่าต่างๆ เกี่ยวกับเครื่องพิมพ์นั้น
เช่นกำหนดไดรเวอร์, กำหนดชื่อเครื่องพิมพ์,
กำหนดบริการ, เลือกจุดเชื่อมต่อ, กำหนดขนาดของกระดาษที่ใช้พิมพ์
หรือการกำหนดแนวของการพิมพ์ว่าจะให้เป็นแนวตั้งหรือแนวนอน เป็นต้น
 สำหรับเครื่องพิมพ์ยี่ห้อ
HP จะมีฟังก์ชันพิเศษเอาไว้รองรับเครื่องพิมพ์ยี่ห้อนี้ไว้ให้โดยเฉพาะเลยทีเดียว
ตั้งแต่การเลือกคุณภาพของการพิมพ์ที่เลือกได้ตั้งแต่แบบ
ปกติ แบบร่าง และดีที่สุด, การเลือกประเภทสื่อที่เลือกได้ระหว่าง
ธรรมดา และ Photo, การเลือกโหมดสีที่เลือกได้ตั้งแต่
สี Grey_k และ Grey_cmy และสุดท้ายคือการเลือกรุ่นของเครื่องพิมพ์ยี่ห้อ
HP ซึ่งมีให้เลือกอยู่หลายรุ่น หรือหลาย Series
เมนูโปรแกรมช่วย
เมนูโปรแกรมช่วย คือเมนูที่รวบรวมโปรแกรมที่มักจะได้ใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวันเอาไว้
ไม่ว่าจะเป็นปฏิทินนัดหมาย, สมุดบันทึก, เครื่องคิดเลข
หรือโปรแกรมแปลงหน่วย
 โปรแกรมปฏิทินนั้นมีรูปแบบที่เหมือนกันกับโปรแกรมปฏิทินที่มีอยู่ในโทรศัพท์มือถือ
Smartphone จากค่าย Nokia อีกหลายรุ่น ซึ่งความสามารถที่น่าสนใจก็คือ
สามารถสร้างรายการปฏิทินใหม่ได้ทั้งหมด 4
ประเภทคือ การประชุม, บันทึก, วันครบรอบ และสิ่งที่ต้องทำ
และหากต้องการไปยังวันที่ๆ ต้องการดูข้อมูลหรือทำการสร้างรายการใหม่ก็สามารถระบุวันที่ๆ
ต้องการนั้นได้ นอกจากนั้นผู้ใช้ก็ยังสามารถตั้งค่าการใช้งานปฏิทินได้ด้วยตนเองอีก
เช่น ตั้งเสียงปลุกปฏิทิน, ตั้งมุมมองว่าต้องการให้แสดงเป็นเดือน
แสดงเป็นสัปดาห์ แสดงเป็นวัน หรือแสดงสิ่งที่ต้องทำ
หรือกำหนดว่าให้ให้วันไหนเป็นวันเริ่มสัปดาห์
เป็นต้น
 โปรแกรมสมุดบันทึกใน
E60 ไม่มีฟังก์ชันการทำงานอะไรที่ซับซ้อน
โดยรวมแล้ว ก็มีฟังก์ชันการทำงานที่คล้ายคลึงกันกับการสร้างข้อความตัวอักษรในเมนูข้อความนั่นเอง
 โปรแกรมเครื่องคิดเลขใน
E60 นี้เป็นเพียงโปรแกรมเครื่องคิดเลขที่มีเพียงฟังก์ชันการคำนวณแบบพื้นฐานเท่านั้น
ไม่มีฟังก์ชันคำนวณระดับสูงแต่อย่างใด ซึ่งหากผู้ใช้ต้องการที่จะใช้งานคำนวณฟังก์ชันการคณิตศาสตร์ระดับสูงหรือซับซ้อนกว่านี้
ก็คงจะต้องไปหาโปรแกรมเครื่องคิดเลขที่มีประสิทธิภาพมากกว่านี้มาติดตั้งเพิ่มเติมเองในภายหลัง
 โปรแกรมแปลงหน่วย
ก็ถือเป็นโปรแกรมพื้นฐานอย่างหนึ่งที่มักจะเห็นในโทรศัพท์มือถือส่วนใหญ่ในปัจจุบัน
ซึ่งสามารถแปลงหน่วยได้หลายประเภท ตั้งแต่
สกุลเงิน, พื้นที่, พลังงาน, ความยาว, มวล,
กำลังไฟฟ้า, ความดัน, อุณหภูมิ, เวลา, ความเร็ว
และปริมาตร ซึ่งผู้ใช้สามารถทำการเปลี่ยนแปลงแก้ไขค่าตัวเลขของการแปลงที่จะใช้ในการคำนวณได้ด้วยตนเอง
 การใช้งานศูนย์ข้อความเสียงเพื่อฝากข้อความเสียง
ผู้ใช้จะต้องทำการระบุหมายเลขของศูนย์ฝากให้เรียบร้อยเสียก่อน
เมนูนาฬิกา
 เมนูนาฬิกา
คือเมนูที่รวมรวมฟังก์ชันการทำงาน หรือการกำหนดค่า
เกี่ยวกับวันและเวลา หรือนาฬิกาเอาไว้ เช่น
การตั้งปลุก, การตั้งวันที่และเวลา, การเลือกเขตเวลา,
การกำหนดรูปแบบของการแสดงวันที่ รวมถึงหน้าแสดงผลที่แสดงการเปรียบเทียบเวลาระหว่างประเทศหรือเมืองต่างๆ
ทั่วโลก
เมนูเชื่อมต่อ
เมนูเชื่อมต่อ คือเมนูที่รวมรวมฟังก์ชันการทำงาน
หรือการปรับตั้งค่าเกี่ยวกับการเชื่อมต่อข้อมูลในรูปแบบต่างๆ
เอาไว้ ตั้งแต่ Bluetooth, Infrared Port,
สาย USB Data Cable, โมเด็ม, การจัดการการเชื่อมต่อ,
ตัวจัดการอุปกรณ์, โทรศัพท์เน็ต, การสนทนา,
สนทนา และซิงค์
 การกำหนดค่าใช้งานการเชื่อมต่อผ่านทาง
Bluetooth ก็มีลักษณะที่คล้ายคลึงกันกับที่มีอยู่ในโทรศัพท์มือถือจากค่าย
Nokia อีกหลายรุ่น โดยมีตั้งแต่ การเลือกเปิดปิด
Bluetooth, การกำหนดการมองเห็นของโทรศัพท์,
การกำหนดชื่อของโทรศัพท์, การจับคู่กับอุปกรณ์ข้างเคียง,
การตั้งเป็นผ่านการอนุญาต หรือการลบอุปกรณ์ที่เชื่อมต่อ
เป็นต้น
 หากผู้ใช้ต้องการที่จะเปิดใช้งานเชื่อมต่อข้อมูลผ่านทาง
Infrared Port ก็ให้เลือกที่ไอคอนอินฟราเรด
เมื่อเลือกแล้วก็จะมีการแจ้งเตือนว่าได้ใช้งานอินฟราเรดแล้ว
และสังเกตได้ว่าจะมีสัญลักษณ์ของการเชื่อมต่อข้อมูลผ่าน
Infrared Port ปรากฏอยู่บนมุมขวาบนของหน้าจอดังรูป
การเชื่อมต่อผ่านทางสาย USB Data Cable
ก็มีการปรับตั้งค่าใช้งานด้วยเช่นกัน โดยที่ผู้ใช้สามารถเลือกโหมดการใช้งานของสาย
USB Data Cable ได้ 4 โหมด คือ ถามเมื่อเชื่อมต่อ,
PC Suite, การถ่ายโอนข้อมูล และ IP passthrough
หากผู้ใช้ต้องการเชื่อมต่อใช้งานให้ E60
ทำหน้าที่เป็นโมเด็ม ก็ให้เลือกไปที่เมนูเชื่อมต่อทางอินฟราเรด
หลังจากการเครื่องก็จะทำการเชื่อมต่อข้อมูลผ่านทางอินฟราเรด
หากสำเร็จหรือไม่มีข้อผิดพลาดใดๆ ก็จะสามารถใช้งานเครื่อง
E60 เป็นโมเด็มได้ต่อไป
ความสามารถที่โดดเด่นในการเชื่อมต่อข้อมูลอีกอย่างของ
E60 ก็คือการเชื่อมต่อข้อมูลผ่านทางระบบเครือข่ายไร้สาย
หรือ WLAN นั่นเอง ซึ่งใน E60 ก็มีโปรแกรมสำหรับจัดการการเชื่อมต่อ
WLAN เอาไว้ให้ เช่นรายการของการเชื่อมต่อ
WLAN ที่ผู้ใช้กำลังใช้อยู่ หรือเครือข่าย
WLAN ที่สามารถใช้ได้ในขณะนั้น เป็นต้น ซึ่งหากมีเครือข่าย
WLAN ใดที่อยู่ใกล้เคียงและสามารถเชื่อมต่อได้
ก็จะปรากฏขึ้นเป็นรายการในหน้าของระบบเครือข่าย
WLAN ที่ใช้ได้
ตัวจัดการอุปกรณ์สำหรับการเชื่อมต่อ จะมีการแสดงรายการเซิร์ฟเวอร์ที่เชื่อมต่อ
และการตั้งค่ารูปแบบของเซิร์ฟเวอร์นั้น เช่นชื่อของเซิร์ฟเวอร์,
ID ของเซิร์ฟเวอร์ หรือรหัสผ่านของเซิร์ฟเวอร์
เป็นต้น
 ในขณะนี้
การสนทนาผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต แทนการสนทนาผ่านทางเครือข่ายโทรศัพท์มือถือ
กำลังได้รับความนิยมและกำลังเป็นสนใจมากขึ้นเรื่อย
ซึ่งใน E60 นี้ก็มีส่วนสำหรับการกำหนดค่าใช้งานเอาไว้ให้ด้วยเช่นกัน
โดยผู้ใช้จะต้องทำการกำหนดรูปแบบที่ต้องการใช้งาน
หรือลงทะเบียนกับระบบที่ต้องการใช้งานให้เรียบร้อยเสียก่อนจึงจะสามารถใช้งานได้
 โปรแกรมการสนทนาก็คือการใช้งานสนทนาแบบ
Push-to-Talk นั่นเอง ซึ่งระบบเครือข่ายในบ้านเราในขณะนี้ก็ยังไม่สามารถใช้งาน
Push-to-Talk ได้อย่างสมบูรณ์ โดยการใช้งาน
Push-to-Talk นั้นก็มีส่วนที่ให้ผู้ใช้กำหนดสำหรับการใช้งานอยู่หลายอย่าง
เช่น การเปิดการสนทนา, การแสดงรายชื่อสนทนา,
การตั้งค่าผู้ใช้ หรือการตั้งค่าการเชื่อมต่อ
เป็นต้น
โปรแกรมข้อความทันใจ ก็คือโปรแกรมสำหรับการใช้งานสนทนาแบบ
Instant Messaging หรือที่เรียกกันทั่วไปว่า
Chat นั่นเอง และเช่นกันกับการใช้งานเชื่อมต่อแบบอื่นๆ
คือผู้ใช้จะต้องทำการตั้งค่าการใช้งานให้เรียบร้อยเสียก่อน
จึงจะสามารถใช้งานได้
 โปรแกรมซิงค์
ก็เป็นอีกโปรแกรมหนึ่งที่มักจะถูกเรียกใช้อยู่เป็นประจำ
โดยประโยชน์ของโปรแกรมนี้ก็คือช่วยให้ผู้ใช้สามารถเชื่อมต่อแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างโทรศัพท์มือถือกับอุปกรณ์ข้างเคียงได้นั่นเอง
อาจะเหมือนกับการสำรองหรือคัดลอกข้อมูลเอาไว้อีกที่หนึ่ง โดยข้อมูลที่สามารถซิงค์ได้นั้นก็เช่น
รายชื่อ, ปฏิทิน หรือบันทึกช่วยจำ เป็นต้น
โดยการใช้งานผู้ใช้ก็จะต้องทำการกำหนดรูปแบบของการซิงค์ขึ้นมาก่อน
รวมถึงการตั้งค่าต่างๆ เช่นชื่อรูปแบบการซิงค์,
แอฟพลิเคชั่น, เวอร์ชันของเซิร์ฟเวอร์, ID
ของเซิร์ฟเวอร์ หรือบริการเสริม เป็นต้น
เมนูเครื่องมือ
เมนูเครื่องมือ คือเมนูที่รวบรวมฟังก์ชัน,
โปรแกรม หรือการกำหนดค่าที่เกี่ยวกับการใช้งานพื้นฐานของเครื่องเอาไว้
ได้แก่ ตัวจัดการแอปพลิเคชั่น, ตัวจัดการหน่วยความจำ,
การถ่ายโอนข้อมูล, รูปแบบ, การตั้งค่าใช้งาน,
ลักษณะ, แคตตาล็อก, โทรด่วน, ตัวตั้งค่า,
ตำแหน่ง, ตัวสำรวจ, สถานที่, คำสั่งเสียง,
บริการช่วย และเสียงช่วย
 โปรแกรมตัวจัดการ
คือโปรแกรมที่เอาไว้สำหรับจัดการกับแอปพลิเคชัน
หรือโปรแกรมที่ผู้ใช้ได้ทำการติดตั้งเพิ่มเติมเอาไว้เอง
โดยมีฟังก์ชันสำหรับการจัดการพื้นฐานอยู่หลายฟังก์ชัน
เช่น การดาวน์โหลดแอปพลิเคชั่น, การแสดงรายชื่อของแอปพลิเคชั่นที่ติดตั้งเอาไว้,
การดูบันทึก, การส่งไฟล์บันทึก, การแสดงรายละเอียดของแต่ละแอปพลิเคชัน,
การลบแอปพลิเคชัน หรือการกำหนดการรับรองแอปพลิเคชั่น
เป็นต้น
 เนื่องจาก
E60 สามารถใส่การ์ดหน่วยความจำแบบ DV RS-MMC
Card เพิ่มเติมได้ จึงจำเป็นที่จะต้องมีโปรแกรมสำหรับจัดการกับการ์ดหน่วยความจำเอาไว้ให้ผู้ใช้ได้ใช้
ซึ่งฟังก์ชันหลักที่มีก็ได้แก่ การนำการ์ดหน่วยความจำออก,
การสำรองความจำเครื่อง, การฟอร์แมตการ์ดหน่วยความจำ,
การตั้งชื่อการ์ดหน่วยความจำ, การตั้งรหัสผ่านของการ์ดหน่วยความจำ
หรือการแสดงข้อมูลของการหน่วยความจำ เป็นต้น
 ฟังก์ชันการโอนข้อมูล
ก็คือฟังก์ชันที่ช่วยให้ผู้ใช้คัดลอกเอาข้อมูลจากโทรศัพท์มือถืออีกเครื่องหนึ่งมาไว้ที่เครื่อง
E60 ได้ โดยข้อมูลที่สามารถโอนมาได้ก็คือ
รายชื่อ, รายการปฏิทิน และไฟล์ในคลัง ซึ่งฟังก์ชันโอนข้อมูลนี้ก็นับเป็นฟังก์ชันที่มีประโยชน์มากอย่างหนึ่ง
เช่น หากผู้ใช้ต้องการที่จะคัดลอกรายชื่อเป็นร้อยๆ
รายชื่อจากโทรศัพท์มือถืออีกเครื่องหนึ่ง
ก็สามารถโอนมาได้ทันที ไม่ต้องเสียเวลาสร้างข้อมูลรายชื่อขึ้นมาใหม่ทั้งหมด
 ฟังก์ชันรูปแบบ
หรือเรียกกันทั่วไปว่า Profiles ก็เป็นฟังก์ชันพื้นฐานฟังก์ชันหนึ่งที่มีอยู่ในโทรศัพท์มือถือแทบทุกรุ่น
โดยรูปแบบพื้นฐานที่มีมาให้ใน E60 นี้ก็คือ
ทั่วไป, เงียบ, ประชุม, นอกสถานที่, วิทยุติดตามตัว
และออฟไลน์ แต่อย่างไรก็ตามหากผู้ใช้ต้องการที่จะสร้างรูปแบบใหม่ของตนเองขึ้นมาก็สามารถสร้างใหม่ได้เช่นกัน
ส่วนการปรับตั้งค่าของแต่ละรูปแบบนั้นก็มีลักษณะส่วนใหญ่ที่คล้ายกันกับ
Smartphone รุ่นใหม่ๆ ของ Nokia อีกหลายรุ่น
ซึ่งใน E60 นี้จะประกอบไปด้วย แบบเสียง, แบบเสียงสายวีดีโอ,
พูดชื่อผู้โทร, ชนิดเสียงเรียกเข้า, ระดับความดัง,
แบบเสียงเตือนข้อความ, แบบเสียงเตือนอีเมล,
เตือนแบบสั่น และเสียงปุ่มกด
ในเมนูของการตั้งค่า
คือเมนูที่รวบรวมการตั้งค่าใช้งานพื้นฐานในส่วนต่างๆ
ของตัวเครื่องเอาไว้ โดยในเมนูของการตั้งค่านี้
จะแบ่งออกเป็นการตั้งค่าหลายๆ ประเภท ได้แก่
โทรศัพท์, โทร, การเชื่อมต่อ, วันที่และเวลา,
ความปลอดภัย, โอนสาย, จำกัดการโทร, เครือข่าย
และอุปกรณ์เพิ่มเติม
 การตั้งค่าโทรศัพท์จะแบ่งออกเป็น
3 หมวดคือ ทั่วไป, โหมดพร้อมทำงาน และจอภาพ
โดยหมวดทั่วไป จะมีการตั้งค่าเกี่ยวกับ ภาษาในโทรศัพท์,
ภาษาที่ใช้เขียน, ตัวช่วยสะกดคำ และโลโก้หรือข้อความต้อนรับ
 การตั้งค่าโหมดพร้อมทำงาน
ก็มีตั้งแต่ การกำหนดว่าจะเปิดใช้งานโหมดสแตนด์บายพิเศษหรือไม่,
การกำหนดเมนูสำหรับปุ่มเลือกทางซ้าย, การกำหนดเมนูสำหรับปุ่มเลือกทางขวา
และการกำหนดเมนูสำหรับทางลัดซึ่งมีอยู่ทั้งหมด
6 ทางลัด
การตั้งค่าจอภาพ
ก็มีตั้งแต่การกำหนดความสว่างของจอภาพหรือตั้งค่าตัวตรวจจับแสง,
การกำหนดการหมดเวลาประหยัดพลังงาน ซึ่งกำหนดได้ตั้งแต่
1 นาที ถึง 30 นาที และการกำหนดเวลาแสงสว่าง
ซึ่งกำหนดได้ตั้ง 5 วินาที ถึง 60 วินาที
 การตั้งค่าการโทรก็เป็นอีกส่วนหนึ่งที่มีมาให้ตามปกติ
เช่นการส่ง ID ของผู้โทรเข้า, การส่ง ID โทรทางเน็ต
หรือการตั้งค่าสายเรียกซ้อน เป็นต้น
 การตั้งค่าการเชื่อมต่อ
นั้นก็มีอยู่หลายส่วน ได้แก่ การแสดงและจัดการกับจุดเชื่อมต่อที่มีอยู่,
กลุ่มของจุดเชื่อมต่อ, การตั้งค่าข้อมูลแพคเก็ต,
การตั้งค่าเวลาออนไลน์ของสายข้อมูล, การตั้งค่า
VPN และการตั้งค่าการใช้งาน WLAN
การตั้งค่าวันและเวลานั้นก็มีลักษณะที่เหมือนกันกับการตั้งค่าวันและเวลาในส่วนของเมนูนาฬิกาที่ได้กล่าวไว้แล้วก่อนหน้านี้
เช่นการตั้งค่าเวลาและวันที่ หรือการกำหนดเขตเวลา
เป็นต้น
 การตั้งค่าความปลอดภัย
แบ่งออกเป็น 3 หมวดหลัก คือ โทรศัพท์และซิม,
การจัดการใบรับรอง และโมดูลการป้องกัน
 การตั้งค่าการโอนสาย
แบ่งออกเป็น 3 หมวดหลัก คือ สายสนทนา, สายข้อมูลและวีดีโอ
และสายแฟ็กซ์ ยกตัวอย่างเช่น หากเป็นการโอนสายสนทนา
ผู้ใช้ก็จะสามารถเลือกได้ว่าจะให้โอนสายในรูปแบบใด
โดยมีให้เลือกอยู่ 4 รูปแบบด้วยกัน คือ สายสนทนาทั้งหมด,
หากไม่ว่าง, หากไม่ตอบรับ และถ้าไม่พบ
การตั้งค่าจำกัดการโทรจะแบ่งออกเป็น
2 หมวดหลักคือ จำกัดการโทรมือถือ และจำกัดการโทรสายอินเทอร์เน็ต
โดยการตั้งค่าจำกัดการโทรมือถือจะแบ่งออกเป็น
สายโทรออก, สายต่างประเทศ, สายต่างประเทศยกเว้นบ้านเกิด,
สายเรียกเข้า และสายเรียกเข้าเมื่ออยู่ต่างประเทศ
การตั้งค่าเครือข่ายก็คือการตั้งค่าระบบสัญญาณเครือข่ายโทรศัพท์มือถือที่ต้องการใช้งานนั่นเอง
โดยสามารถเลือกโหมดระบบได้ว่าจะให้เป็นโหมดคู่,
UMTS หรือ GSM และสามารถกำหนดได้ว่าจะให้ทำการเลือกเครือข่ายแบบอัตโนมัติ
หรือเลือกเครือข่ายด้วนตนเอง รวมถึงสามารถเลือกได้ว่าจะให้แสดงข้อมูลของระบบหรือไม่
 การตั้งค่าเสริม
แบ่งออกเป็นการตั้งค่าชุดหูฟัง, เครื่องช่วยฟัง, เท็กซ์โฟน
และการตรวจจับอุปกรณ์อื่น
ใน
E60 ก็สามารถใช้งานลักษณะ หรือ Themes ได้เช่นเดียวกันกับโทรศัพท์มือถือ
Smartphone ของ Nokia รุ่นอื่นๆ ซึ่งก็ช่วยให้ลักษณะหน้าตาของการแสดงผลเปลี่ยนแปลงไป
และทำให้ผู้ใช้ไม่รู้สึกเบื่อหน่ายกับลักษณะหน้าตาของการแสดงผลแบบเดิมๆ
แต่สำหรับในเครื่อง E60 ที่ได้มานี้ไม่มี
Themes อื่นใดนอกจาก Theme มาตรฐานที่มีไว้ให้
ซึ่งสำหรับเครื่องที่วางจำหน่ายจริงก็อาจจะมี
Themes เพิ่มเติมใส่ไว้ให้อีกก็เป็นได้ ซึ่งก็คงต้องตรวจสอบดูกันอีกทีหนึ่ง
อย่างไรก็ตาม ผู้ใช้ก็สามารถดาวน์โหลดมาใส่เพิ่มเติมได้ง่ายอยู่แล้ว
หรือแม้แต่ใช้โปรแกรมสร้างขึ้นมาใช้เองก็สามารถทำได้เช่นกัน
 โปรแกรมแคตตาล็อก
คือโปรแกรมที่มีลักษณะของแคตตาล็อกที่รวบรวมเอาแอปพลิเคชั่นต่างๆ
ไว้ให้ผู้ใช้ดาวน์โหลด ซึ่งอาจจะมีทั้งแอปพลิเคชั่นที่สามารถดาวน์โหลดมาใช้งานได้ฟรี
และแอปพลิเคชั่นที่ดาวน์โหลดมาเพื่อทดลองใช้งาน
การกำหนดหมายเลขโทรด่วน
ก็มีรูปแบบที่ไม่แตกต่างไปจากที่เคยเห็นในโทรศัพท์มือถือ
Smartphone รุ่นอื่นๆ ของ Nokia โดยที่สามารถกำหนดหมายเลขโทรด่วนได้ทั้งหมด
8 หมายเลข หรือตั้งแต่ปุ่มกดหมายเลข 2 ถึงปุ่มกดหมายเลข
9 นั่นเอง
 โปรแกรมตัวช่วยตั้งค่า
เป็นโปรแกรมที่ช่วยให้การตั้งค่าอีเมล และผู้ให้บริการ
มีความสะดวกรวดเร็วมากยิ่งขึ้น ซึ่งมีประโยชน์สำหรับทั้งผู้ใช้มือใหม่และผู้ใช้มือเก่า
 โปรแกรมหาตำแหน่ง
มีประโยชน์คือผู้ใช้สามารถเรียกดูข้อมูลข่าวสาร
ณ ตำแหน่งหรือพื้นที่ๆ ผู้ใช้กำลังอยู่ได้
เช่น สภาพดินฟ้าอากาศ หรือสภาพการจราจร ในบริเวณนั้น
เป็นต้น โดยสามารถเลือกวิธีการหาตำแหน่งได้ว่า
จะใช้อุปกรณ์ Bluetooth GPS หรือให้ยึดตำแหน่งตามเครือข่าย
 โปรแกรมตัวสำรวจ
เป็นโปรแกรมที่ช่วยให้ผู้ใช้ที่กำลังเดินทางไปตามสถานที่ต่างๆ
ได้รู้ว่าควรจะเดินทางไปทางไหน คล้ายๆ กับระบบ
GPS ซึ่งการใช้งานจะมีข้อมูลพื้นฐานที่เกี่ยวข้องกับการเดินทางค่อนข้างครบถ้วน
เช่น ปลายทาง, ระยะเวลา, ความเร็ว, เส้นรุ้ง,
เส้นแวง, ความแม่นยำ, ความสูง, ความแม่นยำสูง,
มาตรวัด, ความเร็วเฉลี่ย, ความเร็วสูงสุด
หรือเวลารวม เป็นต้น ซึ่งหากได้มีโอกาสใช้งานจริงๆ
ก็น่าจะมีประโยชน์ต่อการเดินทางไปตามสถานที่ต่างๆ
ไม่น้อยเลยทีเดียว
โปรแกรมสถานที่
เป็นโปรแกรมที่ใช้สำหรับระบุสถานที่ๆ ต้องการตรวจสอบข้อมูลเกี่ยวกับสถานที่นั้น
เช่น เส้นรุ้ง หรือเส้นแวง และการระบุแต่ละสถานที่
ผู้ใช้สามารถใช้ไอคอนประเภทต่างๆ ได้ เพื่อง่ายต่อการสื่อความหมาย
เช่น กิจกรรมกลางแจ้ง, กีฬา หรือขนส่ง เป็นต้น
การสั่งงานด้วยเสียงก็เป็นความสามารถอีกอย่างหนึ่งที่มักจะมีอยู่ในโทรศัพท์มือถือรุ่นใหม่ๆ
ในปัจจุบัน ซึ่งผู้ใช้สามารถออกเสียงพูดเพื่อให้เครื่องทำการเปิดใช้งานฟังก์ชันหรือกำหนดค่าต่างๆ
ได้อย่างรวดเร็ว เช่น หากผู้ใช้ต้องการที่จะเปลี่ยน
Profiles ให้เป็นแบบทั่วไป ก็สามารถออกเสียงพูดเพื่อเปลี่ยนเป็น
Profiles แบบทั่วไปได้ทันที และหากผู้ใช้ต้องการที่จะเปลี่ยนคำสั่งเสียงใหม่ให้เป็นเสียงที่ตนเองต้องการก็สามารถเปลี่ยนได้เช่นกัน
โปรแกรมบริการช่วย
คือโปรแกรมที่ช่วยค้นหา และแสดงรายการของบริการแบบออนไลน์ต่างๆ
ที่ผู้ให้บริการเครือข่ายมีให้
โปรแกรมเสียงช่วย
เป็นอีกโปรแกรมที่มีประโยชน์ไม่น้อย โดยเฉพาะหากเป็นผู้ที่มีปัญหาทางสายตา
หรือปัญหาเกี่ยวกับการมองเห็น เพราะโปรแกรมเสียงช่วย
จะช่วยออกเสียงพูดของแต่ละเมนูให้ได้ยินว่าขณะนั้นผู้ใช้กำลังเลือกที่เมนูใด
เช่น หากกำลังเลือกอยู่ที่เมนูเบอร์โทรล่าสุด
เครื่องก็จะอ่านออกเสียงให้ได้ยินว่า "เบอร์โทรล่าสุด"
ทำให้แม้ว่าจะมองไม่เห็นหน้าจอ ก็สามารถเลือกใช้งานเมนูได้ถูกต้อง
ซึ่งเท่าที่ได้ลองฟังดูก็ถือว่าฟังรู้ได้รู้เรื่องชัดเจนดีว่ากำลังพูดอะไรอยู่
เมนูเว็บ
เมนูเว็บ คือโปรแกรมเว็บเบราเซอร์ สำหรับเปิดดูเว็บไซต์ต่างๆ
พร้อมทั้งมีฟังก์ชันการทำงานพื้นฐานต่างๆ
สำหรับการเปิดดูเว็บไซต์ให้เลือกใช้ด้วย เช่น
ประวัติของหน้าเว็บเพจที่เข้าชมล่าสุด, กรอบขนาดเล็กสำหรับการเลื่อนดูหน้าเว็บเพจที่มีขนาดใหญ่,
การบุ๊คมาร์ค, การลบคุ้กกี้, การล้างความจำแคช
หรือการตั้งค่าการใช้งานต่างๆ เกี่ยวกับเว็บ
เป็นต้น
โปรแกรมเว็บเบราเซอร์ที่กำลังใช้งานอยู่นี้คือ
เบราเซอร์ S60 เวอร์ชัน 3.0 (0550)
โปรแกรมเบราเซอร์ที่มีนั้น สามารถแสดงผลหน้าเว็บไซต์ทั่วไปได้คล้ายหรือเหมือนกันกับการเปิดดูในเครื่องคอมพิวเตอร์เลยทีเดียว
เนื่องจากเบราเซอร์สามารถรองรับการเปิดดูเว็บแบบ
HTML ได้นั่นเอง
 หากผู้ใช้ต้องการเปิดดูหน้าเว็บเพจที่เคยเปิดผ่านมาก่อนหน้าปัจจุบัน
ก็สามารถเลือกเปิดดูได้ เนื่องจากจะมีการเก็บเป็นประวัติการเข้าชมเอาไว้
และสามารถเลือกดูได้ง่ายดังภาพ
การเปิดดูหน้าเว็บเพจที่มีขนาดใหญ่ หากเลื่อนดูแบบปกติไปเรื่อยๆ
ก็คงจะรู้ได้ยากว่าขณะนั้นกำลังอยู่ในส่วนใดของหน้าเว็บเพจ
ดังนั้นโปรแกรมเบราเซอร์ตัวนี้จึงมีกรอบขนาดเล็กซึ่งย่อหน้าเว็บเพจลงมาให้เล็กลง
ทำให้สามารถมองภาพรวมของหน้าเว็บเพจได้ง่ายขึ้นมาก

ฟังก์ชันพื้นฐานสำหรับเว็บเบราเซอร์นั้นก็มีมาให้ค่อนข้างครบถ้วน
ตั้งแต่ การไปยังที่อยู่เว็บ, รายการบุ๊คมาร์ค,
การจัดเก็บบุ๊คมาร์ค, บุ๊คมาร์คอัตโนมัติ,
การเปิดหน้าต่างใหม่, การไปยังโฮมเพจ, การลบคุ้กกี้,
การแสดงข้อมูลเว็บเบราเซอร์, เซสชั่น, ความปลอดภัย,
การค้นหา, ประวัติการเยี่ยมชมเว็บ หรือการโหลดข้อมูลซ้ำ
เป็นต้น
หากผู้ใช้รู้สึกว่าการแสดงผลดูใหญ่หรือเล็กเกินไป
ก็สามารถทำการย่อหรือขยายหน้าเว็บเพจได้ รวมถึงสามารถเพิ่มหรือลดขนาดของตัวอักษรได้ด้วยเช่นกัน
 อีกฟังก์ชันหนึ่งที่น่าสนใจคือ
การแสดงภาพรวมหน้า ซึ่งช่วยให้ผู้ใช้สามารถมองเห็นภาพรวมของหน้าเว็บเพจได้ทั้งหน้าในคราวเดียว
ทำให้สามารถเลือกได้ง่ายว่าต้องการที่จะเลื่อนไปดูข้อมูล
ณ ตำแหน่งใดในหน้าเว็บเพจนั้น
หากผู้ใช้ต้องการที่จะตั้งหรือปรับแต่งค่าการใช้งานเว็บเบราเซอร์
ก็สามารถทำได้ โดยเข้าไปที่เมนูการตั้งค่า
ซึ่งการตั้งค่าที่มีให้ก็ได้แก่ จุดเชื่อมต่อ,
หน้าโฮมเพจ, การโหลดภาพและเสียง, ขนาดของตัวอักษร,
การเข้ารหัสตัวอักษร, การบุ๊คมาร์คอัตโนมัติ,
ขนาดจอภาพ, หน้าค้นหา, การแสดงผล, แผนที่ย่อ,
รายการประวัติ, การยอมรับคุ้กกี้, Java/ECMA
สคริป, การแจ้งเตือนความปลอดภัย, การส่งค่า
DTMF และการปิดกั้นป๊อปอัพ
เมนูสื่อ
เมนูสื่อ คือเมนูที่รวบรวมโปรแกรมที่เกี่ยวกับความบันเทิง
หรือมัลติมีเดียเอาไว้ ซึ่งประกอบไปด้วย คลังภาพที่เอาไว้เปิดดูหรือจัดการกับไฟล์มัลติมีเดียวต่างๆ
ภายในเครื่อง, โปรแกรม RealPlayer ที่เอาไว้เปิดดูไฟล์วีดีโอ,
โปรแกรมเครื่องเล่นเพลง, โปรแกรมเครื่องบันทึกเสียง,
โปรแกรมบริการ และโปรแกรมตัวเล่น Flash
โปรแกรมคลังภาพ
คือโปรแกรมที่เอาไว้สำหรับเปิดดูหรือจัดการกับไฟล์มัลติมีเดียประเภทต่างๆ
ซึ่งได้แก่ รูปภาพ, คลิปวีดีโอ, แทร็ค, คลิปเสียง,
ลิงค์การสตรีม และการนำเสนอ นอกจากนั้นก็ยังสามารถเลือกเปิดดูรายการไฟล์ทั้งหมดทุกประเภทในคราวเดียวได้ด้วย
นอกจากจะสามารถเปิดดูรูปภาพตามปกติได้แล้ว
ก็ยังมีฟังก์ชันพื้นฐานสำหรับการเปิดดูมาให้พอสมควร
เช่น การส่งรูปภาพ, การตั้งเป็นภาพพื้นหลัง,
การเพิ่มรูปภาพในรายชื่อ, การหมุนภาพ, การขยายภาพ,
การแสดงภาพแบบเต็มจอ หรือการแสดงรายละเอียดของไฟล์รูปภาพ
เป็นต้น
 เช่นเดียวกันกับการเปิดดูไฟล์รูปภาพ
การเปิดดูไฟล์วีดีโอ ก็มีฟังก์ชันการทำงานพื้นฐานมาให้ด้วย
เช่น การเล่นภาพวีดีโอแบบเต็มหน้าจอ, การปิดเสียง,
ตัวควบคุมการเล่น หรือการแสดงรายละเอียดของคลิปวีดีโอ
เป็นต้น
 การเปิดดูไฟล์เพลง
ก็มีฟังก์ชันการทำงานพื้นฐานสำหรับการเล่นไฟล์เพลงมาให้เช่นกัน
เช่น การเล่นแบบสุ่ม, การเล่นซ้ำ, การตั้งเป็นเสียงเรียกเข้า,
การเล่นเพลงแบบพื้นหลังขณะที่กำลังใช้งานโปรแกรมอื่นอยู่,
การแสดงรายละเอียดของไฟล์เพลง และการปรับเปลี่ยนรูปแบบของเสียงเพลงด้วย
Equalizer เช่นแบบ Acoustic, ขยายเสียงเบส,
Hip Hop, ป็อป หรือ R&B เป็นต้น
โปรแกรม
RealPlayer คือโปรแกรมที่เอาไว้สำหรับเปิดไฟล์คลิปวีดีโอ
หรือเปิดดูรายการวีดีโอแบบ Streaming ซึ่งผู้ใช้สามารถตั้งค่าการเล่นวีดีโอ
หรือตั้งค่าการเชื่อมต่อได้ เช่น การเล่นซ้ำ,
พร็อกซี่ หรือเครือข่าย เป็นต้น
 โปรแกรมเครื่องเล่นเพลงใน
E60 นั้นมีลักษณะหน้าตาที่ดูเรียบง่าย ฟังก์ชันการทำงานพื้นฐาน
หรือการควบคุมการเล่นเพลงก็มีมาให้พอสมควร
เช่นการบุ๊คมาร์ค, ดูรายการแทร็คทั้งหมด,
ดูรายการเพลงตามชื่อศิลปิน, ดูรายการเพลงตามอัลบั้ม,
ดูรายการแทร็คแยกตามประเภทของเพลง หรือการจัดการกับรายการแทร็ค
เป็นต้น
โปรแกรมเครื่องบันทึกเสียงใน
E60 ไม่มีฟังก์ชันการทำงานที่ซับซ้อน จะมีก็แต่ฟังก์ชันการทำงานพื้นฐานทั่วไปสำหรับการบันทึกเสียง
โดยในการบันทึกเสียงแต่ละครั้ง ผู้ใช้สามารถบันทึกได้นานสูงสุดเพียงครั้งละ
1 นาทีเท่านัน ซึ่งถ้าหากผู้ใช้ต้องการที่จะให้เครื่องสามารถบันทึกเสียงได้นานมากกว่านี้
หรือนานไม่จำกัดเวลา ก็คงจะต้องไปหาโปรแกรมบันทึกเสียงอื่นๆ
มาติดตั้งเพิ่มเติมเอาเองในภายหลัง
โปรแกรมบริการนั้นก็มีลักษณะ
หรือฟังก์ชันการทำงานที่คล้ายกันกับโปรแกรมเว็บเบราเซอร์
เพียงแต่จะเน้นไปที่การเชื่อมต่อเพื่อดูรายละเอียดของบริการต่างๆ
ที่ผู้ให้บริการเครือข่ายมีไว้ให้
โปรแกรมตัวเล่น
Flash หรือ Macromedia Flash Lite คือโปรแกรมที่เอาไว้สำหรับเปิดดูไฟล์
Flash Animation ที่สร้างมาสำหรับเปิดดูในอุปกรณ์เคลื่อนที่
หรืออุปกรณ์พกพาขนาดเล็กอย่างเช่นโทรศัพท์มือถือ
เป็นต้น
เมนูหมุน
ในการใช้งานบางอย่าง
ผู้ใช้อาจจะต้องการให้หน้าจอมีการแสดงผลแบบแนวนอนมากกว่า
เช่น การดูคลิปวีดีโอซึ่งมักจะมีอัตราส่วนในแนวกว้าง
ก็สามารถใช้ฟังก์ชันหมุนหน้าจอที่มีอยู่ใน
E60 ได้ ซึ่งเมื่อหมุนแล้ว การแสดงผลเมนูต่างๆ
ก็จะกลายเป็นแนวนอนดังภาพ และถ้าหากต้องการให้การแสดงผลกลับมาเป็นแนวตั้งเหมือนเดิม
ก็ให้เลือกเมนูหมุนนี้อีกครั้งหนึ่ง
เมนูวิธีใช้
เมนูวิธีใช้ คือเมนูที่รวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวกับ
วิธีการใช้งานเครื่อง, ข้อมูลเกี่ยวกับตัวเครื่อง
และตัวแนะนำความสามารถต่างๆ ภายในตัวเครื่องเอาไว้
ในส่วนของวิธีใช้
ก็จะมีรายละเอียดของวิธีใช้งานเครื่องในส่วนต่าง
ตั้งแต่การใช้งานระดับพื้นฐานทั่วไป จนถึงการใช้งานที่ซับซ้อน
โดยแบ่งเนื้อหาาออกเป็นกลุ่มใหญ่ และแตกออกเป็นกลุ่มย่อยอีกมากมาย
จึงเป็นอีกโปรแกรมหนึ่งที่มีประโยชน์สำหรับผู้ใช้
ทั้งผู้ใช้มือใหม่และผู้ใช้มือเก่า
ในส่วนของเกี่ยวกับ
ก็คือข้อมูล รายละเอียดทั่วไป ของระบบที่ใช้ภายในเครื่อง
เช่นระบบปฏิบัติการ หรือสภาพแวดล้อมของ J2ME เป็นต้น
โปรแกรมตัวแนะนำ
เป็นโปรแกรมที่รวบรวมเอาไฟล์นำเสนอหรือแนะนำการใช้งานฟังก์ชันที่น่าสนใจภายในเครื่องซึ่งเป็นการนำเสนอแบบภาพเคลื่อนไหวสวยงามที่ชวนให้น่าติดตาม
ให้ผู้ใช้ได้เปิดดู โดยมีตั้งแต่เรื่องของ
ความปลอดภัย, อีเมล, ส่งอีเมล, พิเศษ, ยินดีต้อนรับ,
ซิงค์, อินเตอร์เฟช, คุณภาพเสียง และการเชื่อมต่อ
เมนูการติดตั้ง
เมนูการติดตั้ง
คือเมนูที่มีไว้สำหรับจัดการกับแอปพลิเคชั่น
หรือโปรแกรมที่ผู้ใช้ทำการติดตั้งเพิ่มเติมเอาเองในภายหลัง
เช่น การเลือกเปิดใช้แอปพลิเคชั่น, การลบหรือถอนการติดตั้งแอปพลิเคชั่น
หรือการย้ายที่อยู่ของแอปพลิเคชั่น เป็นต้น
เมนู
Biz SW
เมนู
Biz SW นั้นก็เหมือนเป็นการเปิดดูหน้าเว็บผ่านทางโปรแกรมเว็บเบราเซอร์
เพียงแต่จะทำการเชื่อมต่อไปดูข้อมูลหรือรายละเอียดของซอฟต์แวร์ทางธุรกิจต่างๆ
ของ Nokia
คุณสมบัติเด่นที่น่าสนใจ
- หน้าจอ TFT LCD 16 ล้านสี ความละเอียด
352 x 416 Pixels : หน้าจอแสดงผลของ Nokia
E60 นั้นเป็นแบบ TFT LCD แสดงสีสันได้ถึง
16 ล้านสี และมีความละเอียดมากถึง 352 x 416
Pixels ด้วยคุณสมบัติของหน้าจอระดับนี้ หากเป็นผู้ที่ไม่เคยเห็นตัวจริงก็คงจะพอจะเดาได้ว่าน่าจะแสดงผลได้คมชัดสดใสมาก
ซึ่งจากการใช้งานจริงก็พบว่าเป็นไปตามที่คาดไว้
คือมีประสิทธิภาพในการแสดงผลที่ยอดเยี่ยม
อย่างแรกเรื่องสีสันนั้นสามารถแสดงสีสันได้สดใสเป็นอย่างดี
แม้หากเมื่อนำไปเปรียบเทียบกับโทรศัพท์มือถือจอ
16 ล้านสีจากค่าย Panasonic ยังดูเป็นรองอยู่นิดหน่อย
แต่ทว่าความละเอียดคมชัดนั้นถือว่าเอาชนะไปได้อย่างสบายๆ
เมื่อได้เห็นแล้วเรียกได้ว่ามองไม่เห็นแต่ละจุด
Pixels กันเลยทีเดียว ด้วยความละเอียดที่มากถึง
352 x 416 Pixels และขนาดความกว้างของหน้าจอที่ไม่มากนัก
จึงยิ่งทำให้ดูละเอียดเนียนตามากขึ้นอีก สรุปแล้วประสิทธิภาพในการแสดงผลสำหรับหน้าจอของ
E60 นี้จะไม่ทำให้ผู้ใช้ผิดหวังอย่างแน่นอน
- ระบบปฏิบัติการ Symbian OS เวอร์ชัน
9.1 Series 60 UI 3rd Edition : ระบบปฏิบัติการที่ใช้ใน
Nokia E60 นี้เป็นระบบปฏิบัติการ Symbian OS
เวอร์ชันใหม่ ซึ่งก็คือเวอร์ชัน 9.1 และมีลักษณะหน้าตา
หรือ User Interface แบบ Series 60 UI 3rd
Edition ซึ่งเนื่องจากระบบปฏิบัติการเวอร์ชัน
9.1 นี้เป็นเวอร์ชันใหม่ก็มีทั้งข้อดีและข้อด้อยมาพร้อมกัน
ข้อดีก็คือมีระบบการทำงานที่รวดเร็วและเสถียรมากขึ้น
เมนูหรือส่วนติดต่อผู้ใช้ต่างๆ ดูสวยงามทันสมัยมากขึ้น
รองรับเทคโนโลยีใหม่ๆ มากขึ้น หรือมีฟังก์ชันการทำงานที่หลากหลายมากขึ้น
เป็นต้น ส่วนข้อด้อยที่เห็นได้ชัดตอนนี้ก็เห็นจะเป็นโปรแกรมใช้งานที่รองรับกับระบบปฏิบัติการเวอร์ชันใหม่นี้
ซึ่งช่วงนี้ยังมีการพัฒนาออกมาไม่มากนัก ดังนั้นความหลากหลายของโปรแกรมใช้งานเพิ่มเติมก็อาจจะน้อยกว่าระบบปฏิบัติการเวอร์ชันก่อนสักหน่อย
แต่อย่างไรก็ตาม ในอนาคตอันใกล้ คงจะมีโปรแกรมที่พัฒนาให้รองรับกับระบบปฏิบัติการใหม่นี้ออกมาอีกมากมายอย่างแน่นอน
- หน่วยความจำภายในขนาด 64 MB พร้อมรองรับ
DV RS-MMC Card : หน่วยความจำภายในของ
E60 ตามข้อมูลอย่างเป็นทางการจะมีอยู่ทั้งหมด
64 MB ซึ่งก็ถือว่ามีจำนวนที่เพียงพอต่อการเก็บบันทึกข้อมูลในระดับหนึ่ง
ทั้งไฟล์รูปภาพ, ไฟล์เพลง, ไฟล์วีดีโอ และอื่นๆ
แต่อย่างไรก็ตามดูเหมือนว่าการใช้งานของผู้ใช้ในปัจจุบันจะต้องการขนาดความจุของหน่วยความจำที่มากกว่า
64 MB ไปแล้ว เนื่องจากข้อมูลมีความหลากหลายมากยิ่งขึ้น
มีไฟล์ที่น่าสนใจให้เก็บบันทึกมากขึ้น ซึ่ง
E60 ก็สามารถรองรับกับการเก็บบันทึกข้อมูลที่มากขึ้นนี้ได้
ด้วยการรองรับการใส่การ์ดหน่วยความจำเสริมแบบ
DV (Dual Voltage) RS-MMC Card ได้นั่นเอง
และสามารถถอดเปลี่ยนการ์ดได้ทันทีโดยไม่ต้องปิดเครื่องได้
(Hot Swap) ซึ่งราคาขายของ DV RS-MMC
Card ในตอนนี้ถือว่าถูกลงกว่าแต่ก่อนมากแล้วด้วย
แต่ก็น่าเสียดายที่ในชุดขายมาตรฐานของ E60
ไม่มีการ์ดหน่วยความจำแถมมาให้ด้วย ผู้ใช้จึงต้องไปซื้อหามาเอง
ทั้งๆ ที่โทรศัพท์มือถือราคาระดับนี้น่าจะมีแถมมาให้ด้วยในชุดขายมาตรฐาน
- เชื่อมต่อข้อมูลผ่านทาง Bluetooth,
Infrared Port และ USB : ช่องทางการเชื่อมต่อข้อมูลที่มีให้ใน
Nokia E60 นั้นมีมาให้อย่างครบถ้วน ทั้งการเชื่อมต่อข้อมูลแบบไร้สายผ่าน
Bluetooth หรือ Infrared Port รวมถึงการเชื่อมต่อข้อมูลแบบใช้สายผ่าน
USB Data Cable ซึ่งมีอินเทอร์เฟสการเชื่อมต่อแบบ
Pop-Port ที่เป็นอินเทอร์เฟสมาตรฐานของโทรศัพท์มือถือยี่ห้อโนเกียนั่นเอง
ซึ่งสำหรับการใช้ Bluetooth หรือ Infrared
Port นั้นเป็นไปได้อย่างอิสระ ไม่ต้องมีการติดตั้งอะไรเพิ่มเติม
แต่หากต้องการเชื่อมต่อข้อมูลผ่านสาย USB
Data Cable ผู้ใช้ก็ต้องลง PC Suite และ Driver
ที่มีอยู่ในแผ่น CD ที่แถมมาให้ ให้เรียบร้อยเสียก่อน
- เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตผ่านระบบ WLAN,
WCDMA, EDGE หรือ GPRS : การท่องอินเทอร์เน็ตใน
E60 นั้นสามารถทำได้โดยผ่านทางเว็บ Browser
(Browser S60 เวอร์ชัน 3.0 : 0550) ซึ่งสามารถรองรับการเปิดหน้าเว็บแบบ
HTML ได้ จึงสามารถเปิดหน้าเว็บเพจทั่วไปได้เช่นเดียวกันกับการเปิดดูด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์
ซึ่งรายละเอียดได้กล่าวถึงไปแล้วในเนื้อหาก่อนหน้านี้
ส่วนความรวดเร็วในการประมวลผลระหว่างการเปิดหน้าเว็บนั้นถือว่าทำได้รวดเร็วราบรื่นเป็นอย่างดี
โดยวิธีการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตนั้นผู้ใช้สามารถเลือกได้ว่าจะเชื่อมต่อผ่านระบบ
WLAN, WCDMA, EDGE หรือ GPRS ซึ่งจะเห็นว่า
E60 นี้สามารถรองรับการเชื่อมต่อข้อมูลแบบไร้สายได้ครบถ้วนทุกรูปแบบเลยทีเดียว
และสิ่งที่น่าสนใจอีกอย่างหนึ่งสำหรับการเชื่อมต่อผ่านระบบ
WLAN ก็คือสามารถใช้งานคุยโทรศัพท์ผ่านอินเทอร์เน็ต
หรือที่เรียกกันว่า VoIP ได้ ซึ่งในปัจจุบันเริ่มที่จะได้รับความสนใจจากผู้ใช้มากขึ้นเรื่อยๆ
- โปรแกรมเล่นไฟล์เพลงและไฟล์วีดีโอ
พร้อมลำโพง Loudspeaker ในตัว : สำหรับ
E60 นั้นสามารถรองรับการเล่นไฟล์เพลง และไฟล์วีดีโอที่นิยมใช้งานกันทั่วไปได้แทบทุกประเภท
เช่น WMA, MP3, AAC, WAV, eAAC+, AAC+, M4A, MPEG-4, AMR, 64 polyphonic MIDI,
RealAudio หรือ H.263 เป็นต้น โดยการเล่นนั้นก็สามารถทำได้โดยผ่านโปรแกรมเครื่องเล่นเพลง,
เครื่องเล่นวีดีโอ หรือโปรแกรม RealPlayer
ซึ่งสำหรับการเล่นไฟล์เพลงนั้นผู้ใช้ก็สามารถปรับรูปแบบของเสียงด้วย
Equalizer ที่มีให้ในเครื่องได้หลายรูปแบบ
รวมถึงสามารถเล่นเพลงเป็น Background หรือเล่นเพลงขณะที่เปิดใช้งานโปรแกรมอื่นๆ
ได้ด้วย ส่วนในเรื่องของคุณภาพเสียงนั้น น่าเสียดายที่ทางทีมงานไม่ได้รับหูฟังรุ่น
HS-5 ของ E60 มาด้วย จึงไม่สามารถสรุปได้ว่าเป็นอย่างไร
แต่หากเป็นเสียงจากลำโพง Loudspeaker นั้นถือว่ามีคุณภาพเสียงอยู่ในระดับที่พอใช้ได้
แม้จะไม่ได้ไพเราะหรือแสดงรายละเอียดของเสียงได้มากนักเมื่อเทียบกันกับโทรศัพท์มือถือที่เน้นการฟังเพลงรุ่นอื่นๆ
แต่ในเรื่องของความดังหรือความชัดเจนก็ถือว่าทำได้ดีอยู่เหมือนกัน
ซึ่งก็คงไม่แปลกหากคุณภาพเสียงอยู่ในระดับกลางๆ
เพราะ E60 นั้นก็ออกแบบมาเพื่อใช้งานเป็นโทรศัพท์มือถือแบบ
Business Phone มากกว่าอยู่แล้ว
- โปรแกรมจัดการ Email ประสิทธิภาพสูง
พร้อมรองรับการใช้งานระบบ Push Email
: จุดเด่นอีกอย่างหนึ่งของ Business Phone
อย่าง E60 นี้ก็คือการมี Email Client ประสิทธิภาพสูงอยู่ภายใน
จึงสามารถช่วยให้ใช้งานเกี่ยวกับ Email ได้เป็นอย่างดี
สมกับเป็นโทรศัพท์มือถือสำหรับนักธุรกิจ โดยความสามารถที่น่าสนใจก็เช่น
รองรับโพรโทคอล POP3/IMAP4 และ SMTP, มีแอพพลิเคชัน
Intellisync Wireless Email ซึ่งมีความสามารถมากมายเกี่ยวกับ
Email เช่น Push Email หรือการเข้าถึงข้อมูลปฏิทิน/รายชื่อ/บันทึก
และตารางงาน เป็นต้น และยังรองรับ Email Client
แบบ 3rd Party ได้เช่น Blackberry Connect/Visto
Email หรือ Seven Always-On Mail เป็นต้น
นอกจากนั้นก็ยังรองรับการจัดการกับไฟล์แนบ
หรือแก้ไขไฟล์แนบได้หลากหลายประเภท เช่น jpeg,
3gp, MP3, .ppt, .doc, .xls หรือ .pdf
เป็นต้น ดังนั้นจึงจะเห็นได้ว่า Email Client
ที่มีอยู่ใน E60 นี้นั้นสามารถรองรับการใช้งานเกี่ยวกับ
Email ได้เป็นอย่างดี
- โปรแกรมจัดการไฟล์ Word, Excel และ
PowerPoint : ความสามารถอีกอย่างหนึ่งของความเป็น
Business Phone ใน E60 ก็คือความสามารถในการจัดการกับไฟล์เอกสาร
Office ได้ ทั้งการเปิดดู, สร้างใหม่ หรือแก้ไข
โดยรองรับทั้งไฟล์เอกสาร Word, ไฟล์แผ่นงาน
Excel และไฟล์นำเสนอ PowerPoint ซึ่งหากเป็นโทรศัพท์มือถือรุ่นอื่นหรือประเภทอื่นจะไม่มีความสามารถตรงนี้ใส่มาให้
อย่างมากก็แค่เปิดดูได้เท่านั้น ซึ่งฟังก์ชันการทำงานที่มีอยู่สำหรับการจัดการไฟล์
Office แม้ว่าจะไม่ได้หลากหลายหรือซับซ้อนมากเท่ากับที่เห็นอยู่ในโปรแกรม
Office ที่ใช้งานกันในเครื่องคอมพิวเตอร์
แต่ที่มีอยู่ใน E60 นี้ก็มีฟังก์ชันการทำงานพื้นฐานที่ครบถ้วนดี
และถือว่าไม่น้อยไปสำหรับแอพพลิเคชันที่มีไว้สำหรับใช้งานในโทรศัพท์มือถือเครื่องเล็กๆ
แบบนี้
คุณสมบัติอื่นๆ ที่น่าสนใจ
- ประสิทธิภาพในการสนทนา : คุณสมบัติเบื้องต้นสำหรับการรองรับระบบสัญญาณของ
Nokia E60 นั้นคือ Dual Mode - Tri Band (WCDMA
2100 - GSM 900/1800/1900
MHz) ซึ่งในเบื้องต้นการสแกนหาคลื่นสัญญาณขณะเปิดเครื่องขึ้นมานั้น
สามารถทำได้รวดเร็วดี และระหว่างที่อยู่ในสถานะ
Standby ไม่พบอาการที่เรียกว่าสัญญาณแกว่งหรือสัญญาณหายแต่อย่างใด ส่วนประสิทธิภาพขณะที่ใช้งานสนทนานั้น
ถือว่าอยู่ในระดับที่ปกติดี เสียงที่ได้ยินดังชัดเจน
แต่อย่างไรก็ตามยังถือว่าไม่ถึงกับดังมากที่สุด
- การรองรับการใช้งานภาษาไทย :
ระบบภาษาไทยของ Nokia E60 นั้น ก็ถือว่ามีมาให้อย่างครบครันตั้งแต่แรกอยู่แล้ว
โดยไม่ต้องมีการติดตั้งโปรแกรมภาษาไทยหรือฟอนต์ภาษาไทยใดๆ
เพิ่มเติม
ตั้งแต่การแสดงข้อความหรือตัวหนังสือภาษาไทย,
การพิมพ์ข้อความภาษาไทย, ระบบสะกดคำอัตโนมัติภาษาไทย,
เมนูใช้งานภาษาไทย รวมถึงแผงปุ่มกดที่มีตัวอักษรภาษาไทยกำกับอยู่ด้วย
(หากเป็นเครื่องศูนย์ในไทย)
และสำหรับการแสดงผลตัวสระ, พยัญชนะ
หรือวรรณยุกต์ ภาษาไทยนั้นมีการจัดเรียงในตำแหน่งที่ปกติดี
- แบตเตอรี่ Lithium Ion รุ่น BL-5C
ขนาดความจุ 970 mAh : อัตราความสิ้นเปลืองพลังงานของ Nokia
E60 นั้น เท่าที่ทดสอบใช้งานมาระยะหนึ่งถือว่าสามารถจัดสรรพลังงานได้ในระดับที่น่าประทับใจ
สามารถใช้งานทั่วๆ ไปได้ค่อนข้างนานเมื่อเทียบกับโทรศัพท์มือถือทั่วๆ
ไป แม้จะใช้แบตเตอรี่แบบเดียวกันกับโทรศัพท์มือถือยี่ห้อ
Nokia อีกหลายๆ รุ่นก็ตาม แต่เรื่องการจัดสรรพลังงานถือว่าทำได้ดีกว่า สำหรับการใช้งานต่อเนื่องนานๆ
สนทนานานๆ หรือมีการใช้งานเปิดใช้งานฟังก์ชันต่างๆ
อยู่บ่อยครั้ง ก็อาจจะต้องมีการชาร์จแบตเตอรี่บ่อยครั้งมากขึ้น
แต่ก็ไม่บ่อยจนน่าเบื่อ
ซึ่งส่วนที่ใช้พลังงานมากที่สุดก็น่าจะเป็นส่วนของหน้าจอแสดงผลที่ค่อนข้างใหญ่
ดังนั้นหากผู้ใช้ปรับความสว่างไม่ให้มากจนเกินไป
ก็น่าจะช่วยให้ประหยัดพลังงานได้มากยิ่งขึ้นอีก
โดยเฉลี่ยแล้ว จากการใช้งานทั่วไปแบบกลางๆ
ไม่หนักไม่เบา ก็พบว่าแบตเตอรี่จะอยู่ได้ประมาณ
3-4 วันสบายๆ เลยทีเดียว
สรุปส่งท้าย
จากการทดสอบการใช้งานมาได้ประมาณ 1 สัปดาห์ กับ Nokia E60 ก็พอจะมองเห็นอะไรหลายๆ
อย่างจากโทรศัพท์มือถือรุ่นนี้ จึงขอสรุปเป็นจุดเด่นและจุดด้อยตามความคิดเห็นส่วนตัวคร่าวๆ
ดังนี้
จุดเด่น
- หน้าจอ TFT LCD 16 ล้านสี ความละเอียด
352 x 416 Pixels มีสีสันสดใสสวยงาม และความละเอียดคมชัดดีมาก - ปุ่มกดมีสัมผัสที่มั่นคงแข็งแรง
กดได้ง่าย และนุ่มนวลเป็นพิเศษ เมื่อเทียบกับโทรศัพท์มือถือส่วนใหญ่ - วัสดุ,
ชิ้นงาน หรือความประณีต ทำได้ค่อนข้างดี น่าประทับใจ ดูแล้วมีความแตกต่างจากโทรศัพท์มือถือทั่วๆ
ไปขึ้นมาอีกระดับหนึ่ง - ระบบปฏิบัติการเวอร์ชันใหม่
มีประสิทธิภาพดีขึ้น, มีความเสถียรมากขึ้น
และมีฟังก์ชันการทำงานหลากหลายมากขึ้น -
ประมวลผลค่อนข้างรวดเร็วทันใจ เมื่อเทียบกันกับโทรศัพท์มือถือ
Symbian Smartphone ของ Nokia รุ่นอื่นๆ -
รองรับการ์ดหน่วยความจำเสริมแบบ DV RS-MMC
และสามารถถอดเปลี่ยนการ์ดได้ทันทีแบบ Hot
Swap - การเชื่อมต่อข้อมูลครบถ้วนทั้ง
WLAN, WCDMA, EDGE, GPRS, Bluetooth, Infrared
และ USB -
โปรแกรม Office ที่สามารถจัดการกับเอกสาร
Word, Excel และ PowerPoint ได้เป็นอย่างดี
ทั้งเปิดดู, สร้างใหม่ หรือแก้ไข - โปรแกรม
Email Clients ที่มีฟังก์ชันการทำงานหลากหลายเป็นพิเศษ
และรองรับการใช้งานระบบ Push Email - มีประสิทธิภาพในการประหยัดพลังงานมากกว่า
เมื่อเปรียบเทียบกับโทรศัพท์มือถือที่ใช้แบตเตอรี่รุ่นและความจุขนาดเดียวกัน
จุดด้อย
- ไม่มีกล้องดิจิตอลในตัว ซึ่งเป็นความสามารถหนึ่งที่ผู้ใช้ในปัจจุบันค่อนข้างให้ความสนใจมาก - ไม่มีวิทยุในตัว
ทั้งๆ ที่โทรศัพท์มือถือรุ่นใหม่ๆ ของ Nokia
หลายรุ่นมักจะมีใส่มาให้ - รูปแสดงผู้โทรเข้ายังมีขนาดที่เล็กมากเกินไป
น่าจะมีขนาดที่ใหญ่กว่านี้สักหน่อย - ราคาจำหน่ายในขณะนี้ยังถือว่าค่อนข้างสูงหากเปรียบเทียบคุณสมบัติเครื่องกับโทรศัพท์มือถือรุ่นอื่นๆ -
ไม่แถมการ์ดหน่วยความจำมาให้ในชุดขายมาตรฐาน
ซึ่งเครื่องราคาระดับนี้น่าจะมีแถมมาให้ด้วย
สรุปแล้ว จุดเด่นของ Nokia E60 น่าจะอยู่ที่ความเป็นโทรศัพท์มือถือแนว
Business Phone ที่เน้นการใช้งานเกี่ยวกับการโทร
หรือเน้นใช้งานแอพพลิเคชันด้านธุรกิจเป็นพิเศษ
มีประสิทธิภาพสูง ทั้งในเรื่องของการประมวลผล
การประหยัดพลังงาน หน้าจอแสดงผลละเอียดคมชัดสวยงาม มีคุณภาพของชิ้นงานที่ดี
วัสดุที่มาประกอบเป็นวัสดุเกรดดีดูหรูหรา
ดูมั่นคงแข็งแรงและมีความประณีต จับถือใช้งานได้เหมาะมือคล่องตัว การเชื่อมต่อข้อมูลที่ครบถ้วน
แต่อย่างไรก็ตามความสามารถด้านความบันเทิงก็ดูเหมือนจะถูกลดทอนออกไปบ้าง
ด้วยความที่ต้องการใช้ใช้งานเป็น Business
Phone เช่นไม่มีกล้องดิจิตอล ไม่มีวิทยุ
หรือแม้แต่เรื่องของคุณภาพของเสียงที่อยู่ในระดับกลางๆ
เท่านั้น ไม่ได้โดดเด่นอะไร รวมถึงราคาขายในตอนนี้อาจจะยังสูงไปสักหน่อย
ในความรู้สึกส่วนตัวแล้วค่อนข้างประทับใจกับ
E60 มากเป็นพิเศษเมื่อเทียบกับโทรศัพท์มือถือรุ่นใหม่ๆ
รุ่นอื่นๆ ที่วางจำหน่ายในช่วงนี้ รวมถึงโทรศัพท์มือถือรุ่นอื่นๆ
ของยี่ห้อ Nokia เองด้วย หากไม่นับความสามารถทางด้านความบันเทิงบางอย่างที่ขาดหายไป
และเป็นผู้ใช้ที่ต้องการโทรศัพท์มือถือที่มีประสิทธิภาพสูง
ดูหรูหรา ใช้งานเป็นโทรศัพท์มือถือได้อย่างคล่องตัว
และเน้นใช้งานทางด้านธุรกิจมากกว่าด้านบันเทิง
ตามสไตล์ของ Business Phone ก็คงจะต้องลองนำเอา
Nokia E60 นี้ไว้เป็นตัวเลือกอันดับต้นๆ ในขณะนี้แล้วครับ
คะแนน TMC Point
การออกแบบดีไซน์ : 8.5/10
ใช้งานง่าย : 8.0/10
คุณสมบัติเครื่อง : 8.0/10
ฟังก์ชันการใช้งาน : 8.5/10
เสถียรภาพและประสิทธิภาพในการใช้งาน : 9.5/10
ราคาคุ้มค่า : 7.5/10
คะแนนรวม 8.33/10
โปรดทราบ
* โทรศัพท์มือถือที่ท่านเห็นในบทความรีวิวนี้เป็นเพียงเครื่องทดสอบจากทางศูนย์
เพราะฉะนั้นคุณสมบัติบางอย่างอาจมีความแตกต่างจากเครื่องที่วางจำหน่ายจริงบ้างไม่มากก็น้อย
รวมถึงจุดด้อยบางประการที่พบในเครื่องทดสอบ
อาจจะถูกแก้ไขปรับปรุงให้ดีขึ้นในเครื่องที่วางจำหน่ายจริง
ดังนั้นหากท่านสนใจซื้อโทรศัพท์มือถือรุ่นนี้
ควรตรวจสอบหรือทดลองใช้งานสินค้าด้วยตนเองอีกครั้งหนึ่ง
*
สรุปคุณสมบัติเครื่อง
ท่านสามารถตรวจสอบคุณสมบัติแบบสรุป (Specification) ของ Nokia
E60 ได้โดยการคลิ๊กที่ Link ด้านล่างนี้
Nokia
E60 Specification
ขอขอบพระคุณทุกท่านที่ติดตาม
Oska (Thaimobilecenter Editor) : [email protected]
ผู้สนับสนุนเครื่อง
Nokia E60 สำหรับการทดสอบ

ขอขอบคุณ
บริษัท
เอ็ม ลิ้งค์ เอเชีย คอร์ปอเรชั่น จำกัด(มหาชน) เลขที่
73 อาคารเอ็ม ลิ้งค์ ชั้น 1 ซ.สุขุมวิท 62
แขวงบางจาก เขตพระโขนง กรุงเทพฯ 10260
Tel.0-2741-5700 Fax.0-2741-6878 E-mail
: [email protected]
:: ไปหน้าแรกเว็บไซต์ Thaimobilecenter
| ไปหน้าแรก
Mobile Focus ::
|